เกาะสิงคโปร์
แผนที่เกาะสิงคโปร์ของ CIA ใน ค.ศ. 1994 | |
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ |
กลุ่มเกาะ | กลุ่มเกาะมลายู |
แหล่งน้ำใกล้เคียง | ทะเลจีนใต้ |
พื้นที่ | 710 ตารางกิโลเมตร (270 ตารางไมล์) |
จุดสูงสุด | เนินเขาบูกิตตีมะฮ์ - 164 เมตร |
การปกครอง | |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | 5,882,440 (2021)[1] |
ความหนาแน่น | 7,704/กม.2 (19953/ตารางไมล์) |
กลุ่มชาติพันธุ์ | ชาวสิงคโปร์เชื้อสายจีน ชาวสิงคโปร์เชื้อสายมลายู ชาวสิงคโปร์เชื้อสายอินเดีย ชาวสิงคโปร์แถบยูเรเชีย โอรังเซอเลอตาร์ |
เกาะสิงคโปร์ (อังกฤษ: Singapore Island) หรือ สิงคโปร์แผ่นดินใหญ่ (Mainland Singapore) มีชื่อในอดีตว่า ปูเลาอูจง (มลายู: Pulau Ujong; แปลว่า 'เกาะ ณ จุดปลายสุด') เป็นเกาะส่วนแผ่นดินใหญ่ของประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มเกาะมลายู และตั้งอยู่ทางใต้สุดของคาบสมุทรมลายู เกาะนี้มีที่อยู่อาศัยจำนวนมากทั้งในด้านพื้นที่และประชากร เนื่องจากไม่ค่อยมีผู้ตั้งถิ่นฐานในหมู่เกาะเล็กรอบ ๆ เกาะนี้[2] ใน ค.ศ. 2021 มีประชากรในเกาะนี้ 5,882,440 คน ซึ่งกระจุกอยู่ในเกาะที่มีพื้นที่ 709.2 ตารางกิโลเมตร (273.8 ตารางไมล์)[3] ทำให้เป็นเกาะที่มีประชากรมากเป็นอันดับ 20 ของโลกและเป็นมีประชากรบนเกาะหนาแน่นมากเป็นอันดับที่ 31 ของโลก[1]
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]เกาะนี้ถูกกล่าวถึงในบันทึกช่วงแรกเป็นปูเลาอูจง ส่วนบันทึกชาวจีนในคริสต์ศตวรรษที่ 3 กล่าวถึงเกาะนี้ว่า Po Lo Chung (蒲羅中; ผูหลัวจง) ซึ่งเป็นการทับศัพท์จากภาษามลายู[4] นักเดินทางจากช่องแคบมะละกาไปยังทะเลจีนใต้จะต้องผ่านเกาะนี้ จึงทำให้เกิดชื่อนี้ เหมือนกับชื่อเก่าของรัฐยะโฮร์ อูจงตานะฮ์ มีความหมายว่า "สุดดินแดน" ในขณะที่โอรังเลาต์เรียกบริเวณนี้ว่า ปูเลาอูจง ซึ่งแปลตรงตัวว่า "เกาะปลายสุด" ข้อมูลของชาวยุโรปมักใช้ชื่ออูจงตนะฮ์หรือคำอื่น ๆ ไว้สื่อถึงสิงคโปร์[5]
ภูมิศาสตร์
[แก้]เกาะนี้มีความยาวจากตะวันออกไปทางตะวันตก 50 กิโลเมตร และจากเหนือไปใต้ 26 กิโลเมตร ซึ่งมีพื้นที่ชายฝั่ง 193 กิโลเมตร[6] จุดสูงสุดของเกาะคือเนินเขาบูกิตตีมะฮ์ เป็นเนินแกรนิตชนิดหินอัคนีที่มีความสูง 165 เมตร ฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของเกาะเต็มไปด้วยเนินและหุบเขาหินตะกอน ส่วนฝั่งตะวันออกมีแต่พื้นที่ราบและดินทราย มีการถมดินมาตั้งแต่ ค.ศ. 1822 โดยอังกฤษที่ควบคุมเกาะในเวลานั้นและรัฐบาลสิงคโปร์ ทำให้มีพื้นที่เกาะเพิ่มขึ้นจาก 580 ตารางกิโลเมตร (224 ตารางไมล์) ในคริสต์ทศวรรษ 1960 ไปเป็น 710 ตารางกิโลเมตร (274 ตารางไมล์) ในปัจจุบัน[7]
อ้างอิง
[แก้]- อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 "2014 Population in Brief". Population SG. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 18, 2015. สืบค้นเมื่อ March 1, 2015.
- ↑ "Pulau Ubin Stories". National University of Singapore. May 24, 2004.
- ↑ "Singapore". CIA World Factbook. Central Intelligence Agency. สืบค้นเมื่อ 23 March 2021.
- ↑ Xu Yunqiao History of South East Asia 1961 Singapore World Publishing Co. 许云樵 《南洋史》 星洲世界书局 1961年
- ↑ Peter Borschberg, บ.ก. (December 2004). Iberians in the Singapore-Melaka Area and Adjacent Regions (16th to 18th Century). Harrassowitz. p. 98. ISBN 978-3447051071.
- ↑ "Yearbook of Statistics Singapore 2012" (PDF). Department of Statistics Singapore. สืบค้นเมื่อ 24 October 2012.
- ↑ Gillis, K., & Tan, K. (2006). The book of Singapore’s firsts (p. 96). Singapore: Singapore Heritage Society. Call no.: RSING 959.57 GIL-[HIS].
- บรรณานุกรม
- Victor R Savage; Brenda Yeoh (2004). Toponymics A Study of Singapore's Street Names. Eastern University Press. ISBN 981-210-364-3.
อ่านเพิ่ม
[แก้]- Kwa Chong Guan; Peter Borschberg (2018). Studying Singapore before 1800. NUS Press. ISBN 978-981-4722-74-2.