ข้ามไปเนื้อหา

เกาะนียัซ

พิกัด: 1°6′N 97°32′E / 1.100°N 97.533°E / 1.100; 97.533
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เกาะนียัซ
ชื่อท้องถิ่น:
Tanö Niha
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
พิกัด1°6′N 97°32′E / 1.100°N 97.533°E / 1.100; 97.533
พื้นที่5,121.3 ตารางกิโลเมตร (1,977.3 ตารางไมล์)
ระดับสูงสุด800 ม. (2600 ฟุต)
จุดสูงสุดไม่มีชื่อ
การปกครอง
อินโดนีเซีย
จังหวัดสุมาตราเหนือ
อำเภอนียัซ, นียัซใต้, นียัซเหนือ, นียัซตะวันตก
ประชากรศาสตร์
ประชากร788,132 คน (พ.ศ. 2557 จากสำมะโนประชากร)
ความหนาแน่น147.8/กม.2 (382.8/ตารางไมล์)
กลุ่มชาติพันธุ์ชาวนียัซ, ชาวมลายู, ชาวบาตัก และชาวจีน

นียัซ (อินโดนีเซีย: Nias) หรือ นีฮา (นียัซ: Niha) เป็นเกาะที่อยู่ทางฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย นียัซยังเป็นชื่อเรียกของกลุ่มเกาะนียัซ (อินโดนีเซีย: Kepulauan Nias) ซึ่งประกอบด้วยเกาะนียัซและหมู่เกาะฮีนาโก เกาะนียัซมีพื้นที่ 5,121.3 ตารางกิโลเมตร (รวมเกาะเล็ก ๆ นอกชายฝั่ง) ส่วนมากเป็นพื้นที่ลุ่ม อยู่เหนือระดับน้ำทะเล 800 เมตร มีประชากร 756,338 คน (รวมเกาะเล็ก ๆ นอกชายฝั่ง) จากสำมะโนประชากรในปี พ.ศ. 2553 ส่วนจำนวนประชากรที่มีการประมาณไว้ล่าสุดในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 คือ 788,132 คน[1]

ภูมิศาสตร์

[แก้]
ที่ตั้งของเกาะนียัซ

เกาะนียัซนั้นตั้งอยู่ในแนวหมู่เกาะขนานชายฝั่งตะวันตกของเกาะสุมาตรา มีเกาะซีมือลูเออตั้งอยู่ห่างออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 140 กิโลเมตร (87 ไมล์) ส่วนหมู่เกาะบาตู (ซึ่งในทางบริหารเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอนียัซใต้และมีประชากรเชื้อสายใกล้เคียงกัน) ตั้งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 80 กิโลเมตร (50 ไมล์)

การปกครอง

[แก้]

เกาะนียัซเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดสุมาตราเหนือ กลุ่มเกาะนียัซประกอบด้วย 131 เกาะ โดยมีเกาะนียัซเป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุด ในเดือนมกราคม พ.ศ. 2557 เกาะนียัซมีประชากร 788,132 คน[1] โดยมีคนจากหลายเชื้อชาติ เช่น ชาวนียัซ (ชาวพื้นเมือง) มลายู บาตู และจีน

แผ่นดินไหวและสึนามิ

[แก้]

ในวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2547 ได้เกิดแผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย โดยมีจุดศูนย์กลางทางตอนเหนือของเกาะเพียงไม่กี่กิโลเมตรทำให้เกิดแผ่นดินไหวและสึนามิสูง 10 เมตรเข้าถล่มชายฝั่งจนส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 122 คน และอีกหลายร้อยคนต้องไร้ที่พักอาศัย

แผ่นดินไหวอีกครั้งในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2548 ได้เกิดแผ่นดินไหวขนาด 8.7 แมกนิจูดทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 800 ราย อาคารหลายร้อยแห่งพังถล่มลงมาและมีผู้ไร้ที่พักอาศัยหลายพันคน และยังทำให้ชายฝั่งของเกาะเปลี่ยนไป[2] ในปี พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็นเวลา 2 ปีหลังจากเกิดแผ่นดินไหวนั้นก็ยังมีผู้ลี้ภัยอยู่ภายในค่ายจำนวนกว่าหลายหมื่นคน

แผ่นดินไหวทั้งสองครั้งได้รับการบันทึกว่าเป็นแผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุดในอินโดนีเซียนับตั้งแต่แผ่นดินไหวปี พ. ศ. 2443[3]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 "Estimasi Penduduk Menurut Umur Tunggal Dan Jenis Kelamin 2014" (PDF) (ภาษาอินโดนีเซีย). Kementerian Kesehatan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 8 กุมภาพันธ์ 2014.
  2. Sieh, Kerry (1 มิถุนายน 2005). "A Geologist in the Field" (PDF). Discover Magazine. Caltech. สืบค้นเมื่อ มีนาคม 2014.
  3. "Largest Earthquakes in the World Since 1900". U.S. Geological Survey. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 7 พฤศจิกายน 2010. สืบค้นเมื่อ 9 กรกฎาคม 2011.

บรรณานุกรม

[แก้]
  • Oktorino, Nino (2019). Seri Nusantara Membara: Invasi ke Sumatra (ภาษาอินโดนีเซีย). Jakarta: Elex Media Komputindo. ISBN 978-602-04-8798-4.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]