ข้ามไปเนื้อหา

ตำนานเก็นจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก เกนจิ โมโนงาตาริ)
ตำนานเก็นจิ
ม้วนภาพเรื่องตำนานเก็นจิ ต้นฉบับภาษาญี่ปุ่น ราวสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 12
ผู้ประพันธ์มุราซากิ ชิคิบุ
ชื่อเรื่องต้นฉบับ源氏物語 ( Genji Monogatari )
ผู้แปลจำนวนมาก
ผู้วาดภาพประกอบไม่ปรากฏนาม
ประเทศญี่ปุ่น
ภาษาภาษาญี่ปุ่
ประเภทวรรณกรรมญี่ปุ่นคลาสสิก
สำนักพิมพ์จำนวนมาก
วันที่พิมพ์ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 11
ชนิดสื่อม้วนภาพ , หนังสือ
หน้าม้วนภาพราว 10 ม้วน หนังสือฉบับแปลภาษาอังกฤษกว่า 1000 หน้า
มุราซากิ ชิคิบุ

ตำนานเก็นจิ (ญี่ปุ่น: 源氏物語; Genji Monogatari) เป็นงานเขียนของ มุราซากิ ชิคิบุ นางข้าหลวงในราชสำนักญี่ปุ่นสมัยเฮอัน หรือ เฮอันเคียว ซึ่งมีชิวิตอยู่ราวต้นศตวรรษที่ 11 ว่ากันว่า นี่คือนวนิยายที่เก่าแก่ที่สุดเรื่องหนึ่งของโลก [1] และมีการจัดกิจกรรมฉลองครบรอบ 1000 ปี ในปี 2008 ที่ประเทศญี่ปุ่น [2] โดยมีหลักฐานสนับสนุนจากเนิ้อความใน มุราซากิ ชิคิบุ นิกกิ (Murasaki Shikibu Nikki บันทึกของมุราซากิ ชิคิบุ) ซึ่งเธอได้เขียนบันทึกนั้นในวันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน ค ศ.1008 ว่า ฟุจิวะระ โนะ คินโตะ (Fujiwara no Kinto) นักปราชญ์ราชบัณฑิตชั้นแนวหน้าในยุคนั้น ชื่นชมในงานเขียนของเธอเป็นอันมาก และบันทึกนี้ยืนยันกับเราให้ทราบว่า เธอเขียน บท วะกะมุราซากิ จบในเวลานั้นเอง (1 พฤศจิกายน ค ศ.1008) [3] บางข้อมูลอ้างว่า มุราซากิ ชิคิบุ เริ่มเขียน ตำนานเก็นจิที่วัดอิชิยะมะเดระ ในคืนวันจันทร์เต็มดวงของวันที่ 15 เดือนสิงหาคม ปี ค ศ. 1004 [4]

เกี่ยวกับผู้ประพันธ์ มุราซากิ ชิคิบุ

[แก้]

มุราซากิ ชิคิบุ เกิดในปี เทนเอน ที่ 1 ( Ten-en 1 ) หรือราว ค ศ. 973 ในตระกูลขุนนางสาย ฟุจิวาระ ในระดับชั้นกลาง บิดาชื่อว่า ฟุจิวาระ ทะเมะโตะคิ ไม่มีใครทราบชื่อจริงของเธอ สันนิษฐานว่า ที่เธอรับการเรียกขานว่า มุราซากิ ชิคิบุ นั้น เนื่องจาก หญิงที่เป็นชนชั้นสูงในสังคมยุคนั้นจะไม่เปิดเผยชื่อจริงๆ ของตัวเอง มุราซากิ มาจากชื่อของ ตัวละครนำหญิงในตำนานเก็นจิ หรือไม่ก็ มุราซากิ ที่แปลว่าสีม่วง พ้องกับชื่อตระกูลฟุจิวาระของเธอ ที่ ดอกฟุจิ ก็เป็นดอกไม้สีม่วงเช่นกัน ส่วน ชิคิบุ นั้น มาจากการที่ บิดา และ พี่ชายของเธอ ทำงานในกรมราชพิธี ( ชิคิบุ ) นั่นเอง [5]

ปีโจโตคุที่ 4 ( Chotoku 4 ) หรือราวปี ค ศ.998 มุราซากิได้แต่งงานกับ ฟุจิวาระ โนะ โนะบุทะกะ ( Fujiwara no Nobutaka ) มีบุตรสาว 1 คน เรียกขานนามกันว่า ไดนิ โนะ ซัมมิ ( Daini no Sammi) ซึ่งไม่ใช่ชื่อจริง แต่เป็นการเรียกแทนตัวจากตำแหน่งเช่นกัน ต่อมา 3 ปี สามีของเธอเสียชีวิต ในช่วงนี้เองที่เธอเริ่มประพันธ์ ตำนานเก็นจิ

ราวปีคันโคที่ 2 ( Kanko 2 ) หรือ ราวปี ค ศ.1005 มุราซากิรับตำแหน่งในหน้าที่ผู้ติดตามของ โชชิ (Soshi) บุตรสาวของ ฟุจิวาระ มิจินางะ ( Fujiwara Michinaga ) ขุนนางผู้ยิ่งใหญ่ ต่อมา โซชิ ขึ้นเป็นจักรพรรดินีในพระจักรพรรดิอิจิโจ ( Ichicho )

มุราซากิ ชิคิบุ บันทึกใน บันทึกของ มุราซากิ ชิคิบุ ( Murasaki Shikibu Nikki) ว่า ตำนานเก็นจิ เป็นของขวัญแทนการแสดงความยินดีต่อจักรพรรดินีในโอกาสที่ให้กำเนิดองค์ชาย อัทสึฮิระ (Atsuhira)

รายละเอียดทั่วไป

[แก้]

ตำนานเก็นจิเป็นเรื่องราวชีวิตในราชสำนักของขุนนางและเจ้านายชั้นสูงในสมัย เฮอัน โดยมีตัวเอกชื่อ ฮิคารุ เก็นจิ ในเรื่องกล่าวถึงความสัมพันธ์ของฮิคารุ เก็นจิ กับผู้หญิงมากมายต่างลักษณะกันไป เป็นเรื่องราวที่ทำให้รู้ถึงการดำเนินชีวิต แนวคิด วัฒนธรรม ประเพณี ธรรมเนียมปฏิบัติ การเมือง ของชนชั้นสูงในสมัยเฮอัง โดยเขียนแบ่งออกมาเป็น 54 บท และแบ่งเป็น 3 ช่วง

ช่วงที่ 1 ความรุ่งเรืองและล่มสลายของเก็นจิ

บทที่ 1-33 กล่าวถึงเรื่องราวตั้งแต่วัยเยาว์จนถึงการถูกเนรเทศ

บทที่ 34-41 กล่าวถึงการกลับมาเรืองอำนาจจนถึงการตายของมุราซากิ ชายาสุดที่รัก

ช่วงที่ 2 ช่วงเปลี่ยนผ่าน

บทที่ 42-44 เป็นช่วงสั้นๆกล่าวถึงการตายของเก็นจิ

ช่วงที่ 3 อุจิจูโจ ( อุจิ 10 บท ) UJI JUUJOU 宇治十帖 (The Ten Books of Uji)

บทที่ 45-54 กล่าวถึงเรื่องราวของลูกหลาน หลังจากที่เก็นจิได้ตายไปแล้ว

บทร้อยกรองกับตำนานเก็นจิ

[แก้]

ในตำนานเก็นจิ มุราซากิ ชิคิบุ ยังสอดแทรกบทร้อยกรองจากบทประชุมร้อยกรองต่างๆ เช่น โคะคินวะกะชู (Kokinwakashuu) [1]หรือโคะคินชู ( Kokinshuu ) โกะเซนชู ( Gosenshuu ) โคะคินโรคุโจ ( Kokinrokujou ) ชุยชู ( Shuishuu ) ฯลฯ โดยใช้ในรูปการดัดแปลงบทร้อยกรองดั้งเดิมให้สอดคล้องสัมพันธ์กับอารมณ์ความรู้สึกของตัวละคร เนื่องจากในสมัยนั้น กวีโคลงกลอนต่างๆ ถือเป็นสุดยอดของศิลปะ และสุดยอดของรูปแบบการสนทนาที่มีวัฒนธรรม ข้าราชสำนักและขุนนางที่มีความรู้ดีและมีรสนิยมจึงสาวารถจดจำโคลงกลอนต่างๆได้เป็นจำนวนมาก และจะดัดแปลงโคลงกลอนต่างๆให้เข้ากับการพูด การสนทนา ของตนออกมาได้อย่างอัตโนมัตินั่นเอง ในตำนานเก็นจินั้น นอกจากประชุมโคลงกลอนข้างต้นแล้ว มุราซากิ ชิคิบุ ยังยืมบทร้อยกรองจีนมาใช้ในเรื่องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บทร้อยกรองของกวีเอกแห่งราชวงศ์ถังไป๋จวีอี้ [2](白居易 Bai Juyi ค ศ.772-846 )

เพลงไซบาระ

[แก้]

นอกจากบทร้อยกรองแล้ว มุราซากิ ชิคิบุ ยังใช้ เพลงไซบาระ[3] ( 催馬楽 Saibara ) ประกอบในเนื้อเรื่องด้วย เพลงไซบาระนั้น ตามตัวอักษรหมายถึง เพลงที่ร้องในขณะขี่ม้า เป็นเพลงที่ใช้ร้องคู่หรือประสานกัน นักร้องมีทั้งหญิงและชาย เป็นที่นิยมมากในราชสำนักญี่ปุ่นยุคเฮอัน โดยดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้าน ในบทเพลงขนาดสั้นนี้ จะมีเนื้อร้องสั้นๆที่ใช่คำที่เรียบง่ายประกอบดนตรีที่รับอิทธิพลมาจากราชวงค์ถังประเทศจีน หรือ โทงะคุ ( 唐樂 Togaku) และ โคะมะงาคุ (Komagaku)

รายชื่อตอนทั้งหมด

[แก้]
  1. คิริตสึโบะ (桐壺, Kiritsubo) "Paulownia Court" "Paulownia Pavilion"
  2. ฮาฮากิงิ (帚木, Hahakigi) "Broom Tree"
  3. อุตสึเซมิ (空蝉, Utsusemi) "Shell of the Locust" "Cicada Shell"
  4. ยูงาโอะ (夕顔, Yūgao) "Evening Faces" "Twilight Beauty"
  5. วากามูราซากิ (若紫, Wakamurasaki) "Lavander" "Young Murasaki"
  6. ซูเอ็ตสึมูฮานะ (末摘花, Suetsumuhana) "Safflower"
  7. โมมิจิโนะกะ (紅葉賀, Momiji no Ga) "Autumn Excursion" "Beneath the Autumn Leaves"
  8. ฮานะโนะเอ็ง (花宴, Hana no En) "Festival of the Cherry Blossoms" "Under the Cherry bossoms"
  9. อาโออิ (葵, Aoi) "Heartvine" "Heart-to-Heart"
  10. ซากากิ (榊, Sakaki) "Sacred Tree" "Green Branch"
  11. ฮานะชิรุซาโตะ (花散里, Hana Chiru Sato) "Orange Blossoms" "Falling Flowers"
  12. ซูมะ (須磨, Suma ) "Suma"
  13. อากาชิ (明石, Akashi) "Akashi"
  14. มิอตสึกูชิ (澪標, Miotsukushi) "Channel Buoys" "Pilgrimage to Sumiyoshi"
  15. โยโมงิอุ (蓬生, Yomogiu) "Wormwood Patch" "Waste of Weeds"
  16. เซกิยะ (関屋, Sekiya) "Gatehouse" "At The Pass"
  17. เอะอาวาเซะ (絵合, E Awase) "Picture Contest"
  18. มัตสึกาเซะ (松風, Matsukaze) "Wind in the Pines"
  19. อูซูงูโมะ (薄雲, Usugumo ) "Rack of Clouds" "Wisps of Cloud"
  20. อาซางาโอะ (朝顔, Asagao ) "Morning Glory" "Bluebell"
  21. โอโตเมะ (乙女, Otome ) "Maiden" "Maidens"
  22. ทามากาซูระ (玉鬘, Tamakazura ) "Jeweled Chaplet" "Tendril Wreath"
  23. ฮัตสึเนะ (初音, Hatsune ) "First Warbler" "Warbler's First Song"
  24. โคโจ (胡蝶, Kochō ) "Butterflies"
  25. โฮตารุ (螢, Hotaru) "Fireflies"
  26. โทโกนัตสึ (常夏, Tokonatsu) "Wild Carnation" "Pink"
  27. คางาริบิ (篝火, Kagaribi) "Flares" "Cressets"
  28. โนวากิ (野分, Nowaki) "Typhoon"
  29. มิยูกิ (行幸, Miyuki) "Royal Outing" "Imperial Progress"
  30. ฟูจิบากามะ (藤袴, Fujibakama) "Purple Trousers" "Thoroughwort Flowers"
  31. มากิบาชิระ (真木柱, Makibashira) "Cypress Pillar" "Handsome Pillar"
  32. อุเมะ กะ เอะ (梅枝, ume ga E) "Branch of Plum" "Plum Tree Branch"
  33. ฟูจิ โนะ อูราบะ ( 藤裏葉, Fuji no Uraba) "Wisteria Leaves" "New Wisteria Leaves"
  34. วากานะ ภาคต้น ( 若菜上, Wakana: Jō) "New Herbs, Part I" "Spring Shoots I"
  35. วากานะ ภาคปลาย (若菜下, Wakana: Ge) "New Herbs, Part II" "Spring Shoots II"
  36. คาชิวางิ (柏木, Kashiwagi) "Oak Tree"
  37. โยโกบูเอะ (横笛, Yokobue) "Flute"
  38. ซูซูมูชิ (鈴虫, Suzumushi) "Bell Cricket"
  39. ยูงิริ (夕霧, Yūgiri) "Evening Mist"
  40. มิโนริ (御法, Minori) "Rites" "Law"
  41. มาโบโรชิ (幻, Maboroshi) "Wizard" "Seer"
  42. คูโมงากูเระ (雲隠, Kumogakure) "Vanished into the Clouds" ----- (บทนี้มีเพียงชื่อบทเท่านั้น เป็นเพียงหน้าว่างเปล่า ไม่มีเนื้อหาภายใน แสดงถึงความตายของ ฮิคารุ เก็นจิ)
  43. นิโอ มิยะ (匂宮, Niō Miya) "His Perfumed Highness" "Perfumed Prince"
  44. โคไบ (紅梅, Kōbai) "Rose Plum" "Red Plum Blossoms"
  45. ทาเกกาวา (竹河, Takekawa) "Bamboo River"
  46. ฮาชิฮิเมะ (橋姫, Hashihime) "Lady at the Bridge" "Maiden of the Bridge"
  47. ชี กะ โมโตะ (椎本, Shī ga Moto) "Beneath the Oak"
  48. อาเงมากิ (総角, Agemaki) "Trefoil Knots"
  49. ซาวาราบิ (早蕨, Sawarabi) "Early Ferns" "Bracken Shoots"
  50. ยาโดริงิ (宿木, Yadorigi) "Ivy"
  51. อาซูมายะ (東屋, Azumaya) "Eastern Cottage"
  52. อูกิฟูเนะ (浮舟, Ukifune) "Boat upon the Waters" "A Drifting Boat"
  53. คาเงโร (蜻蛉, Kagerō) "Drake Fly" "Mayfly"
  54. เทนาไร (手習, Tenarai) "Writing Practice"
  55. ยูเมะ โนะ อูกิฮาชิ (夢浮橋, Yume no Ukihashi) "Floating Bridge of Dreams"
แบบจำลองคฤหาส์นโรคุโจของเก็นจิ

