ข้ามไปเนื้อหา

เกราะคาดลำเรือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาพขององค์ประกอบของเกราะป้องกันเรือรบ เกราะคาดลำเรือ (A) อยู่ด้านนอกบริเวณแนวน้ำ ดาดฟ้าหลัก (B) เกราะดาดฟ้าลาดเอียง (C) และผนังกั้นตอร์ปิโด (D)

เกราะคาดลำเรือ (Belt armor) คือ แผ่นเกราะโลหะหนาที่ติดอยู่บนหรือภายในตัวเรือรบด้านนอก โดยทั่วไปจะพบในเรือประจัญบาน เรือลาดตระเวน และเรือบรรทุกเครื่องบิน หน้าที่หลักของเกราะชนิดนี้คือ ป้องกันไม่ให้กระสุนปืนใหญ่หรือตอร์ปิโดทะลุเข้าไปยังส่วนสำคัญภายในตัวเรือ

เกราะคาดลำเรือถูกออกแบบมาเพื่อป้องกันไม่ให้กระสุนทะลุเข้าไปยังส่วนสำคัญภายในเรือ เมื่อถูกโจมตีด้วยกระสุนปืนใหญ่หรือตอร์ปิโดใต้น้ำ เกราะเข็มขัดจะทำหน้าที่ ดังนี้ ดูดซับแรงกระแทกและแรงระเบิดด้วยความหนาและความแข็งแกร่งมัน หรือใช้ความลาดเอียงเพื่อเบี่ยงเบนทิศทางของกระสุนและแรงระเบิดลงด้านล่าง

โดยปกติแล้ว เกราะคาดลำเรือหลักจะครอบคลุมเรือรบตั้งแต่ดาดฟ้าหลักลงไปจนถึงบริเวณใต้น้ำลึกพอสมควร แต่ถ้าไม่ได้ติดตั้งเป็นเปลือกนอกของตัวเรือ เกราะก็อาจจะติดตั้งอยู่ด้านในตัวเรือโดยทำมุมเอียงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกัน ดังที่กล่าวไปข้างต้น