เกาะรอสส์
แผนที่เกาะรอสส์ | |
ข้อผิดพลาด Lua ใน มอดูล:Location_map บรรทัดที่ 522: "แอนตาร์กติกา" is not a valid name for a location map definition | |
ภูมิศาสตร์ | |
---|---|
ที่ตั้ง | แอนตาร์กติกา |
พิกัด | 77°30′S 168°00′E / 77.500°S 168.000°E |
กลุ่มเกาะ | กลุ่มเกาะรอสส์ |
พื้นที่ | 2,460 ตารางกิโลเมตร (950 ตารางไมล์) |
ระดับสูงสุด | 3,794 ม. (12448 ฟุต) |
จุดสูงสุด | ภูเขาไฟเอเรบัส |
การปกครอง | |
ไม่มี | |
ประชากรศาสตร์ | |
ประชากร | ฤดูร้อน: 1,000; ฤดูหนาว: 140 |
เกาะรอสส์ (อังกฤษ: Ross Island) เป็นที่เกิดจากภูเขาไฟ 4 ลูกในทะเลรอสส์ อ่าวแมคเมอร์โดนอกชายฝั่งวิกตอเรียแลนด์ ในทวีปแอนตาร์กติกา
ภูมิศาสตร์
[แก้]การที่พืดน้ำแข็งขยายตัวอยู่เรื่อย ๆ จึงทำให้ในบางครั้งเกาะนี้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของทวีปแอนตาร์กติกา เกาะนี้มีพื้นที่ประมาณ 2,460 ตารางกิโลเมตร และมีพื้นที่บนเกาะเพียงไม่กี่แห่งที่ไม่มีหิมะและน้ำแข็งมาปกคลุม เกาะนี้เป็นที่ตั้งของภูเขาไฟเอเรบัส (3,794 ม.) ซึ่งเป็นภูเขาไฟมีพลังที่อยู่ใต้สุดของโลก รวมถึงภูเขาไฟดับสนิทอย่างภูเขาเทอร์เรอร์ (3,230 ม.)[1] กัปตันเจมส์ คลาร์ก รอสส์ นำชื่อเรือหลวงเอเรบัส และเรือหลวงเทอร์เรอร์ มาตั้งชื่อภูเขา 2 ลูกนี้ พื้นที่สูงเป็นอันดับ 3 ของเกาะคือภูเขาเบิร์ด
ถึงเกาะนี้จะเป็นเกาะที่ค่อนข้างเล็ก แต่มันเป็นเกาะที่สูงที่สุดเป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นเกาะที่สูงที่สุดในทวีปแอนตาร์กติกา
การค้นพบ
[แก้]เจมส์ คลาร์ก รอสส์พบเกาะนี้ใน พ.ศ. 2383 ต่อมาโรเบิร์ต ฟอลคอน สกอตต์ ได้นำชื่อท้ายของรอสส์มาตั้งชื่อเกาะเพื่อเป็นการให้เกียรติ เกาะรอสส์มักใช้เป็นฐานสำหรับการสำรวจแอนตาร์กติกา เนื่องจากมันเป็นเกาะใต้สุดที่สามารถแล่นเรือเข้าไปได้ กระท่อมที่คณะสำรวจของโรเบิร์ต ฟอลคอน สกอตต์ และเออร์เนสต์ แชคเคิลตันสร้างยังคงอยู่บนเกาะและถูกเก็บรักษาไว้เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ ทุกวันนี้เกาะรอสส์เป็นที่ตั้งของฐานสกอตต์ของนิวซีแลนด์ และสถานีแมคเมอร์โดโครงการแอนตาร์กติกของสหรัฐ ซึ่งเป็นที่ตั้งถิ่นฐานที่ใหญ่ที่สุดในแอนตาร์กติกา กรีนพีซเริ่มจัดตั้งฐานเวิลด์พาร์กบนเกาะและดำเนินงานเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่ พ.ศ. 2530 − 2535
การอ้างสิทธิ
[แก้]เกาะรอสส์อยู่ในรอสส์ดีเพนเดนซี ที่อ้างสิทธิโดยนิวซีแลนด์
ระเบียงภาพ
[แก้]-
ที่ตั้งของเกาะรอสส์ในรอสส์ดีเพนเดนซีของนิวซีแลนด์
-
ทะเลที่กลายเป็นน้ำแข็งและมีเกาะรอสส์อยู่ด้านหลัง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ LeMasurier, W. E.; Thomson, J. W., บ.ก. (1990). Volcanoes of the Antarctic Plate and Southern Oceans. American Geophysical Union. p. 512. ISBN 0-87590-172-7.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- "Map of Ross Island and Dry Valleys". NIWA, New Zealand. 1 September 2003.[ลิงก์เสีย]
- Jane G. Ferrigno; Kevin M. Foley; Charles Swithinbank; Richard S. Williams, Jr., บ.ก. (2010). "Coastal-change and Glaciological Map of the Ross Island Area, Antarctica, 1962-2005" (PDF). United States Geological Survey.