เรื่องย่อ

[แก้]

ในรัชสมัยของจักรพรรดิพระองค์หนึ่งได้รับการเรียกขานกันว่า จักรพรรดิคิริสึโบะ พระองค์ทรงสนิทเสน่หานางสนมผู้ต่ำศักดิ์ผู้ถูกเรียกขานว่า คิริสึโบะโนะโคอิ (Kiritsubo no Koi) ซึ่งสร้างความอิจฉาริษยาให้กับพระชายาสนมกำนัลในทั้งหลาย โดยเฉพาะ พระชายาตำหนักโคคิ (Kokiden) ผู้เป็นบุตรีของ ท่านอุไดจิน (เสนาบดีฝ่ายขวา) ผู้ทรงอำนาจยิ่งในราชสำนักและพระชายาตำหนักโคคินั้นยังให้กำเนิดพระโอรสองค์โตซึ่งดำรงตำแหน่งมกุฎราชกุมารด้วย

เพราะความอิจฉาริษยาทำให้ทั้งพระชายาและสนมกำนัลในพากันกลั่นแกล้ง นางสนมคิริสึโบะ อย่างโหดร้ายอีกเหล่าเสนาอำมาตย์ยังกริ่งเกรงว่าจักรพรรดิของพวกเขาจะหลุ่มหลงสตรีจนชาติล่มจมเช่นจักรพรรดิจีนลุ่มหลงพระสนมหยางกุ้ยเฟย

ต่อมานางสนมคิริสึโบะผู้บอบช้ำทั้งร่างกายและจิตใจตั้งครรภ์และคลอดพระโอรสน้อยที่มีรูปโฉมงดงามอย่างที่มิเคยมีมาก่อนยิ่งทำให้ จักรพรรดิคิริสึโบะ ยิ่งรักใคร่นางมากเท่าทบทวีคูณความอาฆาตมาดร้ายต่างๆยิ่งเพิ่มเป็นเงาตามตัว นางสนมคิริสึโบะ ถูกกลั่นแกล้งจนล้มป่วยอาการทรุดหนักและเสียชีวิต ยังซึ่งความโทมนัสแก่ จักรพรรดิคิริสึโบะ เหลือประมาณ จึงทุ่มเทความรักทั้งมวลให้แก่พระโอรสองค์น้อยจนหมดสิ้น

เมื่อพระโอรสน้อยเจริญวัยโหรชาวเกาหลีทำนายดวงชะตาของพระโอรสว่าหากเป็นเชื้อพระวงศ์จะยังความล่มจมมาสู่ประเทศแต่หากเป็นขุนนางค้ำจุนราชบัลลังก์จะยังความสุขสงบร่มเย็นให้เกิดขึ้น จักรพรรดิคิริสึโบะจึงจำต้องถอดพระโอรสน้อยออกจากการเป็นเชื้อพระวงศ์ลดชั้นเป็นสามัญชนพระราชทานนามสกุล มินะโมโตะ หรืออ่านได้อีกอย่างว่า เก็นจิ ด้วยเป็นเด็กชายที่งดงามอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนจึงได้รับการขนานนามว่า ฮิคารุ เก็นจิ หรือ เก็นจิผู้เจิดจรัสนั่นเอง

ต่อมา จักรพรรดิคิริสึโบะ ได้รับพระชายาองค์ใหม่ผู้มีหน้าตาคล้าย คิริสึโบะโนะโคอิ อย่างมากนางได้รับการขนานนามว่า พระชายาฟุจิทสึโบะ (Fujitsubo) ตามชื่อตำหนักที่นางพำนักอยู่ในวัง แม้เก็นจิจะถูกลดชั้นเป็นสามัญชน แต่พระจักรพรรดิคิริสึโบะ ยังคงเอ็นดูและดูแลเขาอยู่ในวัง ด้วยได้รับการบอกเล่าว่า พระชายา ฟุจิทสึโบะ มีใบหน้าละม้ายมารดาของเขา เก็นจิจึงสนิทสนมกับนางมาก จนกลายเป็นความรัก

เมื่อเก็นจิเข้าพิธี เก็มปุกุ (บรรลุนิติภาวะ) เมื่ออายุ 12 ปี และแต่งงานกับ ท่านหญิงอาโออิ ธิดาของสะไดจิง (เสนาบดีฝ่ายซ้าย) ผู้มีอายุมากกว่าโดยการจัดการของพระจักรพรรดิเพียงหวังให้สะไดจินผู้เรืองอำนาจสนับสนุนค้ำชูให้เก็นจิและคานอำนาจกับ อุไดจิง การแต่งงานครั้งนี้ ความสัมพันธ์ของเก็นจิและภรรยาไม่ใคร่ราบรื่นเขาจึงมักจะหาข้ออ้างไม่ไปหาภรรยาแต่จะใช่เวลาส่วนมากอยู่ในวัง เกนจิมีสหายสนิทคนหนึ่งซึ่งได้รับการเรียกขานว่า โทโนะจูโจ เขาเป็นพี่ชายของท่านหญิงอาโออิและเป็นบุตรชายคนโตของสะไดจิง

เก็นจิมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงมากหน้าหลายตาหนึ่งในนั้นคือ อดีตพระชายาโรคุโจ ผู้เป็นพระชายาขององค์มกุฎราชกุมารที่ล่วงลับไปแล้วนางเป็นหม้ายมีบุตรสาวหนึ่งคนชื่อ อากิโคโนมุ ด้วยความที่นางอายุมากกว่าและถือตัวเก็นจิจึงรู้สึกอัดอัดกับความสัมพันธ์

เย็นวันหนึ่งขณะที่เก็นจิกำลังเดินทางไปเยี่ยมแม่นมของเขาซึ่งเป็นมารดาของ โคเรมิตสึ คนสนิทของเขา เขาบังเอิญมีโอกาสแลกเปลี่ยนสาส์นและต่อมามีความสัมพันธ์กับสตรีที่เขาเรียกว่า ยูงะโอะ (Yugao) อยู่มาคืนหนึ่งเขาพายูงะโอะไปพักค้างคืนที่คฤหาสน์รกร้าง ยูงะโอถูกวิญญาณคนเป็นที่เกิดจากความอาฆาตแค้นของอดีตพระชายาโรคุโจฆ่าตาย เก็นจิล้มป่วยเดินทางไปรักษาตัวกับพระธุดงค์ที่ คิตะยะมะ ระหว่างรักษาตัวจนหายเขาพบกับเด็กหญิงน้อย ๆ ผู้มีใบหน้าคล้ายคลึงกับพระชายาฟุจิทสึโบะเป็นอันมาก เนื่องจากนางเป็นบุตรีของ เฮียวบุเคียวโนะมิยะ พี่ชายของพระชายา ฟุจิทสึโบะ ดังนั้นนางจึงมีศักดิ์เป็นหลานสาวของพระชายาฟุจิทสึโบะ เก็นจิตั้งชื่อเด็กหญิงน้อยคนนั้นว่า มุราซากิ นางอาศัยอยู่กับยายซึ่งบวชเป็นชีอยู่ที่คิตะยะมะ มารดาของนางเสียชีวิตไปแล้ว เนื่องจากไม่ใช่ภรรยาเอกบิดาของนางจึงไม่ใคร่ใส่ใจเท่าไรนัก

ระหว่างห้วงเวลานั้น พระชายาฟุจิทสึโบะ ล้มป่วยเล็กน้อย จึงลาราชการมาพักผ่อนที่บ้านเดิมของนางชั่วระยะเวลาหนึ่ง เก็นจิรู้ข่าว จึงลักลอบไปหานางและมีความสัมพันธ์กันเป็นคืนแรกและคืนเดียว พระชายาฟุจิทสึโบะตั้งครรภ์คลอดบุตรชายของเก็นจิ โดยพรางว่าเป็นพระโอรสของจักรพรรดิคิริสึโบะ เด็กชายที่เกิดจากความสัมพันธ์ต้องห้ามนี้ ต่อมาได้ขึ้นเป็น จักรพรรดิเรเซ

ต่อมายายของมุราซากิตาย เก็นจิจึงรับตัวนางไปอุปการะที่ คฤหาสน์นิโจ เขาเลี้ยงดูอบรมนางให้เติบโตขึ้นเป็นสาวงามตามอุดมคติของเขาเอง

ในที่สุดท่านหญิงอาโออิก็ตั้งครรภ์ลูกของเก็นจิในงานเทศกาลคาโมะ นางมาชมเทศกาลที่มีเก็นจิอยู่ในขบวนแห่ด้วย แต่บังเอิญบ่าวของนางลบหลู่หมิ่นเกียรติ และทะเลาะแบะแว้งกับบ่าวของอดีตพระชายาโรคุโจ เรื่องที่จอดรถเทียมวัวเพื่อชมเทศกาล อดีตพระชายาโรคุโจเสียหน้าและเจ็บแค้นเป็นอันมาก จนกลายเป็นวิญญาณคนเป็นสิงสู่หลอกหลอน จนอาโออิตายหลังคลอดบุตรชายนาม ยูงิริ ได้ไม่นาน ในเวลาต่อมาเก็นจิสมรสกับมุราซากิผู้เติบโตขึ้นมาเป็นหญิงสาวผู้งดงามเฉลียวฉลาดมีรสนิยม

ต่อมา จักรพรรดิคิริสึโบะ สวรรคต พี่ชายต่างมารดาของเก็นจิ บุตรชายของพระชายาโคคิเด็งขึ้นเป็นพระ จักรพรรดิซุซะกุ อำนาจทางการเมืองของเก็นจิเสื่อมถอยลง และด้วยความเจ้าชู้เก็นจิลอบมีความสัมพันธ์กับ โอะโบะโระสึกิโยะ น้องสาวของพระชายาโคคิเด็ง ผู้เข้าถวายตัวเป็นไนชิโนะคามิผู้ที่จักรพรรดิซุซะกุสนิทเสหา เมื่อความแตกเก็นจิเนรเทศตัวเองไปยัง สุมะ เมืองชายทะเลอันรกร้าง โดยให้มุราซากิช่วยดูแลคฤหาสน์และทรัพย์สมบัติทั้งหลายให้

เก็นจิเดินทางไปอะคะชิตามคำเชิญของนักบวชแห่งอะคะชิ และมีความสัมพันธ์กับบุตรีของนักบวชแห่งอะคะชิจนนางตั้งครรภ์

จักรพรรดิซุซะกุอภัยโทษและเรียกตัวเกนจิกลับเมืองหลวง เนื่องจากเกิดภัยพิบัติขึ้นพระองค์และพระราชมารดาประชวรโดยไร้ทางรักษา ท่านอุไดจิง บิดาของพระราชมารดาก็เกิดเสียชีวิต เก็นจิขึ้นมาเรืองอำนาจอีกครั้ง จักรพรรดิซุซะกุสละราชสมบัติ บุตรชายของเก็นจิที่เกิดกับฟุจิทโบะอย่างลับ ๆ ขึ้นเป็นจักรพรรดิเรเซ เก็นจิสร้างคฤหาสน์ที่โรคุโจเพื่อพาภรรยาทั้งหลายมอยู่ด้วยกัน และยังรับอุปการะสตรีไร้ที่พึ่งพิงทั้งหลายที่เขาเคยรู้จักอีกด้วย

