เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์
เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ | |
---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 23 ธันวาคม พ.ศ. 2531 กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | รวมพลัง (2561–2566) รวมไทยสร้างชาติ (2566–2567) |
เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ (เกิด 23 ธันวาคม พ.ศ. 2531) ชื่อเล่น เขต เป็นนักวิชาการและนักการเมืองชาวไทย อดีตโฆษกพรรครวมพลัง
ประวัติ
[แก้]เขตรัฐ เกิดเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2531 ที่กรุงเทพมหานคร เป็นบุตรชายคนโตของเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กับ จิรพร เหล่าธรรมทัศน์
สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษา จากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย คอมมอนเวลต์ ประเทศสหรัฐอเมริกา และระดับปริญญาโท การค้าระหว่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยหนานไค[1]
การทำงาน
[แก้]ภายหลังจบปริญญาโทที่ประเทศจีน เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ได้เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยรังสิต คณะบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ ต่อจากนั้นได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อรับตำแหน่งอาจารย์ประจำวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่หนึ่งปีให้หลังนายเขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์ได้ย้ายไปสอนที่คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก่อนที่ลาออกจากอาจารย์เพื่อสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมพลังประชาชาติไทย ก่อนที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสโมสรผู้นำเยาวชนพรรคและฝ่ายอำนวยการพรรค และโฆษกพรรครวมพลังประชาชาติไทย[1] ภายหลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2562 เขตรัฐได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อลำดับที่ 3 ของพรรครวมพลังประชาชาติไทย นอกจากนี้ยังเป็นโฆษกคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ[2] ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการพัฒนาการเมือง โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2566 คณะกรรมาธิการผู้ประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล) คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และผู้ทรงคุณวุฒิสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ต่อมาในวันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2566 นายเขตรัฐได้ยื่นหนังสือลาออกจากสมาชิกพรรคทำให้ต้องพ้นจากตำแหน่งโฆษกพรรค ก่อนจะทำการยื่นหนังสือลาออกจากการเป็น ส.ส. โดยในวันเดียวกัน [3] วันต่อมาเขาได้เดินทางไปสมัครเป็นสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ[4] และได้รับการวางตัวเป็นผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร ในพื้นที่เขตคลองเตย และวัฒนา[5]
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2566 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[6]
- พ.ศ. 2564 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[7]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "เขตรัฐ เหล่าธรรมทัศน์" กับมุมที่อยากเห็น คนสองวัยเดินไปด้วยกัน
- ↑ โทรโข่งรูปงาม
- ↑ ทิ้งพรรครวมพลัง! เขตรัฐ จ่อสมัครเข้า รวมไทยสร้างชาติ ขออาสาชิง ส.ส.กทม.
- ↑ 'เอกนัฏ' รับใบสมัคร 'เขตรัฐ' เข้ารทสช. ยัน 'บิ๊กป้อม' ปาดหน้าลงราชบุรี เป็นเรื่องปกติ ไม่มีผลกระทบ
- ↑ "'อนุทิน' ประกาศลุยศึกเลือกตั้ง เชื่อมือ 'พุทธิพงษ์' จะทำให้ได้เก้าอี้เมืองหลวง". The Reporters. 2023-02-05.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศ เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสายสะพาย ประจำปี ๒๕๖๖, เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๔ ข หน้า ๔, ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๖
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๔, เล่ม ๑๓๙ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๓, ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2531
- สกุลเหล่าธรรมทัศน์
- บุคคลจากกรุงเทพมหานคร
- บุคคลฝาแฝดจากประเทศไทย
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยแบบบัญชีรายชื่อ
- พรรครวมพลัง
- พรรครวมไทยสร้างชาติ
- บุคคลจากโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- บุคคลจากคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต
- บุคคลจากวิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ท.ช.
- บุคคลจากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ป.ม.