ข้ามไปเนื้อหา

เกียวโต ซังงะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกียวโต ซังงะ
京都サンガ
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลเกียวโต ซังงะ
ฉายาซังงะ
ก่อตั้ง1922; 102 ปีที่แล้ว (1922)
เกียวโตชิโกคลับ
สนามซังงะสเตเดียมบายเคียวเซร่า
คาเมโอกะ จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
ความจุ21,600
ประธานมาซาอากิ อิโต
ผู้จัดการโช ควี-แจ
ลีกเจลีก ดิวิชัน 2
2020อันดับที่ 8
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน
บริษัท เกียวโตเพอร์เพิลซังงะ จำกัด (มหาชน)
ประเภทบริษัทมหาชน
อุตสาหกรรมธุรกิจกีฬา
ก่อตั้ง13 มกราคม ค.ศ. 1994 (1994-01-13)
เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น[1]
สำนักงานใหญ่
บุคลากรหลักฮิโรชิ อิมาอิ (ประธาน)
คาซูโอะ อินาโมริ (ประธานกิตติมศักดิ์)[1]
ผลิตภัณฑ์สโมสรฟุตบอล
รายได้เพิ่มขึ้น 2140 ล้านเยน (2014)[1]
เจ้าของเคียวเซร่า (55.4%)[2]
นินเท็นโด (16.6%)[2]

เกียวโต ซังงะ (ญี่ปุ่น: 京都サンガโรมาจิKyōto Sanga) เป็นสโมสรฟุตบอลอาชีพ ตั้งอยู่ที่จังหวัดเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ชื่อ "ซังงะ" มาจากคำว่า สงฺฆ ซึ่งเป็นคำในภาษาบาลี-สันสกฤตในพุทธศาสนาซึ่งแปลว่ากลุ่มหรือหมู่ ซึ่งการใช้คำที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนานั้นสื่อถึงวัดที่มีเป็นจำนวนมากในจังหวัดเกียวโต[3] สโมสรเคยใช้ชื่อว่าเกียวโต เพอร์เพิล ซังงะ โดยคำว่า "เพอร์เพิล" หรือสีม่วงซึ่งเป็นสีชุดทีมเหย้าของสโมสรสื่อถึงสถานะเมืองหลวงเก่าของนครเกียวโต สนามเหย้าของสโมสรคือซังงะสเตเดียมบายเคียวเซร่า ตั้งอยู่ที่เมืองคาเมโอกะ ทางตอนใต้ของจังหวัดเกียวโต และทางตะวันตกของนครเกียวโต

ประวัติ

[แก้]