เมื่อเก็นจิอายุได้ 40 ปีได้อภิเษกกับพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ พระธิดาองค์ที่ 3 ของ จักรพรรดิซุซะกุซึ่งออกผนวช และฝากฝังพระธิดาให้เก็นจิ นางมีอายุเพียง 13 -14 ปีด้วยความกระทบกระเทือนจิตใจจากความเจ้าชู้ของเก็นจิ มุราซากิก็ล้มป่วยมาเรื่อย ๆ ขณะที่เก็นจิย้ายมุราซากิไปพักฟื้นที่คฤหาสน์นิโจ คะชิวะงิเพื่อนของยูงิริบุตรชายของเก็นจิ พบเห็นพระธิดาอนนะซังโนะมิยะโดยบังเอิญจนหลงรักนางมาก ฉวยโอกาสในคืนวันหนึ่งที่เก็นจิไม่อยู่ ลอบเข้าหานางและมีความสัมพันธ์กับนางจนนางตั้งครรภ์ เก็นจิล่วงรู้ความสัมพันธ์นี้เขากดดันจนคะชิวะงิล้มป่วยด้วยความรู้สึกผิด และเสียชีวิตในเวลาต่อมา ส่วนพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ เมื่อคลอดบุตรชายของคะชิวะงินาม คาโอรุ ออกมานางก็ออกบวชเป็นชี

มุราซากิล้มป่วยหนักขออนุญาตเก็นจิออกบวชเป็นชี แต่ด้วยความรักใคร่ผูกพันในตัวนางอย่างมาก เก็นจิจึงไม่อนุญาตและมุราซากิก็เสียชีวิตในเวลาต่อมา ทำให้เก็นจิเสียใจมากเขาสะสางเรื่องราวทุกอย่าง และออกบวชเพื่อหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวง

ลำดับเหตุการณ์ในเรื่อง

[แก้]
บทที่ ช่วงอายุของเก็นจิ เหตุการณ์
1 .คิริสึโบะ ตำหนักคิริ เกิด
  • เก็นจิ เกิด
3 ปี
  • แม่ของเก็นจิตายและได้รับการเลื่อนตำแหน่งเพื่อเป็นเกียรติหลังเสียชีวิตขึ้นเป็นนางกำนัลยศระดับ 3
4 ปี
  • จักรพรรดิแต่งตั้งพระโอรสองค์ใหญ่ (7 ชันษา ) ซึ่งเกิดกับพระชายาตำหนักโคคิ (โคคิเด็ง) ธิดาของอุไดจิน ( เสนาบดีฝ่ายขวา ) ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร
6 ปี
  • ยายของเก็นจิตาย
7 ปี
  • เก็นจิเริ่มอ่านบทกวีได้
8-11 ปี
  • โหรชาวเกาหลีทำนายดวงชะตาของเก็นจิ จักรพรรดิถอดเก็นจิออกจากการเป็นเชื้อพระวงศ์ ลดชั้นเป็นสามัญชน พระราชทานนามสกุล มินาโมโตะ (源氏อ่านได้ 2 แบบคือ minamoto และ genji ) ให้เก็นจิเป็นต้นสกุล
  • พระชายาฟุจิสึโบะ ( 16 ปี ) พระธิดาองค์ที่ 4 ของจักรพรรดิองค์ที่แล้วเข้าถวายตัวเป็นพระชายา
12 ปี
  • เก็นจิเข้าพิธีเกมปุกุ (บรรลุนิติภาวะ ) ,สมรสกับท่านหญิงอาโออิ ( อายุ 16) บุตรีของสะไดจิน ( เสนาบดีฝ่ายซ้าย )
  • โทโนะจูโจ พี่ชายคนโตของท่านหญิงอาโออิ สมรสกับบุตรีคนหนึ่งของอุไดจิน (เสนาบดีฝ่ายขวา )
  • เก็นจิรับมรดกคฤหาสน์ที่ตั้งในย่าน นิโจ ( ถนนที่ 2 ) บ้านเดิมของแม่ของเก็นจิเอง
2 . ฮะฮะคิงิ พฤกษาฮะฮะคิงิ 17 ปี
  • เดือนพฤษภาคม เก็นจิ สนทนาเรื่องสตรีประเภทต่างๆ ใน "บทสนทนาในคืนฝนพรำ" กับ โทโนะจูโจ , สะมะโนะคามิ และ โทชิคิบุโนะโจ
  • ในค่ำคืนต่อมา เก็นจิ พบกับ อุทสึเซมิ
  • เก็นจิ ลอบเข้าหา อุทสึเซมิ อีกครั้ง แต่นางหลบเลี่ยงเขาสำเร็จ
3 . อุทสึเซมิ คราบเรไร 17 ปี *เก็นจิ ลอบเข้าหา อุทสึเซมิ เป็นครั้งที่ 3 อุทสึเซมิ แอบหนีไปเมื่อรู้สึกตัวว่าเก็นจิลอบเข้าหา โดยทิ้งไว้เพียงเสื้อคลุมบางเบา ด้วยความผิดพลาด เก็นจิ มีความสัมพันธ์กับ โนะคิบะโนะโอกิ ลูกเลี้ยงของอุทสึเซมิ แทน
4 .ยูงะโอะ พักตราแห่งสนธยา 17 ปี
  • ฤดูร้อน เก็นจิ พบกับ ยูงะโอะ ( อายุ 19 ) ยูงะโอะคือสตรีที่โทโนะจูโจเล่าว่า เคยคบหาเป็นคู่รักและมีบุตรสาวด้วยกันหนึ่งคน แต่นางหนีไปเพราะถูกภรรยาหลวงของโทโนะจูโจข่มขู่
  • วันที่ 16 เดือน สิงหาคม ยูงะโอะ ถูกวิญญาณคนเป็นของ อดีตพระชายาแห่งโรคุโจ ( โรคุโจโนะมิยาสุโดโคโระ ) ชู้รักอายุมากกว่าของเก็นจิ อดีตพระชายาผู้สูงทั้งศักดิ์และรสนิยมแต่เปี่ยมด้วยความหึงหวงอาฆาต ฆ่าตาย , เก็นจิ ไม่สบายหนักจนถึงวันที่ 20 เดือน 9
  • เก็นจิ ทำบุญครบรอบวันตาย 49วันของ ยูงะโอะ

เดือนตุลาคม อุทสึเซมิ ติดตามสามีที่ไปรับราชการที่จังหวัด อิโยะ

6 .สุเอทสึมุฮานะ มาลีสีชาด 18 ปี
  • ต้นฤดูใบไม้ผลิ เก็นจิได้ยินเสียง คิน ( คินโนะโคโตะ : เครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง ) ของสุเอทสึมุฮานะ เป็นครั้งแรก
5 .วะกะมุราซากิ เยาวมาลีสีม่วง 18 ปี
  • ปลายเดือนมีนาคม เกนจิเดินทางไปหาพระธุดงเพื่อรักษาอาการไข้มาลาเลียของตนเอง แล้วในวัดแถบคิตะยะมะ เขาได้พบกับ มุราซากิ ครั้งแรก
  • พระชายาฟุจิทสึโบะลาพักราชการชั่วคราวกลับไปยังบ้านเดิม เกนจิมีความสัมพันธ์กับนางที่นั่น
  • เดือนมิถุนายน พระชายาฟุจิทสึโบะตั้งครรภ์ได้ 3 เดือน
  • เดือนกรกฎาคม พระชายาฟุจิทสึโบะ กลับไปรับราชการในวัง
6 .สุเอทสึมุฮานะ มาลีสีชาด 18 ปี
  • วันที่ 20 เดือนสิงหาคม เกนจิ พบกับ สุเอทสึมุฮานะ เป็นครั้งแรก มีความสัมพันธ์กันท่ามกลางความมืด
  • รุ่งเช้าวันหนึ่ง เกนจิได้เห็นหน้าสุเอทสึมุฮานะชัดเจนเป็นครั้งแรก เขาตกใจเพราะนางเป็นสตรีที่มีจมูกแดงอย่างแปลกประหลาด
5 .วะกะมุราซากิ เยาวมาลีสีม่วง 18 ปี
  • ปลายเดือนกันยายน ยายของมุราซากิตาย
  • เก็นจิลักพามุราซากิไปที่คฤหาสน์นิโจ
7 .โมมิจิ โนะ งะ ชมใบไม้แดง 19 ปี
  • วันที่ 10 เดือนตุลาคม ในระหว่างการเสด็จราชดำเนินไปตำหนัก สุซาคุ เก็นจิและโทโนะจูโจ ร่วมกันร่ายรำ "คลื่นทะเลสีคราม"
  • เก็นจิได้รับการเลื่นตำแหน่งเป็นขุนนางระดับ 3 ส่วน โทโนะจูโจ เลื่อนขึ้นเป็นขุนนางระดับ 4
  • วันที่ 20 เดือนกุมพาพันธ์ พระชายาฟุจิทสึโบะให้กำเนิดบุตรชายของเก็นจิ ( เก็บเป็นความลับ ) ต่อมาพระโอรส ได้ขึ้นเป็น พระจักรพรรดิ เรย์เซย์
  • เดือนเมษายน องค์ชายน้อยได้เข้าวังเป็นครั้งแรก ( การคลอดบุตร ต้องทำที่บ้านมารดา ห้ามคลอดในวัง )
  • เดือนกรกฎาคม พระชายาฟุจิทสึโบะ ให้เลื่อนตำแหน่งเป็น จักรพรรดินี เก็นจิ ได้เลื่อนตำแหน่งเป็นไซโช
8 .ฮานะ โนะ เอน วสันต์สังสรรค์ 20 ปี
  • วันที่ 20 เดือนกุมพาพันธ์ ณ งานเลี้ยงท่ามกลางดอกซากุระบาน เก็นจิมีความสัมพันธ์กับ โอะโบะโระซึกิโยะ บุตรีคนที่ 6 ของอุไดจินเป็นครั้งแรก
  • วันที่ 20 เดือน มีนาคม มีงานเลี้ยงชมดอกฟุจิที่คฤหาสน์อุไดจิน เก็นจิลอบเข้าหาโอะโบะโระซึกิโยะ อีกครั้ง


