ข้ามไปเนื้อหา

ฮีป (โครงสร้างข้อมูล)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮีป
รูปแบบการเรียงตัวของฮีปทวิภาค (binary heap) โดยสมาชิกที่สำคัญกว่า (ในที่นี้เป็นฮีปมากสุดคือเลขที่มีค่ามากจะสำคัญ) จะอยู่ด้านบน
ความสำคัญของลำดับFIFO (First In First Out) แต่เรียงตามลำดับความสำคัญ
การซ้ำกันของสมาชิกอนุญาตให้ซ้ำกันได้
เวลาที่ใช้ในการเข้าถึงO(log n)
การทำให้ว่างทำให้ทุกตัวเป็น null
เวลาที่ใช้ทำให้ว่างO(n)

ฮีป (อังกฤษ: Heap) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่นำมาสร้างแถวคอยลำดับความสำคัญ (priority queue) รูปแบบหนึ่ง ซึ่งนิยมใช้กันมาก โดยฮีปที่สร้างขึ้นโดยอาศัยแนวคิดจากต้นไม้ทวิภาคใช้ชื่อว่า "ฮีปทวิภาค" (binary heap) ซึ่งยังมีการสร้างฮีปโดยอาศัยแนวคิดแบบอื่น ๆ ได้อีกเช่น ฟีโบนักชีฮีป (fibonacci heap) โดยฮีปทุกชนิดนั้นมีความสัมพันธ์เหมือนกันคือปมพ่อมีลำดับความสำคัญมากกว่าปมลูก

แนวคิดของฮีปนอกจากนำมาสร้างแถวคอยลำดับความสำคัญแล้ว ยังนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างโครงสร้างข้อมูลอื่นๆ เช่นทรีพ เป็นต้น

ลักษณะของฮีป

[แก้]

ฮีปเป็นต้นไม้ประเภทหนึ่งซึ่งจะจัดความสัมพันธ์ให้ปมพ่อ มีความสำคัญ(priority)มากกว่าปมลูก

ฮีปรูปแบบต่างๆ

[แก้]
  • ฮีปเติมเต็ม (completed heap) นอกจากที่จะเป็นฮีปแล้ว ยังเป็นต้นไม้เติมเต็ม(comleted tree)อีกด้วย ซึ่งฮีปประเภทนี้จะสามารถสร้างได้ด้วยแถวลำดับ
  • ฮีปน้อยสุด (least heap) เป็นฮีปที่แทนความสำคัญด้วยตัวเลข โดยตัวเลขยิ่งน้อยจะยิ่งมีความสำคัญมาก เมื่อเขียนในรูปต้นไม้จะเหมือนว่าปมพ่อจะมีเลขความสำคัญน้อยกว่าปมลูกเสมอ
  • ฮีปมากสุด (most heap) เป็นฮีปที่แทนความสำคัญด้วยตัวเลข โดยตัวเลขยิ่งมากจะยิ่งมีความสำคัญมาก เมื่อเขียนในรูปต้นไม้จะเหมือนว่าปมพ่อจะมีเลขความสำคัญมากกว่าปมลูก
  • ทรีพ (treap) เป็นโครงสร้างข้อมูลที่สร้างข้อมูลเสริมให้มีความสัมพันธ์แบบฮีป ส่วนข้อมูลหลักจะเรียงความสัมพันธ์แบบต้นไม้ค้นหาแบบทวิภาค

จุดเด่นของฮีป

[แก้]

ฮีปมีจุดเด่นในการเรียงลำดับในลักษณะต้นไม้ โดยเมื่อเรียงแล้วสมาชิกที่มีความสำคัญสูงสุดจะอยู่สูงสุดหรือเป็นราก ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่มีความสำคัญสูงได้ง่าย อีกทั้งการเรียงแบบต้นไม้ โดยเฉพาะฮีปเติมเต็มด้วยแล้ว จึงสามารถลดเวลาการเข้าถึงลงเป็น O(log n)

บริการที่มักจะมี

[แก้]

บริการนั้นจะเน้นบริการเดียวกับแถวคอยลำดับความสำคัญ

  • เพิ่มรายการแนบด้วยระดับไว้ในแถวคอย (enqueue)
  • ลบรายการที่มีความสำคัญสูงสุดและคืนค่านั้นกลับมา (prioritized dequeue)
  • ดึงค่ารายการที่มีความสำคัญสูงสุดโดยไม่ลบรายการนั้นออก (peek)

ความเร็วที่ใช้ในการทำงาน

[แก้]

จากการที่ฮีปเรียงตัวในลักษณะต้นไม้ โดยเฉพาะฮีปเติมเต็ม ทำให้ต้นไม้ที่ได้เป็นต้นไม้ประกันความสูง จึงเป็นการประกันการทำงานว่าอย่างมากจะใช้เวลา O(log n) และเข้าถึงข้อมูลที่สำคัญที่สุดได้ง่ายเพราะอยู่บนรากเป็นเวลาคงที่ O(1)

ประเภทข้อมูลที่ใช้สร้างฮีป

[แก้]

เนื่องจากฮีปเป็นต้นไม้จึงอาจสร้างในลักษณะปมของต้นไม้ได้ ซึ่งใช้ประเภทข้อมูลประเภทโครงสร้าง หรือวัตถุ อย่างไรก็ตาม โดยปกติสำหรับการสร้างแถวคอยลำดับความสำคัญเราจะสร้างแบบฮีปเติมเต็ม ซึ่งสามารถใช้ความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์ ทำให้เราสามารถใช้แถวลำดับในการสร้างฮีปเติมเต็มได้

ความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีของปมพ่อและปมลูกในแถวลำดับของฮีปเติมเต็ม

[แก้]

เมื่อเราแวะผ่านฮีปเติมเต็มตามความกว้าง(bread-first search)และเรียงเป็นแถวลำดับแล้ว เราจะได้ความสำคัญที่ว่าสำหรับสมาชิกดัชนีที่ i ใดๆ

  • ปมพ่อของสมาชิกตัวนี้อยู่ที่
  • ปมลูกทั้งสองตัวของสมาชิกตัวนี้อยู่ที่

การสร้างบริการของฮีป

[แก้]

ในที่นี้กล่าวถึงลักษณะการทำงานของฮีปเติมเต็มในการทำแถวคอยลำดับความสำคัญ สำหรับการทำงานของทรีพให้ดูทรีพ#การสร้างบริการของทรีพ

การเข้าแถวคอย

[แก้]

ทำได้โดยการเพิ่มสมาชิกไปที่หลังสุดของแถวลำดับก่อน และทำการสลับข้อมูลกับปมพ่อ(percolate up)เมื่อข้อมูลใหม่มีลำดับความสำคัญมากกว่า จนกระทั่งปมพ่อมีลำดับความสำคัญมากกว่าจึงหยุด

การลบสมาชิกที่สำคัญที่สุด

[แก้]

ทำได้โดยการดึงเอาข้อมูลแรกสุดของแถวลำดับ กล่าวคือเป็นรากของฮีปเติมเต็ม ซึ่งจะมีลำดับความสำคัญมากที่สุดออก จากนั้นจะหยิบตัวสุดท้ายของแถวลำดับมาแทน (ซึ่งมักจะมีลำดับความสำคัญน้อย)และทำการลดลำดับลงโดยการสลับข้อมูลกับปมลูก(percolate down)จนข้อมูลสลับจนปมลูกมีลำดับความสำคัญน้อยกว่าจึงหยุด

ดูเพิ่ม

[แก้]