เกมลูกแก้ว
ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรก | |
ผู้ประพันธ์ | แฮร์มัน เฮ็สเซอ |
---|---|
ชื่อเรื่องต้นฉบับ | Das Glasperlenspiel |
ผู้แปล | ริชาร์ดกับคลารา วินสตัน |
ประเทศ | สวิตเซอร์แลนด์ |
ภาษา | เยอรมัน |
ประเภท | นวนิยาย |
สำนักพิมพ์ | โฮล์ท, ไรน์ฮาร์ท แอนด์วินสัน |
วันที่พิมพ์ | ค.ศ. 1943 |
พิมพ์ในภาษาอังกฤษ | ค.ศ. 1969 |
ชนิดสื่อ | พิมพ์ (ปกแข็งและปกอ่อน) |
หน้า | 558 หน้า |
เกมลูกแก้ว (เยอรมัน: Das Glasperlenspiel) เป็นผลงานชิ้นเอกและผลงานชุดสุดท้ายของแฮร์มัน เฮ็สเซอ ซึ่งเป็นนักประพันธ์ชาวเยอรมัน โดยเริ่มเขียน ในค.ศ. 1931 และจัดพิมพ์ในสวิตเซอร์แลนด์ ค.ศ. 1943 ภายหลังจากถูกปฏิเสธไม่ให้ตีพิมพ์ในเยอรมนี[1] หนังสือได้รับการอ้างถึงในอ้างอิงของเฮ็สเซอสำหรับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม ค.ศ. 1946
เกมลูกแก้ว เป็นการแปลตามตัวอักษรของชื่อเรื่องในภาษาเยอรมัน แต่หนังสือเล่มนี้ยังได้รับการตีพิมพ์ภายใต้ชื่อ Magister Ludi ซึ่งเป็นภาษาละตินที่หมายถึง "ต้นฉบับแห่งเกม" ซึ่งเป็นการให้เกียรติแก่ตัวละครหลักซึ่งเป็น "อาจารย์ลูดี" และยังสามารถเห็นเป็นการเล่นคำ ลุด ในภาษาละตินยังมีความหมายทั้ง "เกม" และ "โรงเรียน"
เนื้อเรื่องย่อ
[แก้]เกมลูกแก้ว เป็นเหตุการณ์ที่มิได้ระบุถึงวันเวลาที่แน่ชัดของช่วงศตวรรษในอนาคต เฮ็สเซอได้แสดงให้เห็นจินตนาการของเขาว่าเป็นหนังสือที่เล่าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในช่วงประมาณต้นศตวรรษที่ 25 [2] และกำหนดเป็นดินแดนสมมุติแห่งหนึ่งในยุโรปตอนกลางที่มีชื่อว่าดินแดนคาสตาเลีย โดยกล่าวถึงเรื่องราวของอาจารย์ลูดี โยเซฟ คเนคชท์ ซึ่งในสมัยเด็กเป็นผู้ที่มีความสามารถทางดนตรี และได้รับเลือกให้เข้าศึกษาต่อที่สถานศึกษาชั้นนำในดินแดนคาสตาเลีย และมีโอกาสได้ศึกษาถึงเกมลูกแก้ว ซึ่งเป็นศาสตร์ชั้นสูงที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างศาสตร์แต่ละสาขา ต่อมาได้เลือกวิถีชีวิตเป็นนักบวชในนิกายคาสตาเลีย ในที่สุดได้รับตำแหน่งอาจารย์ลูดี ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของผู้เชี่ยวชาญเกมลูกแก้ว ในภายหลังได้ละเส้นทางดังกล่าว แล้วหันสู่ทางโลกภายนอกเพื่อเป็นครูธรรมดาของเด็กคนหนึ่ง ต่อมาเขาได้เสียชีวิตลงเนื่องจากการว่ายน้ำเพื่อเอาชนะใจศิษย์ของตน
การดัดแปลง
[แก้]ใน ค.ศ. 2010 เกมลูกแก้ว ได้รับการดัดแปลงเป็นละครโดยลาวิเนีย กรีนลอว์ สำหรับบีบีซี เรดิโอ 4 โดยมีเดอเรค จาคอบี เป็นผู้รับบทคนเขียนชีวประวัติ, ทอม เฟอร์กูสัน รับบทเป็นคเนคชท์ และเดวิด เซดดอน รับบทเป็นพลินโน[3]
ตัวละครหลัก
[แก้]- โยเซฟ คเนคชท์: ตัวละครหลักของเรื่อง เป็นอาจารย์ลูดีที่ปรากฏในส่วนหลักของหนังสือ
- ครูเพลง: ที่ปรึกษาทางจิตวิญญาณของคเนคชท์ เมื่อคเนคชท์ยังเด็ก ผู้คัดเลือกให้เขาเข้าสู่สถานศึกษาชั้นนำของดินแดนคาสตาเลีย
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]ปฐมภูมิ
[แก้]- Hermann Hesse. The Glass Bead Game. Vintage Classics. ISBN 9780099283621
ทุติยภูมิ
[แก้]- Maurice Blanchot: H.H. 2. Das Spiel der Spiele in: dsb, Der Gesang der Sirenen. Essays zur modernen Literatur Übers. Karl August Horst (Le Livre à venir) Ullstein TB, Frankfurt 1982 ISBN 3-548-35139-5 (zuerst Hanser, 1962; Neuaufl. Fischer TB 1988 und Matthes & Seitz, 2008) TB-Ausg. S. 238 - 251
- Maria-Felicitas Herforth: Hermann Hesse: Das Glasperlenspiel (Reihe: Königs Erläuterungen & Materialien 316) Bange, Hollfeld 2006 ISBN 978-3-8044-1700-7
- Edmund Remys: Hermann Hesse’s Das Glasperlenspiel: A Concealed Defense of the Mother World, Bern and New York: Peter Lang, 1983.
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ Petri Liukkonen "Herman Hesse"
- ↑ Theodore Ziolkowski, Foreword to The Glass Bead Game, p. xii. Owl Books. ISBN 0-8050-1246-X
- ↑ BBC Radio 4 listing Classic Serial
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Günther Gottschalk: Beads und Bytes. Das Glasperlenspiel, das Weltwissen und das Internet; Vortrag gehalten vor der Hesse-Gesellschaft Solothurn/Schweiz am 28. Juli 2000 (PDF-Datei; 172 kB) (เยอรมัน)
- Zusammenfassung des Buchinhalts (เยอรมัน)
- Playable Variants Verschiedene spielbare Umsetzungen des Glasperlenspiels (อังกฤษ)