8-9 21 ปี
  • เก็นจิได้รับตำแหน่งไทโช พระจักรพรรดิราชบิดาของเก็นจิ สละราชสมบัติ พี่ชายต่างมารดา พระโอรสองค์ใหญ่ชั้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิสุซาคุ ( 25 ชันษา) พระโอรสที่แท้จริงเป็นบุตรชายของเก็นจิ ได้รับตำแหน่ง เจ้าชายรัชทายาท อุไดจินและพระชายาโคคิเด็งครองอำนาจในราชสำนัก
9 .อาโออิ 22 ปี
  • ฤดูใบไม้ผลิ อากิโคโนมุ (13 ) พระธิดาของอดีตพระชายาโรคุโจ ได้รับเลือกให้เป็น ไซงู (หัวหน้านักบวชหญิงประจำศาลเจ้าอิเสะ )
  • อาโออิตั้งครรภ์
  • พี่สาวต่างมารดาของเก็นจิ พระธิดาองค์ที่ 3 ที่เกิดระหว่างพระราชบิดาของเก็นจิกับพระชายาโคคิเด็งได้รับเลือกให้เป็น ไซอิน (หัวหน้านักบวชหญิงประจำศาลเจ้าคาโมะ )
  • เดือนเมษายน อดีตพระชายาแห่งโรคุโจ ถูกดูหมิ่นจากคนของอาโออิ เพราะการทะเลาะวิวาทเรื่องที่จอดรถเทียมวัวท่ามกลางงานซ้อมเทศกาลอาโออิ
  • ณ เทศกาลคาโมะ เก็นจิตัดแต่งผมให้มุราซากิ และพานางไปชมเทศกาล
  • เดือนสิงหาคม อาโออิ ให้กำเนิดบุตรชายของเก็นจิ รู้จักกันในนามว่า ยูงิริ
  • วันที่ 20 เดือนสิงหาคม อาโออิเสียชีวิตอย่างกะทันหัน เก็นจิเข้าไว้ทุกข์ที่คฤหาสน์ของพ่อตา
  • เดือนกันยายน อากิโคโนมุ ย้ายไปพำนักที่ ศาลเจ้าโนโนมิยะ เตรียมตัวก่อนไป อิเสะ
  • เดือนตุลาคม เก็นจิ ย้ายไปพำนักที่คฤหาสน์นิโจ และได้สมรสกับมุราซากิทางพฤตินัย
9 .อาโออิ 23 ปี
  • วันที่ 1 เดือนมกราคม เก็นจิเข้าเยี่ยมถวายพระพรแด่พระราชบิดา และ เจ้าชายรัชทายาท จากนั้นไปเยี่ยมเยียนบิดามารดาของอาโออิ
10.ซะคะคิ กิ่งไม้ศักดิสิทธิ์ 23 ปี
  • วันที่ 7 เดือนกันยายน เก็นจิ เดินทางไปพบ อดีตพระชายาโรคุโจ ที่ศาลเจ้าโนโนมิยะ ก่อนนางจะเดินทางติดตามอากิโคโนมุผู้เป็นบุตรีไปศาลเจ้าเมืองอิเสะ
  • วันที่ 16 เดือนกันยายน อดีตพระชายาโรคุโจ กับ อาคิโคโนมุ ออกเดินทางไปอิเสะ
  • วันที่ 1 พฤศจิกายน พระบิดาของเก็นจิสวรรคต
  • วันที่ 20 ธันวาคมสิ้นสุดการบำเพ็ญราชกุศลครบรอบวันสวรรคต 49 วัน ฟุจิทสึโบะออกจากวังกลับไปพำนักที่บ้านเดิม
24 ปี
  • เดือนกุมพาพันธ์ โอโบะโระซึกิโยะ เข้าวังรับราชการในตำแหน่ง ไนชิโนะคามิ ซึ่งอีกนัยหนึ่งคือเป็นพระสนมองค์ของพระจักรพรรดิสุซาคุ
  • ไซอินคนเดิมพ้นจากตำแหน่ง อาสะงาโอะรับตำแหน่งไซอินสืบต่อ
  • ฤดูใบไม้ร่วง เก็นจิเข้าถือศีลที่วัดอุรินอิน
  • วันที่ 1 เดือนพฤศจิกายน ครบรอบ 1 ปีวันสวรรคตของจักรพรรดิ คิริสึโบะอิน ราชบิดาของเก็นจิ
  • ประมาณราววันที่ 10 -12 ธันวาคม ฟุจิทสึโบะจัดการบำเพ็ญกุศลครั้งยิ่งใหญ่ แล้วออกบวชเป็นชี
25 ปี
  • เดือนมกราคม เก็นจิ เข้าเยี่ยม ฟุจิทสึโบะ ซึ่งเป็นชี
  • สะไดจิน บิดาของอาโออิ ลาออกจากราชการ
  • ฤดูร้อน โอโระโบะซึกิโยะ ลาราชการกลับมาพำนักที่บ้านเนื่องจากป่วย เก็นจิแวะเวียนลอบเข้าหานาง จนกระทั่งถูกอุไดจินจับได้
11.ฮานะ จิรุ ซาโตะ ท่านหญิงดอกส้ม 26 ปี
  • ประมาณหลังวันที่ 20 เดือนพฤษภา เก็นจิ เริ่มแวะเวียนคบหา ฮานะจิรุซาโตะ ฉันท์คนรัก
12.สุมะ สู่สุมะ 26 ปี
  • เก็นจิ ตัดสินใจเนรเทศตัวเองไปยังหาดสุมะ เมืองชายทะเลที่ห่างไกลจากเกียวโต เนื่องจากความผิดที่ลักลอบมีความสัมพันธ์กับโอโบะโระซึกิโยะ พระสนมของ จักรพรรดิสุซาคุ ก่อนไปเขาไปลาบิดาของอาโออิ ฟุจิทสึโบะ และไปคารวะหลุมพระศพราชบิดา
  • หลังวันที่ 20 มีนาคม เก็นจิออกเดินทางไปหาดสุมะ
  • เดือนกรกฎาคม โอโบะโระซึกิโยะ กลับเข้ารับราชการในวังท่ามกลางข่าวลืออื้อฉาว
  • เดือนสิงหา เจ้าเมืองจังหวัดดาไซฟุ ผ่านทางมายังหาดสุมะ เก็นจิแลกเปลี่ยนสาส์นกับ นางรำเทศกาลโกะเซจิ บุตรีของเจ้าเมืองดาไซฟุ
27 ปี
  • หลังวันที่ 20 เดือนกุมพาพันธ์ โทโนะจูโจ ( ตอนนั้นมีตำแหน่งเป็น ไซโชโนะจูโจ ) มาเยี่ยมเก็นจิถึงหาดสุมะ
  • วันที่ 1 เดือนมีนาคม เก็นจิทำพิธีสักการะบนชายหาด และพายุลูกใหญ่ก็พัดกระหน่ำ
13. อะคะชิ
  • หลังจากนั้น 2-3วัน คนเดินสาส์นมาส่งสาส์นของมุราซากิจากเมืองหลวง
  • เก็นจิฝันถึงพระบิดา พระองค์ตรัสให้เก็นจิออกจากสุมะไปเสีย
  • วันที่ 13 เดือนมีนาคม นักบวชแห่งอะคะชิ นำเก็นจิออกจากสุมะสู่อะคะชิ
  • วันที่ 1 เดือนเมษายน นักบวชแห่งอะคะชิ กำนัลเสื้อผ้าแพรพรรณ์ให้เก็นจิในช่วงเปลี่ยนฤดู
  • ทั้งจักรพรรดิสุซาคุ และพระราชมารดาโคคิเด็งต่างประชวรหนัก
  • ท่านไดโจไดจิน ( อดีตอุไดจิน บิดาของพระราชมารดาโคคิเด็ง ) ตาย
  • วันที่ 13 เดือนสิงหาคม เก็นจิมีสัมพันธ์กับท่านหญิงอะคะชิ บุตรีของนักบวชแห่งอะคะชิ เป็นคืนแรก
28 ปี
  • ช่วงเดือนมิถุนายน ท่านหญิงอะคะชิ ตั้งครรภ์
  • หลังวันที่ 20 เดือนกรกฎาคม เก็นจิได้รับอภัยโทษ และเรียกตัวกลับเมืองหลวง ด้วยการประชวรที่พระจักรพรรดิสุซาคุและพระราชมารดา กับความตายของท่านไดโจไดจิน อาจเกิดจากความกริ้วขององค์จักรพรรดิคิริสึโบะอินผู้ล่วงลับ ที่เก็นจิต้องถูกเนรเทศ
  • เดือนสิงหาคม เก็นจิกลับเมืองหลวงและได้รับตำแหน่งเป็น กอนไดนะกอน
  • วันที่ 15 เดือนสิงหาคม เก็นจิเข้าเฝ้าจักรพรรดิสุซาคุเป็นครั้งแรกหลังจากกลับมาเมืองหลวง
14-15
  • เดือนตุลาคม เก็นจิจัดพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลใหญ่ถวายอุทิศแด่พระราชบิดา
14.มิโอะซึคุชิ แสวงบุญ ณ สุมิโยชิ 29 ปี
  • เดือนกุมพาพันธ์ เจ้าชายรัชทายาท ( 11 ชันษา ) เข้าพิธีเกมปุกุ
  • หลังวันที่ 20 กุมพาพันธ์ จักรพรรดิสุซาคุ สละราชสมบัติ เจ้าชายรัชทายาท ( แท้จริงเป็นบุตรชายของเก็นจิ ) ขึ้นครองราชย์เป็น จักรพรรดิ เรย์เซย์
  • พระราชโอรสชอง อดีตจักรพรรดิสุซาคุ ที่เกิดกับพระชายาตำหนักโชเคียว ( โชเคียวเด็ง ) ขึ้นเป็นเจ้าชายรัชทายาท
  • เก็นจิ ขึ้นรับตำแหน่ง ไนไดจิน บิดาของอาโออิขึ้นเป็น เซ็สโซ ไดโจไดจิน โทโนะจูโจ ขึ้นเป็น กอนไดนะกอน
  • เก็นจิเริ่มสร้างเรือนตะวันออกที่คฤหาสน์นิโจ
  • วันที่ 16 เดือนมีนาคม ท่านหญิงอะคะชิ กำเนิดบุตรีให้เก็นจิ
15.โยะโมะงิอุ คฤหาสน์หญ้าคา
  • เก็นจิไปหาฮานะจิรุซาโตะ แล้วผ่านคฤหาสน์ของสุเอทสึมุฮานะ ซึ่งตอนนี้ผุพังรกร้างเต็มไปด้วยหญ้า ระหว่างทาง ด้วยความรักภักดีของสุเอทสึมุฮานะที่มั่นคงต่อเก็นจิ แม้รูปหน้าหน้าตานางจะไม่ใคร่งดงามแถมยังมีจมูกสีแดงก็ตาม เก็นจิซึ้งใจในความมั่นคงในรักของนาง จึงนำนางและบ่าวไพร่ไปดูแลต่อที่คฤหาสน์ของตน
14.มิโอะซึคุชิ แสวงบุญ ณ สุมิโยชิ
  • วันที่ 5 เดือนพฤษภาคม เก็นจิส่งคนเดินสาส์นไปอะคะชิ เพื่อฉลองการครบรอบ 50 วันของบุตรี
  • พระราชมารดาฟุจิทสึโบะ ได้รับตำแหน่งเทียบเท่า จักรพรรดิผู้สละราชสมบัติ
  • เดือนสิงหาคม บุตรีของโทโนะจูโจเข้าถวายตัวเป็นพระชายา
  • ฤดูใบไม้ร่วง เก็นจิเดินทางไปสักการะศาลเจ้าสุมิโยชิ ในเวลาเดียวกัน ท่านหญิงอะคะชิเองก็มาสักการะศาลเจ้าสุมิโยชิเช่นกัน แต่ทว่าทั้งสองไม่ได้พบกัน
  • อดีตพระชายาแห่งโรคุโจและอากิโคโนมุเดินทางจากอิเซะกลับเมืองหลวง เนื่องจากอากิโคโนมุพ้นจากตำแหน่งไซงู เพราะการเปลี่ยนพระจักรพรรดิ จึงต้องสรรหา ไซงู คนใหม่
  • อดีตพระชายาแห่งโรคุโจฝากฝังอากิโคโนมุไว้กับเก็นจิ จากนั้นก็ตาย
16.เซะกิยะ ด่านแห่งการพานพบ
  • 28 กันยายน อุทสึเซมิ ตามสามีกับมารับตำแหน่งในเมืองหลวง ระหว่างที่ถึงด่านโอซาก้า สวนทางพบกับเก็นจิที่กำลังไปไหว้พระที่วัดอิชิยามะพอดี
17.เอะ อะวะเสะ แข่งขันประชันภาพ 31 ปี
  • อากิโคโนมุ เข้าถวายตัวเป็นพระชายาในจักรพรรดิเรยฺเซย์ โดยมีเก็นจิ สนับสนุน
  • ประมาณวันที่ 10 เดือนมีนาคม มีการประชันภาพวาดกันระหว่างพระชายาบุตรีของโทโนะจูโจ กับ อากิโคโนมุ โดยมีฟุจิทสึโบะเป็นกรรมการตัดสิน
  • หลังวันที่ 20 เดือนมีนาคม ประชันภาพวาดเบื้องพระพักตร์จักรพรรดิเรย์เซย๋
  • เก็นจิเริ่มสร้างวัดที่นอกเมืองหลวง
18.มัตสึคะเสะ สายลมแผ่วผิวทิวสน
  • ฤดูใบไม้ร่วง เรือนตะวันออกในคฤหาสน์ของเกนจิ สร้างเสร็จสมบรูณ์ ฮานะจิรุซาโตะย้ายมาพักยังปีกตะวันออก
  • เก็นจิย้ายท่านหญิงอะคะชิจากอะคะชิมาอยู่ที่คฤหาสน์ริมแม่น้ำโออิ และเขาเดินทางไปหานางเสมอๆ
19.อุสุงุโมะ ดั่งเมฆาจางบางเบา
  • เดือนธันวาคม ท่านหญิงอะคะชิ ยกธิดาน้อย ให้มุราซากิเป็นมารดาเลี้ยงดูแทนตน เพื่ออนาคตจะได้มีผู้สนับสนุนที่สูงศักดิ์ ไม่ต่ำศักดิ์เช่นตัวนาง
19.อุสุงุโมะ ดั่งเมฆาจางบางเบา 32 ปี
  • บิดาของอาโออิตาย
  • เดือนมีนาคม ฟุจิทสึโบะป่วยหนัก และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
  • วันครบรอบ 49 วันตายของฟุจิทสึโบะ พระสงฆ์รูปหนึ่ง บอกเล่าความจริงและชาติกำเนิดให้จักรพรรดิเรย์เซย์ทรงรู้
  • ในวันเดียวกันนั้น บิดาของ ท่านหญิงอาสะงะโอะ ตาย
  • จักรพรรดิเรย์เซย์ทรงแสดงเป็นนัยว่า พระองค์ทรงรู้ว่าเก็นจิเป็นบิดา ด้วยการประทานยศให้เทียบเท่าจักรพรรดิผู้สละราชย์ พร้อมตำแหน่ง ไดโจไดจิน แต่เก็นจิ ปฏิเสธตำแหน่ง
20.อะสะงะโอะ พักตรายามทิวา
  • เดือนกันยายน องค์หญิงอะสะงะโอะ ออกจากตำแหน่ง ไซอิน เพราะการเสียชีวิตของบิดา
  • เก็นจิเข้าพบ องค์หญิง 5 ( ท่านป้าขององค์หญิงอะสะงะโอะ ) และ อะสะงะโอะ
  • เก็นจิเข้าพบ องค์หญิง 5 และ อะสะงะโอะ อีกครั้ง ครั้งนี้มาเพื่อเกี้ยวพาองค์หญิงอะสะงะโอะ แล้ว เขาก็ฝันถึง ฟุจิทสึโบะ
21.โอะโตะเมะ นางรำโกะเซะจิ 33 ปี
  • เดือนมีนาคม ครบรอบวันตายชอง ฟุจิทสึโบะ
  • เดือนเมษายน องค์หญิงอะสะงะโอะ ออกทุกข์ และเก็นจิไปพบนาง
  • ยูงิริ บุตรชายของเก็นจิกับอาโออิ เข้าพิธีเกมปุกุ รับยศเป็นขุนนางระดับ 6 ( ยศต่ำ ) และเข้าศึกษาในวิทยาลัย
  • ธิดา ( น้องสาวต่างมารดาของมุราซากิ ) ของ เฮียวบุเคียวโนะมิยะ ( บิดาของมุราซากิ ) เข้าถวายตัวเป็นพระชายา
  • อากิโคโนมุ ขึ้นเป็นจักรพรรดินี
  • เก็นจิ ขึ้นเป็น ไดโจไดจิน
  • โทโนะจูโจ ขึ้นเป็น ไนไดจิน
  • โทโนะจูโจ ขัดขวางไม่ให้ยูงิริ ( มีศักดิ์เป็นหลานชายของเขา ) ติดต่อคบหากับ คุโมอิ โนะ คาริ ( บุตรี ) ทั้งๆที่ทั้งสองได้รับการเลี้ยงดูจากมารดาของโทโนะจูโจ เพราะเป็นหลานทั้งคู่ มาด้วยกันตั้งแต่เด็กๆ เหตุเพราะ ยูงิริ ยังมียศต่ำต้อย ไม่คู่ควรกับบุตรี อีกทั้งต้องการจะถวายตัว คุโมอิ โนะ คาริ เข้าวัง
