เกอรช ฟริดริช เวเลอร์
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
รองอำมาตย์เอกเกอรช ฟริดริช เวเลอร์ (Georg Friedrich Wehler : เกิด 28 กันยายน พ.ศ.2419 - พ.ศ. 2470) นายตรวจเอก กรมรถไฟหลวงสายเหนือ และนายห้างในกรุงเทพฯ ชาวเยอรมัน ได้เข้ามาเป็นวิศวกรสร้างทางรถไฟในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาได้รับพระราชทานนามสกุลจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2459 ว่า "เวลานนท์" (Velananda)
รองอำมาตย์เอกเกอร์ช ฟริดริช เวเลอร์ มีภรรยาชื่อ นางเสงี่ยม เวลานนท์ สตรีเชื้อสายมอญหงสาวดี (หลานตา ขุนรักษานาเวศ (กลัศ วิภาตะกลัศ)) หมู่บ้านบางไส้ไก่ (ปัจจุบันคือบริเวณหลังมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา) มีบุตรธิดาดังนี้
- นักเรียนมหาดเล็กหลวงอั๋น เวลานนท์ (พ.ศ. 2445 - พ.ศ. 2465) ไม่มีทายาท
- นางสง่า เทวคุปต์ (พ.ศ. 2446 - พ.ศ. 2535) สมรสกับ ร้อยตำรวจเอกน้อม เทวคุปต์ บุตรของรองอำมาตย์เอก หลวงอนุสิฐภูมิเทศ (เนียม เทวคุปต์) และ นางอนุสิฐภูมิเทศ (ขลิบ เทวคุปต์) มีบุตรีคือ นางสำนวน วิภาตะกลัศ
- นางวิมลประชาภัย (สอาด วิภาตะกลัศ) (พ.ศ. 2450 - พ.ศ. 2527) สมรสกับ รองอำมาตย์เอก หลวงวิมลประชาภัย (จำรัส วิภาตะกลัศ) อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดตาก มีบุตร์ 1 คน คือ นายสุทธิวัฒน์(จารุ) วิภาตะกลัศ สมรสกับ นางจรัสศรี วิภาตะกลัศ มีบุตร 2 คน คือ นายวิวัฒน์ วิภาตะกลัศ และนางสาวรัตนพร วิภาตะกลัศ
หลังจากที่ประเทศไทยได้ประกาศเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 1 แล้ว มร.เกอรช ฟริดริช เวเลอร์ ก็ถูกถอนสัญชาติและถูกเรียกคืนนามสกุล เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 ทำให้ต้องกลับไปอยู่ที่ประเทศเยอรมนีชั่วคราว ในขณะนั้นกำลังดำเนินงานรถไฟอยู่บริเวณถ้ำขุนตาล ต่อมาเมื่อสงครามสิ้นสุดก็กลับมาอาศัยอยู่กับครอบครัวในประเทศไทยและได้ถึงแก่กรรมที่บ้านริมคลองบางไส้ไก่ เมื่อ พ.ศ. 2470