สโมสรก่อตั้งใน ค.ศ. 1922 โดยใช้ชื่อ "เกียวโตชิโกคลับ" (ญี่ปุ่น: 京都紫郊クラブโรมาจิKyōto Shikō Club) ก่อนจะเปลี่ยนตัวอักษรจาก 郊 เป็น 光 ซึ่งอ่านออกเสียงเหมือนกันแต่แปลว่าแสงสว่างใน ค.ศ. 1954[3] เกียวโตชิโกคลับเข้าแข่งขันเจแปนซอกเกอร์ลีก (เจแอสเอล) ดิวิชัน 2 เป็นครั้งแรกใน ค.ศ. 1972 ก่อนจะตกชั้นใน ค.ศ. 1979 ได้เลื่อนชั้นกลับเข้ามาอีกครั้งใน ค.ศ. 1989 จนกระทั่งลีกญี่ปุ่นปรับโครงสร้างใหม่ใน ค.ศ. 1992 โดยเจแปนซอกเกอร์ลีกดิวิชัน 2 เปลี่ยนชื่อเป็นเจแปนฟุตบอลลีก (เจเอฟแอลเก่า) ดิวิชัน 2 เกียวโตชิโกแข่งขันในเจเอฟแอลเก่าดิวิชัน 2 ได้เพียงฤดูกาลเดียวก็เลื่อนชั้นขึ้นสู่ดิวิชัน 1 ซึ่งเป็นลีกอันดับสองของญี่ปุ่นในขณะนั้น ซึ่งในฤดูกาล 1993 นั้นเองเกียวโตชิโกได้เปลี่ยนชื่อเป็น "เกียวโต เพอร์เพิล ซังงะ" ก่อนที่จะจัดตั้งเป็นบริษัทมหาชนในฐานะบริษัทในเครือของเคียวเซร่า ใช้ชื่อบริษัทว่า "เคียวเซร่าเพอร์เพิลซังงะ" เป็นระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนจะเปลี่ยนมาใช้ชื่อ "เกียวโตเพอร์เพิลซังงะ" จนถึงปัจจุบัน เกียวโต เพอร์เพิล ซังงะเข้าเป็นสมาชิกสมทบของเจลีกใน ค.ศ. 1994 และเป็นสมาชิกเจลีกโดยสมบูรณ์ เข้าแข่งขันในเจลีกในอีกสองปีถัดมา[3] เกียวโต เพอร์เพิล ซังงะตกชั้นจากเจลีกดิวิชัน 1 ครั้งแรกหลังสิ้นสุดฤดูกาล 2000 และหลังจากนั้นตลอดช่วงทศวรรษ 2000 จนถึงต้นทศวรรษ 2010 สโมสรก็เลื่อนชั้นและตกชั้นระหว่างเจลีกดิวิชัน 1 และดิวิชัน 2 หลายครั้ง ในระหว่างนั้นเกียวโต เพอร์เพิล ซังงะได้เปลี่ยนชื่อจากเดิมใน ค.ศ. 2007 เป็น "เกียวโต ซังงะ" ซึ่งเป็นชื่อที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน เกียวโต ซังงะตกชั้นครั้งล่าสุดหลังจบฤดูกาล 2010 และยังคงแข่งขันในเจลีก ดิวิชัน 2 จนถึงฤดูกาล 2021[3]

แต่เดิมเกียวโต ซังงะถือเป็นสโมสรประจำนครเกียวโตเพียงเมืองเดียว จนกระทั่งในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2010 ได้ขยายฐานแฟนฟุตบอลไปยังอีกห้าเมืองรายรอบได้แก่เคียวตานาเบะ โจโย นางาโอกาเกียว มูโก และอูจิ[3] และหลังจากนั้นก็ขยายฐานออกไปอีก โดยครอบคลุมคิซูงาวะ (เมษายน ค.ศ. 2012) คาเมโอกะ (เมษายน ค.ศ. 2014) เคียวตัมบะ นันตัง (กันยายน ค.ศ. 2017)[4] ฟูกูจิยามะ ไมซูรุ อายาเบะ (กันยายน ค.ศ. 2019)[5] และยาวาตะ (มีนาคม ค.ศ. 2020)[6] รวมทั้งสิ้น 14 เมือง

เกียรติประวัติ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "Club profile". Kyoto Sanga. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-11-27. สืบค้นเมื่อ January 24, 2015.
  2. 2.0 2.1 Sasaki, Norihiko. "Thoroughly analyzed the financial results of J-League". Shūkan Tōyō keizai. Toyo Keizai. 6058: 148–151.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "京都サンガF.C.の試合日程・結果:Jリーグ.jp". เจลีก. สืบค้นเมื่อ 2021-11-12.
  4. "京都サンガF.C.ホームタウン追加について" (Press release). 日本プロサッカーリーグ. 2017-9-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-09-28. สืบค้นเมื่อ 2017-9-28. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  5. "ホームタウン追加のお知らせ" (Press release). 京都サンガF.C. 2019-9-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-25. สืบค้นเมื่อ 2019-9-25. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)
  6. "ホームタウン追加のお知らせ~八幡市が新たに追加となり、13市1町がホームタウンに~" (Press release). 京都サンガF.C. 2019-9-24. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-06. สืบค้นเมื่อ 2019-9-25. {{cite press release}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= และ |date= (help)

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]