  • เดือนพฤศจิกายน เก็นจิ ส่ง บุตรีของโคเรมิตสึ ( คนสนิทของเกนจิ ) เป็นนางรำเทศกาลโกะเซะจิ
  • ยูงิริ ติดตาต้องใจ บุตรีของโคเรมิตสึ และ ส่งสาส์นรักเกี้ยวพานาง
  • เก็นจิฝากฝัง ยูงิริ ให้ ฮานะจิรุซาโตะ ดูแลอบรม
34 ปี
  • หลังวันที่ 20 เดือนกุมพาพันธ์ จักรพรรดิเรย์เซย์เสด็จเยี่ยมอดีตจักรพรรดิสุซาคุ
  • ยูงิริ ผ่านการสอบเลื่อนเป็นขุนนางระดับ 5 ได้ยศเป็น จิจู
  • เก็นจิเริ่มสร้างคฤหาสน์โรคุโจ
35 ปี
  • เก็นจิเตรียมงานฉลองครบรอบ 50 ปีของบิดาของมุราซากิ
  • บุตรีของยูงะโอะ ต่อมามีนามว่า ทามะคัทสึระ ( บุตรีของยูงะโอะที่เกิดกับโทโนะจูโจ ) ได้รับการเลี้ยงดูอยูในแถวคิวชู ถูกขุนนางท้องถิ่นป่าเถื่อนเกี้ยวพา
  • เดือนเมษายน พี่เลี้ยงพา ทามะคัทสึระ เข้าเมืองหลวง
21.โอะโตะเมะ นางรำโกะเซะจิ
  • คฤหาสน์โรคุโจสร้างเสร็จ เก็นจิย้ายภรรยาทั้งหลายเข้าพำนัก
22.ทามะคะซึระ มาลัยแก้วประดับเกล้า
  • ทามะคัทสึระ เดินทางไปไหว้พระที่วัดฮะเสะเดระ ได้พบกัย อุคน ( พี่เลี้ยงของยูงาโอะ มารดาของทามะคัทสึระ ) โดยบังเอิญ อุคน พาทามะคัทสึระมาพำนักที่บ้านของเธอแถบโกะโจ
  • ยูงิริได้เลื่อนตำแหน่งเป็น จูโจ
21.โอะโตะเมะ นางรำโกะเซะจิ
  • เดือนตุลาคม เก็นจิ พา ทามะคัทสึระมาอุปการะในฐานะบุตรี โดยมอบให้ ฮานะจิรุซาโตะ ดูแล
22.ทามะคะซึระ มาลัยแก้วประดับเกล้า
  • ท่านหญิงอะคะชิย้ายเข้ามาพำนักที่คฤหาสน์นิโจ
  • ช่วงสิ้นปี เก็นจิส่งเสื้อผ้าแพรพรรณเป็นกำนัลแก่เหล่าภรรยา
23.ฮัตสึเนะ แรกสำเนียงนกน้อย 36 ปี
  • วันที่ 1 เดือนมกราคม เก็นจิ ไปเยี่ยมท่านหญิงทุกคนที่พำนักที่คฤหาสนฺโรคุโจ
  • วันที่ 2 เดือนมกราคม เก็นจิให้ความบังเทิงแก่แขกผู้มาอวยพร
  • วันที่ 14 เดือนมกราคม มีพิธีสวดโดยผู้สวดมนต์เป็นเพศชายทั้งหมด
  • วันที่ 15 เดือนมกราคม เก็นจิเลี้ยงรับรองคณะผู้สวดมนต์
24.โคะโจ ระบำผีเสื้อ
  • หลังวันที่ 20 เดือนมีนาคม มีการจัดบรรเลงสังคีตที่เรือนวสันต์ของมุราซิกิในคฤหาสน์โรคุโจ
  • วันต่อมา มีการอ่านพระธรรมประจำฤดูใบไม้ผลิ ที่เรือนพำนักของ อากิโคโนมุ ในคฤหาสน์โรคุโจ
  • เดือนเมษายน ทามะคัทสึระ ได้รับสาส์นรักจาก เจ้าชายโฮะตะรุ , ฮิเงะคุโระ และ คะชิวะงิ อีกทั้งเก็นจิเองก็แสดงกิริยาเกี้ยวพานาง
25.โฮะตะรุ แสงหิ่งห้อย
  • เดือนพฤษภาคม ในค่ำคืนฝนพรำ เจ้าชายโฮะตะรุ เข้าพบ ทามะคัทสึระ ผ่านม่านมู่ลี่กั้น เก็นจิวางแผนปล่อยหิ่งห้อยบินส่องแสงในม่านมู่ลี่ของทามะคัทสึระ ทำให้เจ้าชายโฮะตะรุ เห็นโฉมหน้าอันงดงามของนาง
  • วันที่ 5 เดือนพฤษภาคม มีการแข่งข้นขี่ม้าในสนามขี่ม้าของคฤหาสน์โรคุโจ
  • บรรดาท่านหญิงในคฤหาสน์โรคุโจ พากันติดการอ่านนิทาน และ ม้วนภาพ เก็นจิกับทามะคัทสึระอภิปรายกันเรื่องการประเมินคุณค่าของนิทาน ตำนาน ต่างๆ
26.โทะโคะนัทสึ รังรัก
  • เดือนมิถุนายน เก็นจิ ได้ยินข่าว เรื่อง โทโนะจูโจ รับ โอมิ ลูกสาวที่เกิดจากความเจ้าชู้ในหนหลังมาเลี้ยง เพื่อประชันกับ บุตรี ( ทามะคัทสึระ ซึ่งแท้จริงแล้ว เป็นลูกสาวของ โทโนะจูโจ กับ ยูงะโอะ ) ที่เก็นจิพบโดยบังเอิญ และดูแลจนผู้คนร่ำลือถึงความงดงามจนเป็นที่หมายปอง
  • เก็นจิไม่รู้จะทำตัวอย่างไรดีกับทามะคัทสึระ โทโนะจูโจไม่รู้จะจัดการขัดเกลาโอมิได้อย่างไรดี
27.คะงะริบิ ร้อนรุ่ม
  • ต้นฤดูใบไม้ร่วง เก็นจิกับทามะคัทสึระ คุยกันภายใต้แสงคบเพลิง
  • เก็นจิ ร่วมบรรเลงสังคีตกับยูงะโอะและคะชิวะงิ
28.โนะวะกิพายุ
  • เดือนสิงหาคม เกิดลมพายุพัดแรง ทำความเสียหายให้คฤหาสน์โรคุโจบางส่วน ลมพายุพัดม่านมู่ลี่เปิดออก จนกระทั่ง ยูงิริ ได้เห็น มุราซากิ คนงาม เป็นครั้งแรก และต่อมายังเห็นเก็นจิและทามะคัทสึระ สนิดชิดเชื้อกันเกินความเป็นพ่อลูก
  • ยูงิริไปเยี่ยม องค์หญิงโอมิยะผู้เป็นยาย ( เป็นมารดาของ โทโนะจูโจ ) โทโนะจูโจก็ไปเยี่ยมองคหญิงโอมิยะเช่นกัน
29.มิยุกิ ทรงประพาท
  • เดือนธันวาคม จักรพรรดิทรงประพาสทุ่งโอฮาระ
37 ปี
  • วันที่ 1 เดือนกุมพาพันธ์ เก็นจิไปเยี่ยมองคฺหญิงโอมิยะที่กำลังป่วย เขาพบกับโทโนะจูโจ และบอกความจริงว่า แท้จริงแล้ว ทามะคัทสึระ เป็นบุตรีของโทโนะจูโจกับยูงะโอะ
  • วันที่ 26 เดือนกุมพาพันธ์ ทามะคัทสีระ เข้าพิธีโมะงิ ( พิธีบรรลุนิติภาวะของหญิง ) โดยมี โทโนะจูโจ เป็นประธานในพิธี
30.ฟุจิบะกะมะ ฮะกะมะสีม่วง
  • วันที่ 20 มีนาคม โอมิยะ ตาย
  • วันที่ 13 เดือนสิงหาคม ทามะคัทสึระ ออกจากการไว้ทุกข์ให้องค์หญิงโอมิยะ ผู้เป็นยาย และวางแผนจะเข้ารับราชการในวังประมาณเดือนตุลาคม
  • ทามะคัทสึระโดนเกี้ยวพาจากทั้ง เจ้าชายโฮะตะรุ ฮิเงะคุโระ และชายหนุ่มอีกมากมาย ด้วยต้องการเป็นสามีนางก่อนที่นางจะรับราชการในวัง แล้วจักรพรรดิเกิดทรงสนพระทัยนางขึ้นมา นางจะกลายเป็นหญิงที่สูงเกินเอื้อม
31.มะคิบะชิระ เสาเอก
  • ราวเดือนตุลาคม ฮิเงะคุโระ ลอบเข้าหา ทามะคัทสึระ ได้บังคับสมรสเป็นสามีกับนางโดยพฤตินัย
  • เกิดความโกลาหลในคฤหาสน์ของ ฮิเงะคุโระ ภรรยาของเขา ( เป็นพี่น้องต่างมารดาของ มุราซากิ ) หึงหวงที่ฮิเงะคุโระ ไปมีภรรยาอีกคน ( ทามะคัทสึระ ) และหลงใหลจนออกนอกหน้า ด้วยความโกรธ จึงสาดขี้เถ้าใส่เขาจนเลอะเทอะไปทั่ว แล้วหนีกลับบ้านเดิม พร้อมหอบลูกทั้งหมดไปด้วย หนึ่งในนั้นคือ มะคิบะชิระ บุตรสาว ที่ในเวลานั้น ไม่อยากจากคฤหาสน์ที่เคยอยู่กันพร้อมหน้าพ่อแม่ลูก นางจึงกอดเสาเอกของบ้านเอาไว้ ไม่อยากจากไป
38 ปี
  • เดือนมกราคม มีพิธีสวดโดยผู้สวดมนต์เป็นเพศชายทั้งหมด ทามะคัทสึระเข้ารับราชการในฐานะ ไนชิโนะคามิ แต่ ฮิเงะคุโระ หวงนางมาก บังคับพานางไปอยู่ที่คฤหาสน์ของตัวเอง
  • เดือน พฤศจิกายน ทามะคัทสึระ กำเนิดบุตรชาย
32.อุเมะ งะ เอะ กิ่งเหมย 39 ปี
  • วันสุดท้ายของเดือนมกราคม เก็นจิ ขอร้องให้ภรรยา และ ท่านหญิงในคฤหาสน์โรคุโจ ปรุงเครื่องหอม เนื่องในโอกาสพิธีโมะงิ ของ องค์หญิงอะคะชิ บุตรีของเขา
  • วันที่ 10 เดือน กุมพาพันธ์ เจ้าชายโฮะตะรุ ( ขณะนั้นมีตำแหน่ง เฮียวบุเคียวโนะมิยะ - เจ้ากรมกลาโหม ) เป็นกรรมการตัดสินการประชันเครื่องหอม และหลังจากนั้น มีการแสดงสังคีต
  • มีการจัดเตรียมการเข้าถวายตัวของบุตรีของเก็นจิ ซึ่งจะมีพิธีในเดือนเมษายน ยูงิริ คิดถึงอยากพบเจอ คุโมะอิ โนะ คาริ มาก เพราะถูกขัดขวางจากโทโนะจูโจ มาตลอด
33.ฟุจิโนะอุระบะ ใบฟุจิอ่อนเยาว์
  • วันที่ 20 เดือนมีนาคม ครบรอบวันตายของโอมิยะ โทโนะจูโจ คุยกับ ยูงิริ
  • วันที่ 7 เมษายน โทโนะจูโจ เชิญ ยูงิริ เข้าร่วมงานสังสรรค์ชมดอกฟุจิที่คฤหาสน์ซันโจ และยก คุโมะอิ โนะ คาริ ให้เป็นภรรยาของยูงิริในคืนนั้นเอง
  • วันที่ 8 เมษายน ทำบุญครั้งใหญ่
  • มุราซากิไปสักการะศาลเจ้าคาโมะ
  • มุราซากิร่วมชมเทศกาลคาโมะ
  • หลังวันที่ 20 เมษายน องค์หญิงอะคะชิ บุตรีของเก็นจิถวายตัวเข้าวัง เป็นพระชายาอะคะชิ โดยมีมุราซากิติดตามไปด้วย
  • 3 วันต่อมา มุราซากิออกจากวัง และส่งต่อหน้าที่ผู้ติดตาม พระชายาอะคะชิ ให้กับ ท่านหญิงอะคะชิ ผู้เป็นมารดาแท้ๆ มุราซากิกับท่านหญิงอะคะชิ พบหน้ากันครั้งแรก
  • เริ่มเตรียมงานฉลองวันเกิดครบรอบ 40 ปีของเกนจิ
  • ฤดูใบไม้ร่วง เก็นจิ ได้ยศ ไดโจ เทนโน เที่ยบเท่ากับ องค์จักรพรรดิที่สละราชย์
  • โทโนะจูโจ ขึ้นเป็นไดโจไดจิน ยูงิริ ได้ตำแหน่ง จูนากอน
  • หลังวันที่ 20 ตุลาคม จักรพรรดิเรย์เซย์ และ อดีตจักรพรรดิสุซาคุ เสด็จมาหาเก็นจิที่คฤหาสน์โรคุโจ ขณะนี้เก็นจิก้าวสู่ความรุ่งเรืองที่สุดในชีวิต
  • อดีตจักรพรรดิสุซาคุประชวรหลังเสด็จเยี่ยมเก็นจิที่โรคุโจ
34.วะกะนะ ภาคต้น ยอดอ่อน ภาคต้น
  • ราวปลายปี พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ( 13-14ปี) พระธิดาในอดีตจักรพรรดิสุซาคุ เข้าพิธีโมะงิ
  • 3 วันต่อมา อดีตจักรพรรดิสุซาคุออกผนวช ทรงฝากฝัง พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ไว้ในความดูแลของเก็นจิในฐานะภรรยาเอก
40 ปี
  • วันที่ 23 เดือนมกราคม ทามะคัทสึระ มอบยอดอ่อน เป็นของขวัญครบรอบอายุ 40 ปีให้เก็นจิ
  • ประมาณวันที่ 10 เดือนกุมพาพันธ์ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะย้ายมาพำนักในคฤหาสน์โรคุโจ และทำพิธีอภิเษกกับเก็นจิ
  • ปลายเดือนกุมพาพันธ์ อดีตจักรพรรดิสุซาคุเสด็จออกจำพรรษาที่วัดในภูเขา
  • เก็นจิพบกัยโอะโบะโระซึกิโยะอีกครั้ง
  • ฤดูร้อน พระชายาอะคะชิ ( บุตรีของเกนจิ ) ตั้งครรภ์ จึงลาจากวังมาพำนักที่คฤหาสน์โรคุโจชั่วคราว
  • เดือนตุลาคม มุราซากิบำเพ็ญกุศลสร้างพระพุทธรูป พระยาคุชิซึ่งมีคุณด้านสุขภาพ เนื่องในโอกาสวันเกิด 40 ปีของเก็นจิ
  • วันที่ 23 เดือนตุลาคม มีงานสังสรรค์ที่คฤหาสน์นิโจ
  • หลังวันที่ 20 เดือนธันวาคม อากิโคโนมุ จัดเขียนพระสูตรถวายวัดทั้ง 7 ในนารา เนื่องในโอกาสที่เก็นจิครบรอบอายุ 40 ปี
  • จักรพรรดิเรย์เซย์จัดงานเฉลิมฉลองในโอกาสที่เก็นจิครบรอบอายุ 40 ปี ยูงิริได้ยศเป็น อุไดโช
41 ปี
  • พิธีทำบุญครั้งใหญ่สวดอ้อนวอนให้พระชายาอะคะชิคลอดอย่างปลอดภัยเริ่มขึ้น
  • ราววันที่ 10 มีนาคม พระชายาอะคะชิคลอดพระโอรส ซึ่งต่อมาจะขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร
  • นักบวชแห่งอะคะชิ ส่งจดหมายถึง ท่านหญิงอะคะชิผู้เป็นบุตรสาว ก่อนจะธุดงค์หายสาบสูญไปในภูเขา
  • เดือนมีนาคม มีการจัดการเล่นเคะมาริ ( คล้ายการเล่นตะกร้อ ) ที่คฤหาสน์โรคุโจ คะชิวะงิ ( 25-26ปี) ผู้เป็นบุตรชายคนโตของ โทโนะจูโจ ได้เห็นโฉมพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ แล้วลุ่มหลงปรารถนาในตัวพระธิดาอย่างมาก
35.วะกะนะ ภาคปลาย ยอดอ่อน ภาคปลาย
  • ปลายเดือนมีนาคม มีการแข่งขันยิงธนูที่คฤหาสน์โรคุโจ
  • เจ้าชายโฮะตะรุเริ่มมีความสัมพันธ์ฉันท์ชู้สาวกับมะคิบะชิระ บุตรีของฮิเงะคุโระ และ ภรรยาเอกของเขา ( เป็นพี่น้องต่างมารดาของ มุราซากิ )
42-45 ปี

เป็นช่วงที่ไม่ได้กล่าวถึงในท้องเรื่อง

46 ปี
  • จักรพรรดิเรย์เซย์สละราชสมบัติหลังจากครองราชย์ได้ 18 ปี เจ้าชายรัชทายาท ( พระโอรสของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ ) ขึ้นครองราชย์สืบต่อ และพระโอรสระหว่าง เจ้าชายรัชทายาท ( พระโอรสของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ ) กับ พระชายาอะคะชิ ขึ้นเป็น มกุฎราชกุมาร โทโนะจูโจรับตำแหน่งไดโจไดจิน ฮิเงะคุโระจากเดิมเป็นอุไดโช เลื่อนตำแหน่งเป็น อุไดจิน ยูงิริควบตำแหน่งไดนะกอนและสะไดโช
  • วันที่ 20 เดือนตุลาคม เก็นจิเดินทางไปสักการะศาลเจ้าสุมิโยชิเพื่อทดแทนพระคุณ พร้อมกันมุราซากิ พระชายาอะคะชิ ท่านหญิงอะคะชิ และมารดาของนาง
  • พระธิดาอนนะซังโนะมิยะได้เลื่อนพระฐานันดร เพื่อกดดันให้เก็นจิให้ความสำคัญกับนางเหนือกว่ามุราซากิ
47 ปี
  • เตรียมการเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ชันษาของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ
  • เก็นจิฝึกฝนให้พระธิดาอนนะซังโนะมิยะเล่น คินโนะโกโตะ
  • 19 มกราคม ภรรยาทั้ง 3 ของเก็นจิประกอบด้วย มุราซากิ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ท่านหญิงอะคะชิ และบุตรีของเก็นจิ องค์หญิงอะคะชิ แสดงการบรรเลงสังคีตร่วมกัน ณ คฤหาสน์โรคุโจ
  • มุราซากิป่วย เนื่องจากความสะเทือนใจสะสมจากการที่เก็นจิอภิเษกกับพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ พิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ชันษาของอดีตจักรพรรดิสุซาคุถูกเลื่อน
  • เดือนมีนาคม เก็นจิย้ายมุราซากิไปพักฟื้นที่คฤหาสน์นิโจ
  • คะชิวะงิได้อภิเษกกับพระธิดาโอะจิบะ พระธิดาองค์ที่ 2 ( พระธิดานิโนะมิยะ ) ของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ
  • ราววันที่ 10 เดือนเมษายน คะชิวะงิลอบเข้าหาพระธิดาอนนะซังโนะมิยะสำเร็จ โดยการนำทางของโคะจิจูบ่าวรับใช้ของพระธิดาเอง และมีความสัมพันธ์กับพระธิดา
  • เดือนมิถุนายน อาการมุราซากิทุเลาขึ้นเล็กน้อย เก็นจิอนุญาตให้นางรับศีลได้ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะตั้งครรภ์ลูกของคะชิวะงิ
  • โอะโบะโระซึกิโยะออกบวชเป็นชี
  • พระชายาอะคะชิ กำเนิดพระโอรสอีกองค์ ต่อมาได้ขนานนามว่า องค์ชาย นิโออุ
  • เก็นจิจับได้ว่า ที่แท้พระธิดาอนนะซังโนะมิยะตั้งครรภ์ลูกของคะชิวะงิ มิใช่ลูกของเขา
  • ราววันที่ 10 เดือนธันวาคม จัดการซ้อมงานพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ชันษาของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ เก็นจิเชิญคะชิวะงิมาร่วมงาน เขากดดัน จนคะชิวะงิป่วยเนื่องจากความสำนึกผิด
  • วันที่ 25 เดือนธันวาคม มีพิธีเฉลิมฉลองครบรอบ 50 ชันษาของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ
36.คะชิวะงิ 48 ปี
  • ฤดูใบไม้ผลิ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะให้กำเนิดบุตรชายของคะชิวะงิ แต่ไม่มีใครรู้ความจริงเรื่องนี้นอกจากเก็นจิ ,คะชิวะงิ และ โคะจิจู เด็กชายคนนั้น มีกลิ่นกายหอมมาแต่กำเนิด ได้รับการเรียกขานว่า คาโอรุ
  • พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ออกบวชเป็นชี
  • คะชิวะงิป่วยหนักปางตาย เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นกอนไดนะกอน ในขณะที่นอนป่วยหนัก และตายในเวลาต่อมา
  • เดือนมีนาคม ฉลองครบรอบ 50 วันของ คาโอรุ
  • เดือนเมษายน ยูงิริ เริ่มไปแวะเวียนเยี่ยมเยียน พระธิดาโอะจิบะ ภรรยาม่ายของคะชิวะงิ
37.โยะโคะบุเอะ ขลุ่ยแทนตัว 49 ปี
  • ฤดูใบไม้ผลิ เก็นจิและยูงิริ ทำบุญครบรอบวันตายของคะชิวะงิ
  • ฤดูใบไม้ร่วง ยูงิริ ไปเยี่ยม พระธิดาโอะจิบะและมารดาของนาง มารดาของพระธิดาโอะจิบะมอบขลุ่ยของคะชิวะงิที่เป็นของโบราณ ซึ่งคะชิวะงิได้มาเพราะฝีมือในเชิงขลุ่ยที่ยอดเยี่ยม ให้แก่ยูงิริ
  • ยูงิริฝันว่า คะชิวะงิ ไม่อยากให้ขลุ่ยตกเป็นของยูงิริ แต่อยากให้ไปถึงมือทายาทมากกว่า ( หมายถึง คาโอรุ )
38.สุซุมุชิ จักจั่นเรไรร้อง 50 ปี
  • ฤดูร้อน มีพิธีประดิษฐานพระประธาน ณ เรือนส่วนของพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ เก็นจิเขียนพระไตรปิฎกด้วยลายมือตัวเองทั้งหมดให้พระธิดา
  • ฤดูใบไม้ร่วง มีการปล่อยจักจั่นเรไรสู่สวนในเขคเรือนพำนักของพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ
  • วันที่ 15 เดือนสิงหาคม จัดงานฉลองวันจันทร์เต็มดวง
  • อากิโคโนมุ จัดพิธีบำเพ็ญกุศลใหญ่อุทิตให้ อดีตพระชายาแห่งโรคุโจ มารดาผู้ล่วงลับของนาง
39.ยูงิริ หมอกยามสนธยา
  • มารดาของพระธิดาโอะจิบะ และพระธิดา ย้ายไปพำนักที่คฤหาสน์ในภูเขาแถบโอโนะ เนื่องจากมารดาของพระธิดาโอะจิบะ ป่วย
  • กลางเดือนสิงหาคม ยูงิริ เดินทางไปเยี่ยมถึงโอโนะ และเผยว่าเขา สนใจในตัวพระธิดา
  • มารดาของพระธิดาโอะจิบะตาย
  • ยูงิริ นำตัวพระธิดาโอะจิบะที่ประสงค์จะบวชเป็นชี มาพำนักยังคฤหาสน์อิจิโจบ้านเดิมของนางที่ยูงิริจัดการบรูณะจนงดงาม และใช้ชีวิตฉันท์สามีภรรยา ทางด้าน คุโมะอิ โนะ คาริ ภรรยาคนแรก ได้ยินข่าวก็เกิดความหึงหวง หนีกลับไปบ้านของบิดา ( โทโนะจูโจ )
40.มิโนะริ วัฏสงสาร 51 ปี
  • สุขภาพของมุราซากิยังคงอ่อนแอ ตั้งแต่ป่วยหนักคราวที่แล้ว นางต้องการจะบวชเป็นชี แต่เก็นจิไม่อนุญาต
  • วันที่ 10 มีนาคม มุราซากิ ทำบุญบริจาคพระสัทธรรมปุณฑรีกสูตร 1,000 เล่ม ณ คฤหาสน์นิโจ
  • ฤดูร้อน พระจักรพรรดินีอะคะชิ ( บุตรีของเกนจิ ) เสด็จ เยี่ยม มุราซากิ
  • วันที่ 14 สิงหาคม มุราซากิตาย
  • วันที่ 15 สิงหาคม งานศพของมุราซากิ เก็นจิสะสางเรื่องราวต่างๆ เตรียมตัวเพื่อละจากโลกีย์วิสัย
41.มะโบะโระชิ ผ่านภพ 52 ปี
  • ฤดูใบไม้ผลิ เก็นจิยังคงเก็บตัวไว้ทุกข์ให้มุราซากิภรรยาที่รักยิ่ง
  • วันที่ 14 เดือนสิงหาคม ครบรอบการตายของมุราซากิ
  • เดือนธันวาคม เก็นจิเตรียมออกบวช

คุโมะกะคุเระ (雲隠, Kumogakure ) "Vanished into the Clouds" ลับหายไปในม่านเมฆ

ช่วงนี้เป็นเพียงหน้าว่างระหว่างการเชื่อมต่อไปสู่ภาค อุจิจูโจ เป็นช่วงเวลาห่างกัน 8 ปี ดูเหมือนว่าเก็นจิได้ใช้ชีวิตเป็นพระถือศีลจำวัดในวัดของเขาใน ซางะ เป็นเวลาประมาณ 2-3 ปี ก่อนที่จะเสียชีวิต และในช่วง 8 ปีนี้ ทั้ง ของอดีตจักรพรรดิสุซาคุ ,องค์ชายโฮะตะรุ , โทโนะ จูโจ และ ฮิเงะคุโระ ได้สิ้นชีวิตไปทั้งหมดแล้ว

ภาคอุจิจูโจ

[แก้]

อุจิจูโจ ( 宇治十帖 : Uji JuuJou : The Ten Books of Uji)

ดูรายละเอียด อุจิจูโจ เพิ่มเติมได้ที่ อุจิจูโจ


เป็นเหตุการณ์หลังจากที่เก็นจิตายไปแล้ว ตัวเอกของเรื่องในภาค อุจิ นี้คือ คาโอรุ ผู้เป็นบุตรชายที่เกิดจากความสัมพันธ์ต้องห้ามระหว่าง คะชิวะงิ ( บุตรชายคนโตของ โทโนะจูโจ และเพื่อนสนิทของ ยูงิริ ) กับ พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ( พระธิดาองค์ที่ 3 ของอดีตจักรพรรดสุซาคุ และเป็นภรรยาเอกของเก็นจิ ) ได้รับการเลี้ยงดูและใช้ชีวิตในฐานะลูกชายคนสุดท้องของเก็นจิ ตัวคาโอรุเองไม่ล่วงรู้ความลับนี้ แต่ก็สงสัยในชาติกำเนิดตัวเอง เพราะมารดา ( พระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ) ออกบวชชีตั้งแต่ยังสาว และที่เขาได้รับการขนานนามว่า คาโอรุ เป็นเพราะเขามีกลิ่นกายหอมติดตัวมาแต่กำเนิดนั่นเอง

ลำดับเหตุการณ์ในเรื่องช่วงเปลี่ยนผ่านและภาคอุจิจูโจ

บทที่ ช่วงอายุของ คาโอรุ เหตุการณ์
42.นิโออุ มิยะ องค์ชายนิโออุ พระสุคนธ์กรุ่นกำจาย 14 ปี
  • เดือนกุมพาพันธ์ คาโอรุเข้าพิธีเกมปุกุ เขาได้ยศเป็น จิจู ได้ระดับขั้นขุนนางระดับ 4
44.ทาเคะคาวา ทิวไผ่สายน้ำ
  • ฤดูใบไม้ร่วง คาโอรุเลื่อนยศเป็น จูโจ
15 ปี
  • วันที่ 1 มกราคม ยูงิริ ( 41 ) และ ลูกๆ ไปเยี่ยม ทามะคัทสึระ (48 )
  • ในช่วงเย็นของวันเดียวกัน คาโอรุ เข้าเยี่ยม ทามะคัทสึระ
  • หลังวันที่ 20 มกราคม คาโอรุไปพบบุตรชายคนที่ 3 ของ ทามะคัทสึระ และมีงานสังสรรค์ชมดอกเหมยแดงต่อที่คฤหาสน์ของคามะคัทสึระนั่นเอง
  • เดือนมีนาคม คุโรโดะ โนะ โชโช (บุตรชายคนที่ 6 ของยูงิริ) ลอบแอบมองบุตรีทั้งสองของทามะคัทสึระเล่นโกะ ด้วยคุโรโดะ โนะ โชโช เฝ้าหมายปองหลงรักบุตรสาวคนโตของทามะคัทสึระอยู่
  • วันที่ 9 เดือนเมษายน บุตรสาวคนโตของทามะคัทสึระอภิเษกกับ อดีตจักรพรรดิเรย์เซย์ ( บุตรชายลับๆของเกนจิกับมารดาเลี้ยง พระชายาฟุจิทสึโบะ ) คุโรโดะ โนะ โชโช ซอกช้ำกับความรักที่ไม่สมหวัง
  • เดือนกรกฎาคม บุตรสาวคนโตของทามะคัทสึระตั้งครรภ์
16 ปี
  • วันที่ 14 มกราคม มีการจัดพิธีสวดมนต์โดยคณะชายล้วน และ การแสดงบรรสังคึต เบื้องหน้าพระพักตร์อดีตจักรพรรดิเรย์เซย์
  • เดือนเมษายน บุตรสาวคนโตของทามะคัทสึระคลอดบุตรออกมาเป็นหญิง
  • บุตรสาวคนรองของทามะคัทสึระเข้ารับราชการในตำหนักใน
42.นิโออุ มิยะ องค์ชายนิโออุ พระสุคนธ์กรุ่นกำจาย
  • ทั้งองค์ชายนิโออุ และ คาโอรุ ต่างเป็นคู่คนหนุ่มรูปงามแห่งยุค มักจะแข่งขันประชันกันและกันอยู่เสมอ อีกทั้งยังเป็นสหายกันด้วย ด้วยคาโอรุนั้น มีกลิ่นกายหอมติดตัวมาแต่กำเนิด องค์ชายนิโออุจึงมักจะแข่งขันประชันด้วยการอบร่ำเครื่องทรงด้วยเครื่องหอมเพราะจะได้มีกลิ่นหอมเทียบเทียมกับ คาโอรุ จนได้รับขนามนามว่า นิโออุ
19 ปี
  • คาโอรุได้รับการเลื่อนเป็นขุนนางระดับ 3 และได้ยศ ไซโชโนะจูโจ
20 ปี
  • ยูงิริจัดงานเลี้ยงสังสรรค์ที่คฤหาสน์โรคุโจ
45.ฮะชิฮิเมะ เทพธิดาแห่งสะพานอุจิ 22 ปี
  • ปลายฤดูใบไม้ร่วง ฮะจิโนะมิยะ (องค์ชายแปด) ผู้พำนักที่อุจิ ออกจากคฤหาสน์ไปจำศีล คาโอรุเดินทางไปหาฮะจิโนะมิยะ เสมอๆ เพื่อศึกษาพระธรรม คราวนี้จึงสวนทางไม่ได้พบกัน แต่คาโอรุกลับได้เห็นโฉมของบุตรีทั้ง 2 ของฮะจิโนะมิยะ โออิงิมิ (24) และ นาคาโนะคิมิ (22) เพราะเขาได้ยินเสียงบิวะและโคะโตะบรรเลงเพลงอย่างเพราะพริ้ง จึงลอบแอบมอง
  • ในคืนนั้น เขาได้ฟังความลับจาก เบน หญิงชราบ่าวของฮะจิโนะมิยะ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกับ โคะจิจู บ่าวของพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ เบนรู้ความจริงเพราะก่อนตาย คะชิวะงิ เล่าความจริงให้นางฟัง
  • คาโอรุกลับไปยังเมืองหลวง เขาเล่าเรื่องสาวงามแห่งอุจิให้องค์ชายนิโออุฟัง
  • วันที่ 5 หรือ 6 ของเดือนตุลาคม เขาไปเยี่มฮะจิโนะมิยะ และได้เล่นดนตรีร่วมกัน เบนเล่าความลับเรื่องชาติกำเนิดของคาโอรุทั้งหมดให้ให้คาโอรุฟัง
46.ชิอิ งะ โมะโตะ ไม้ใหญ่ตายจาก 23 ปี
  • 20 กุมพาพันธ์ องค์ชายนิโออุ เสร็จไปไหว้พระที่วัดฮะเสะเดระ ขากลับทรงแวะพักผ่อนที่อุจิ
  • คาโอรุแวะเยี่มฮะจิโนะมิยะ
  • องค์ชายนิโออุ ส่งสาสน์เกี้ยวถึงนาคาโนะมิยะ 2 ครั้ง
  • ฤดูใบไม้ร่วง คาโอรุเลื่อนเป็น จูนะกอน ,โควไบ ( บุตรชายของโทโนะจูโจ ) ควบตำแหน่ง อุไดจิน และ สะไดโช , บุตรชายคนที่ 6 ของยูงิริ เลื่อนเป็น ไซโชโนะจูโจ
  • กลางฤดูใบไม้ร่วง ฮะจิโนะมิยะออกไปถือศีล
  • หลังวันที่ 20 เดือนสิงหาคม ฮะจิโนะมิยะ ตาย
  • ฤดูหนาว องค์ชานนิโออุ ไปเยือนอุจิบ่อยครั้งมาก
  • ปลายปี คาโอรุ ไปอุจิ และสารภาพรักกับโออิงิมิ
43.โควไบ เหมยแดง 24 ปี
  • ฤดูใบไม้ผลิ บุตรสาวคนโตของโควไบเข้าถวายตัวเป็นพระชายาในมกุฎราชกุมาร
46.ชิอิ งะ โมะโตะ ไม้ใหญ่ตายจาก
  • คฤหาสน์ของพระธิดาอนนะซังโนะมิยะ ที่ซันโจถูกเพลิงไหม้ นางย้ายมาพำนักที่คฤหาสน์โรคุโจ
49.ยะโดะริงิ เถาไม้เลื้อย
  • พระมารดาของพระธิดาองค์ที่ 2 ในจักรพรรดิรัชกาลปัจจุบันสิ้น พิธีโมะงิของของพระธิดาองค์ที่ 2จึงเลื่อนออกไป
  • จักรพรรดิ ยกพระธิดาองค์ที่ 2 ให้อภิเษกกับ คาโอรุ
47.อะเงะมะกิ ปมรัก
  • ฤดูใบไม้ร่วง ครบรอบวันตายของฮะจิโนะมิยะ คาโอรุพยายามเข้าหา โออิงิมิ เพื่อรวบรัดความสัมพันธ์ แต่นางก็หลบเลี่ยงไปได้
  • 28 เดือนสิงหาคม คาโอรุและองค์ชายนิโออุ เยือนอุจิ โดยวางแผนรวบรัดสามงามทั้งสองคน โออิงิมิหลบเลี่ยงคาโอรุสำเร็จอีกครั้ง ทว่านาคาโนะคิมิตกเป็นขององค์ชายนิโออุ
  • วันที่ 1 เดือนตุลาคม คาโอรุและองค์ชายนิโออุ เยือนอุจิเพื่อชมใบไม้แดง แต่ด้วยความจำเป็นองค์ชายนิโออุ จึงไม่สามารถแวะไปพบกับนาคาโนะคิมิได้
  • มีการเจรจาเรื่องงานอภิเษกระหว่างธิดาคนที่ 6 ของยูงิริ กับ องค์ชานนิโออุ จักรพรรดินี ทรงดัดนิสัยเจ้าชู้ไปทั่วขององค์ชายนิโออุด้วยการสั่งกักบริเวณให้อยู่แต่ในวัง
  • โออิงิมิล้มป่วยด้วยความเป็นห่วงอนาคตของนาคาโนะคิมิ น้องสาว คาโอรุรุดไปเยี่ยมไข้นาง
  • เดือนพฤศจิกายน นาคาโนะคิมิ เศร้าโศกเสียใจ และคิดว่า องค์ชายนิโออุได้ตัวนางแล้วกลับทิ้งขว้างไม่ใยดี
  • คาโอรุไปเฝ้าไข้ โออิงิมิที่อาการทรุดหนักเพราะเป็นห่วงนาคาโนะคิมิ อีกครั้ง เขาพำนักอยู่ที่อุจิในช่วงนั้นโดยไม่กลับเมืองหลวง
  • โออิงิมิตาย มีการจัดงานศพ คาโอรุยังคงอยู่ที่อุจิ ยุ่งกับการจัดพิธีกรรมทางศาสนา และ ศึกษาพระธรรม
  • เดือนธันวาคม องค์ชายนิโออุ เสด็จเยือนอุจิ เขาเตรียมพาตัวนาคาโนะคิมิ ไปพำนักในฐานะภรรยาที่ตำหนักนิโจ ( มุราซากิ มอบ คฤหาสน์ นิโจ ที่เกนจิเลี้ยงดูนางมาที่นั่น เป็นมรดกให้ องค์ชานนิโออุ ผู้เป็นหลานชายคนโปรด )
48.สะวะระบิ ยอดเฟิร์น 25 ปี
  • วันที่ 7 กุมพาพันธ์ นาคาโนะคิมิย้ายไปอาศัยที่ตำหนักนิโจ
  • หลังวันที่ 20 เดือนกุมพาพันธ์ โรคุโนะคิมิ ( บุตรีคนที่ 6 ของ ยูงิริ ) เข้าพิธีโมะงิ
  • คาโอรุย้ายไปอยู่ที่คฤหาสน์ที่สร้างขึ้นใหม่หลังเพลิงไหม้แถบซันโจ
  • เดือนพฤษภา นาคาโนะคิมิ ตั้งครรภ์
  • วันที่ 16 เดือนสิงหาคม องค์ชายนิโออุ อภิเษกกับ โรคุโนะคิมิ
  • นาคานะคิมิช้ำใจจากความเจ้าชู้ขององคฺชายนิโออุ อ้อนวอนให้คาโอรุพานางกลับอุจิ องค์ชายนิโออุแคลงใจในความสัมพันธ์ระหว่างคาโอรุกับนาคาโนะคิมิ
  • คาโอรุเข้าเยี่ยม นาคาโนะคิมิ นางเปิดเผยกับคาโอรุเป็นครั้งแรกว่า มีน้องสาวต่างมารดา 1 คน นามว่า อุกิฟุเนะ
  • หลังวันที่ 20 เดือนกันยายน คาโอรุไปที่อุจิ และตั้งใจจะดัดแปลงคฤหาสน์ของฮะจิโนะมิยะให้เป็นวัด เขาถามเบนถึงเรื่องอุกิฟุเนะ
  • คาโอรุส่งใบไม้แดงจากอุจิให้นาคาโนะคิมิ นิโออุยิ่งระแวงสงสัยมากขึ้น
26 ปี
  • วันที่ 1 กุมพาพันธ์ คาโอรุได้ควบตำแหน่ง กอนไดนะกอน และอุไดโช นาคาโนะคิมิคลอดบตรชายของ องค์ชายนิโออุ
  • หลังวันที่ 20 เดือนกุมพาพันธ์ พระธิดาองค์ที่ 2 เข้าพิธีโมงิ และ อภิเษกกับคาโอรุ ในวันถัดมา
  • วันสุดท้ายของเดือนมีนาคม พระธิดาองค์ที่ 2 ทรงจัดงานเลี้ยงชมดอกฟุจิที่ตำหนักฟุจิทสึโบะ และย้ายเข้าพำนักในคฤหาสน์ของคาโอรุที่ถนนซันโจ
  • หลังวันที่ 20 เดือนเมษายน คาโอรุไปอุจิเพื่อดูความคืบหน้าของวัดแห่งใหม่ อุกิฟุเนะถึงอุจิ หลังจากกลับจากไปไหว้พระที่วัดฮาเสะเดระ คาโอรุ ลอบมองนาง
50.อะซุมะยะ กระท่อมน้อย
  • งานแต่งงานระหว่าง อุกิฟุเนะ กับ ขุนนางยศโชโช คนหนึ่ง ถูกล้มเลิกไป
  • มารดาของอุกุฟุเนะ ขอร้องให้ นาคาโนะคิมิ อุปถัมป์ดูแลอุกิฟุเนะ นาคาโนะคิมิตั้งใจจะยกอุกิฟุเนะให้คาโอรุ องค์ชายนิโออุเกิดพบกับอุกิฟุเนะ และตามเกี้ยวนาง
  • ฤดูใบไม้ร่วง วัดที่อุจิได้สร้างเสร็จสมบรูณ์ คาโอรุไปนั่น และขอให้เบนเป็นแม่สื่อให้เขากับอุกิฟุเนะ
  • วันที่ 13 เดือนกันยายน คาโอรุรับตัวอุกิฟุเนะจากตำหนักนิโจไปที่อุจิ
51.อุกิฟุเนะ เรือน้อยลอยเคว้งบนเกลียวคลื่น 27 ปี
  • ปลายเดือนมกราคม องค์ชายนิโออุตามอุกิฟุเนะไปที่อุจิ และหลับนอนกับนางโดยแสร้งว่าเขาคือคาโอรุ
  • คาโอรุเตรียมจะพาอุกิฟุเนะไปเมืองอื่นภายในเดือนเมษายน
  • ราววันที่ 10 เดือนกุมพาพันธ์ มีการประมวลโคลงกลอนจีนที่พระราชวัง วันต่อมา องค์ชายนิโออุไปที่อุจิ แล้วอยู่กับอุกิฟุเนะที่นั่น 2 วันในคฤหาสน์ของตนที่อยู่อีกฝั่งของแม่น้ำอุจิ เขาพยายามจะพานางไปที่น้ำหนักของเขาในเมืองหลวงก่อนที่คาโอรุจะพานางไปต่างเมือง คาโอรุจับได้ว่า จึงวางกำลังเฝ้าป้องกันไม่ให้องค์นิโออุลอบเข้าหาอุกิฟุเนะได้อีก
  • อุกิฟุเนะสันสนเสียใจที่ต้องอยู่ท่ามกลางการแย่งชิงกันระหว่างชายสองคน นางตัดสินใจกระโดดแม่น้ำอุจิ หวังฆ่าตัวตาย
  • นิโออุหมายจะไปหาอุกิฟุเนะที่อุจิ แต่ถูกขัดขวางจากคนของคาโอรุ
52.คะเงะโรว ชีวิตแสนสั้น
  • อุกิฟุเนะหายสาบสูญไป มีการจัดพิธีศพโดยไร้ร่าง
53.เทะนะไร ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
  • สาธุคุณ โยคาวะ ไปธุดงค์ที่อุจิ แล้วพบหญิงสาวนอนสลบอยู่ใต้ต้นไม้ริมแม่น้ำอุจิ เขาช่วยชีวิตนางแล้วพานางไปอาศัยกับมารดาของเขาที่โอโนะ ตีนเขาฮิเอย์
52.คะเงะโรว ชีวิตแสนสั้น
  • คาโอรุและนิโออุทราบเรื่องอุกิฟุเนะฆ่าตัวตาย ต่างคนต่างไว้ทุกข์ให้นาง
  • คาโอรุจัดทำบุญครบรอบ 49 วันให้นาง
  • จักรพรรดินีจัดงานบุญใหญ่ที่คฤหาสน์โรคุโจ
53.เทะนะไร ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
  • วันที่ 4 เดือนพฤษภาคม มีการปัดเป่าวิญญาณร้ายออกจากร่างอุกิฟุเนะ นางเริ่มรู้สึกตัวมีสติขึ้นมา
  • ฤดูใบไม้ร่วง ขุนนางตำแหน่ง จูโจ คนนึง ที่เคยแต่งงานกับลูกสาวที่ล่วงลับของน้องสาว ( บวชเป็นชี ) ของสาธุคุณ โยคาวะ มาที่โอโนะ และได้เห็นอุกิฟุเนะ เขาตามเกี้ยวพานาง แต่นางหลบเลี่ยงไม่พบหน้า
  • เดือนกันยายน อุกิฟุเนะ สิ้นหวังและ ต้องการมีอิสระ พ้นจากเรื่องทางโลก นางออกบวชเป็นชี
  • สาธุคุณ โยคาวะ บอกเล่าเรื่อง อุกิฟุเนะ ให้จักรพรรดินีฟัง
28 ปี
  • คาโอรุจัดทำบุญครบรอบวัน (ที่คาดว่า) อุกิฟุเนะตาย
54.ยุเมะ โนะ อุกิฮะชิ สะพานผ่านฝัน
  • จักรพรรดินีบอกคาโอรุว่า อุกิฟุเนะยังมีชีวิตอยู่ คาโอรุเดินทางไป โยคาวะ ตามที่ท่านสาธุคุณบอกไว้ ว่า อุกิฟุเนะ อยู่ที่นั่น
  • คาโอรุตามหาจนเจออุกิฟุเนะ เขาส่งสาส์นให้นาง แล้วกลับสู่เมืองหลวง วันต่อมาให้น้องชายต่างบิดาของนางส่งสาส์นให้นาง แต่อุกิฟุเนะปฏิเสธที่จะพบหน้าน้องชาย และไม่ยอมตอบสาส์นของคาโอรุด้วย เด็กชายกลับเมืองหลวงไปมือเปล่า ยังความโศกเศร้าให้คาโอรุเป็นอย่างยิ่ง
จบบริบรูณ์

แผนภูมิความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องตำนานเก็นจิตั้งแต่บทที่ 1 ถึง 41

[แก้]

โดย john.r.wallace[6]



ต้นฉบับของตำนานเกนจิ [7]

[แก้]
ต้นฉบับคะวะจิ-บอง ที่เก่าแก่ที่สุดในปัจจุบัน

ปัจจุบันไม่มีต้นฉบับที่เขียนด้วยมือของ มุราซากิ ชิคิบุ หลงเหลืออยู่แล้ว ตำนานเกนจิ เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ข้าราชสำนักในพระราชวังของเฮอันเคียวในเวลาที่มุราซากิ ชิคิบุ เขียนอยู่ และมีการคัดลอกต้นฉบับออกมาอย่างกว้างขวาง

ราว 200 ปีต่อมา ต้นยุคคะมะคุระ ( Kamakura ) ศตวรรษที่ 13 กวีชื่อ ฟุจิวาระ โนะ เทย์กะ ( Fukiwara no Teika ) ได้จัดรวบรวมเนื้อหาทั้ง 54 บทจากต้นฉบับที่กระจัดกระจายหลายชิ้น แล้วเรียกว่า อะโอะเบียวชิ-บอง ( Aobyoshi-Bon หนังสือปกสีฟ้า) โดยเรียกชื่อจากสีของปกหนังสือ

ตำนานเกนจิ ที่เราอ่านกันในปัจจุบันมาจากต้นฉบับที่ชื่อว่า โอะชิมะ-บอง ( Oshima-Bon) ซึ่งเป็นสายหนึ่งของ อะโอะเบียวชิ-บอง

กลางสมัยคามาคุระ ( กลางศตวรรษที่ 13 ) มินาโมโตะ โนะ มิทสึยุกิ ( Minamoto no Mitsuyuki ) และบุตรชายทำการสะสางต้นฉบับใหม่ รู้จักกันในนาม คะวะจิ-บอง ( Kawachi-Bon ตำราคะวะจิ ) ต้นฉบับที่ทำใหม่นี้ นิยมอ่านกันอย่างกว้างขวางจนถึงกลางสมัยยุคมุโระมะจิ ( Muromachi ปลายศตวรรษที่ 15 ) แต่ในที่สุดก็ค่อยๆสูญหายไป

ม้วนภาพตำนานเก็นจิ

[แก้]
ต้นฉบับในม้วนภาพตำนานเก็นจิ
ภาพจากม้วนภาพตำนานเก็นจิ ตอน โยะโมะงิอุ จาก พิพิธภัณฑ์ศิลปะโตคุกาวะ

ม้วนภาพ หรือ ภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า เอะมะกิ (絵巻 emaki) ของตำนานเกนจินั้น เริ่มวาดกันขึ้นมาตั้งแต่ปลายยุคเฮอัน ( ราว ต้นคตวรรษที่ 12 ) เป็นม้วนภาพตำนานเก็นจิที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในญี่ปุ่น ปัจจุบัน 15 ภาพ และมีหน้าต้นฉบับตัวหนังสือ 28 แผ่น ประกอบด้วยร้อยแก้วจาก จากบท โยะโมะงิอุ เซะกิยะ เอะอะวะเสะ คะชิวะงิ โยโคบุเอะ ทาเคะคะวา ฮะชิฮิเมะ สะวะระบิ ยะโดะริงิ และ อะซุมะยะ เก็บรักษาอยู่ใน พิพิธภัณฑ์ศิลปะโตคุกาวะ ( Tokugawa Art Museum ) และอีก 4 ภาพ และมีหน้าต้นฉบับตัวหนังสือ 9 แผ่น ประกอบด้วยร้อยแก้วจาก จากบท สุซุมุชิ ยูงิริ และ มิโนะริ เก็บรักษาอยู่ใน คลังพิพิธภัณฑ์โกโต ( Gotoh Museum House ) แต่ละชิ้นล้วนแต่ถือเป็นสมบัติแห่งชาติของญี่ปุ่น คาดกันว่าม้วนภาพตำนานเก็นจิที่สมบรูณ์จะประกอบด้วยม้วนภาพราว 10 ม้วนจึงจะครอบคลุมทั้ง 54 บท

ตำนานเก็นจิกับสื่อต่างๆ

[แก้]

หนังสือฉบับแปลภาษาอังกฤษ

[แก้]

1. Tale of Genji (PAP) -US- Shikibu, Lady Murasaki / Suematsu, Kencho (TRN) / Publisher:Tuttle Pub Published 2006/11

2. The Tale of Genji (HRD) -US- Amano, Yoshitaka / Publisher:Dh Pr Published 2006/08

3. Tale of Genji (Seidensticker) ( ) -KI- Shikibu, Murasaki / Publisher:Tuttle Publishing Published 1976/01 SGD80.25

4. Murasaki Shikibu : The Tale of Genji (Landmarks of World Literature) (PAP) 2ND Edition -US- Bowring, Richard / Publisher:Cambridge Univ Pr Published 2003/12

5. Tale of Genji (PAP) -US- Murasaki Shikibu / Publisher:Random House Published 1978/08

ภาพยนตร์

[แก้]
  • Genji monogatari (1966) [4]กำกับโดย Kon Ichikawa
  • Sennen no koi - Hikaru Genji monogatari ( 2001 ) [5]

ละครเพลง

[แก้]

แสดงโดยคณะละครเพลงหญิงล้วน TakarazukaRevue ในประเทศญี่ปุ่น

  • Wonderful Sundays / The Tale of Genji 「素晴らしき日曜日」「源氏物語」 (1957) (Moon,+1957)
  • Lived in A Dream: The Tale of Genji / The Beauties! ( あさきゆめみし -源氏物語- / ザ・ビューティーズ!) Year: 2000 (Flower,+2000)
  • The Tale of Genji - Lived in a Dream II - ( 源氏物語 あさきゆめみしII ) Year: 2007

[6]

  • Floating Bridge of Dreams / Apasionado!! ( 夢の浮橋 / Apasionado!!) Year: 2008-2009

(Moon+2008-09)


ภาพยนตร์การ์ตูน

[แก้]
  • Murasaki Shikibu's Tale of Genji ( movie 1987-12-19 ) [7]

running time: 110 minutes

  • Genji Monogatari Sennenki (TV 2009-01-15) [8]

Fuji television

หนังสือการ์ตูน

[แก้]
ฉบับแปลไทย
  • ด้วยเมฆหมอกแห่งรัก ( 1-13 ) แปลเป็นภาษาไทยจาก การ์ตูนฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง asakiyumemishi[9] เขียนโดย ยามาโตะ วากิ (Yamato Waki ) โดยมีเค้าโครงเรื่องดัดแปลงจาก ตำนานเก็นจิ แปลโดย บัณธิต ประสิษฐานุวงษ์ จัดพิมพ์โดย บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด ( มหาชน )
  • ตำนานรัก GENJI ( 1 ) [10] แปลเป็นภาษาไทยโดย พิมพ์ทรีย์ จาก การ์ตูนฉบับภาษาญี่ปุ่นเรื่อง Genji Monogatari เขียนโดย MIOU Serina โดยมีเค้าโครงเรื่องดัดแปลงจาก ตำนานเก็นจิ จัดพิมพ์โดย บริษัท บงกช พับลิชชิ่ง จำกัด

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Unesco Global Heritage Pavilion". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-09-13. สืบค้นเมื่อ 2009-01-15.
  2. "The thousand year anniversary of TALE OF GENJI"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-22. สืบค้นเมื่อ 2009-01-16.
  3. "" GENJI MLLENIUM Projects "". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-12. สืบค้นเมื่อ 2009-01-16.
  4. "เวปไซด์เป็นทางการของวัดอิชิยะมะ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-10. สืบค้นเมื่อ 2009-01-17.
  5. Edward G.Seidensticker, Introduction, Everyman's library, 1992, หน้า 7
  6. "Basic Relationships in The Tale of Genji though chapter 41". john.r.wallace.
  7. [Genji Monogatari Museum , Uji ,Japan]

ศึกษาเพิ่มเติม

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]