ฮิโตชิ ซากิโมโตะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
ฮิโตชิ ซากิโมโตะ | |
---|---|
ซากิโมโตะขณะให้สัมภาษณ์เมื่อปี 2004 | |
ข้อมูลพื้นฐาน | |
รู้จักในชื่อ | YmoH.S (Yellow Magic Orchestra Hitoshi Sakimoto) |
เกิด | โตเกียว, ญี่ปุ่น | 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969
แนวเพลง | ออเคสตรา, อิเล็กโทรนิกา, แจ๊ส |
อาชีพ | ผู้ประพันธ์เพลง, ผู้เรียบเรียง |
เครื่องดนตรี | เปียโน, ออร์แกนไฟฟ้า, ซินธิไซเซอร์ |
ช่วงปี | 1988–ปัจจุบัน |
ค่ายเพลง | DigiCube Square Enix Aniplex |
ฮิโตชิ ซากิโมโตะ (ญี่ปุ่น: 崎元 仁; โรมาจิ: Sakimoto Hitoshi; เกิดเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1969) เป็นผู้ประพันธ์เพลงและผู้เรียงเรียงเสียงประสานชาวญี่ปุ่น มีชื่อเสียงด้านทำดนตรีประกอบเกมไฟนอลแฟนตาซีแท็กติกและไฟนอลแฟนตาซี XII เขาทำประพันธ์ประกอบเกมกว่าเจ็ดสิบเกม และเรียบเรียงเสียงประสานกว่าสี่สิบเกม พื้นฐานเดิมเขาเรียนด้านดนตรีตั้งแต่ประถม และได้ประกาศเป็นฟรีแลนซ์ในปี 1988 และในปี 1997 เขาได้สมัครงานเข้าในบริษัทสแควร์อีนิกซ์
ในปี 2002 เขาได้ลาออกจากบริษัทสแควร์อีนิกซ์ และก่อตั้งบริษัททำเสียงประกอบเกมเป็นของตัวเองคือ Basiscape และได้ทำการบริหารงานทางด้านธุรกิจทำเสียงอย่างเต็มรูปแบบทั้งเสียงเกม การ์ตูนอนิเมะ เป็นต้น
ประวัติ
[แก้]วัยหนุ่ม
[แก้]ฮิโตชิ ซากิโมโตะ เกิดที่โตเกียว ถูกบังคับเรียนดนตรีตั้งแต่ประถม แต่โดยส่วนตัวเขาสนใจเกี่ยวกับเกมเป็นอย่างมาก ในช่วงที่เขาเรียนดนตรีนั้นเขาสนใจจำพวกวงร็อก วงเครื่องลมทองเหลือง และออร์แกนไฟฟ้า แต่ว่าก็เรียนเปียโนเป็นเครื่องมือหลัก[1]เขาได้ร่วมมือกับเพื่อน ๆ ของเขาในการทำเกมตั้งแต่สมัยอยู่มัธยม[2] และในช่วงมัธยมปลายเขาได้เขียนบทความในนิตยสาร Oh!FM โดยส่วนตัวเขาได้บอกว่าเขาเป็นเซียนเกมแต่ว่าเป็นนักดนตรีที่ยังอ่อนหัด[1]
เขาเริ่มแต่งเพลงสำหรับเกมเมื่ออายุสิบหกปี และร่วมกันเขียนเกมกับเพื่อน ๆ [3] ซึ่งเกมแรก ๆ นั้นเขาได้ใช้เครื่องมือทุกชิ้นเท่าที่หามาได้แบบมั่ว ๆ [4] เขาได้ผลักดันตัวเองและรับงานทำเกมอย่างมืออาชีพเมื่อปี 1988 เขากับเพื่อนร่วมงาน มาซาฮารุ อิวาตะ ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ผลงานประกอบเกมหลาย ๆ เกมด้วยกัน ซึ่งเกมแรกที่นับว่าเป็นงานอย่างจริงจังของเขาคือเกมแนวยิง Revolter ซึ่งวางจำหนายโดยบริษัท ASCGroup for the NEC PC-8801 (คอมตั้งโต๊ะ) ซากิโมโตะได้ทำเสียงจำพวกซินธิไซเซอร์และ ดนตรีแนวบรรยากาศอวกาศเป็นหลักในช่วงแรก ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของดนตรีประกอบเกมของญี่ปุ่นในยุค 1990 ยังไงก็ตามเกม Revolter ก็ประสบผลสำเร็จอย่างยิ่ง และเขาก็ได้ทำเสียงประกอบเกมอีกหลายเกมและผลงานเสียงประกอบเกมของเขาก็ได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมดนตรีอย่างเต็มรูปแบบ[3][5]
วัยทำงาน
[แก้]คำพูดของฮิโตชิ ซากิโมโตะ[6]
หลังจากเกม Revolter ไปแล้ว ผลงานของซากิโมโตะได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมดนตรีอื่น ๆ อีกมากมาย ในยุคคอมพิวเตอร์-8801 ได้มีเกมมาอีกเช่น Starship Rendezvous และ Gauntlet ซึ่งเป็นเกมที่ได้รับความนิยมพอ ๆ กับเกม Stone of Deigan ในปี 1989 และ The Witch of Barbatus ในปี 1990 [1]ช่วงปี 1990 และ 1992 เขาได้ทำเสียงเกมกว่า 24 ชิ้นงาน ช่วงนี้เขาได้สมัครงานในบริษัท Toshiba EMI, Artec, และ Data East.[5]แต่ว่าเขาก็ได้ทำเสียงเกมในงานชิ้นโบว์แดงหรือว่างานเดี่ยวก็เห็นจะเป็น Bubble Ghost ในช่วงปี 1990[1]
ในช่วงปี 1993-1997 นั้นเขาก็ได้ทำเสียงเกมที่ได้รับความนิยมอีกหลายเกม Ogre Battle: March of the Black Queen, Shin Megami Tensei, Alien vs. Predator, Tactics Ogre, และ Dragon Quest VI เป็นต้น[5] ซึ่งช่วงเวลาในปี 1997 เขาได้ย้ายมาอยู่สแควร์อย่างเป็นทางการโดยทำเกมไฟนอลแฟนตาซีแท็กติก ซึ่งเป็นผลงานที่ทำให้เขาได้เป็นที่รู้จักอย่างเป็นทางการในวงการเกม (การได้ออกไปทัวร์นอกประเทศ)[3][7]แม้ว่าเขาจะงานเต็มเอียดในช่วงไม่กี่ปีในช่วงนั้น แต่ว่าเขาก็ได้รับความสำเร็จจากเกม Vagrant Story อยู่ดี[5] งานสุดท้ายที่ทำให้สแควร์คือเบรทออฟไฟล์ห้า และ Tactics Ogre: The Knight of Lodis สำหรับแคปคอมและ Quest หลังจากนั้นเขาจึงลาออกจากพนักงานบริษัทมาทำเป็นบริษัท Basiscape ในวันที่ 4 ตุลาคม 2002 อย่างเป็นทางการ
เบสิสเคพ
[แก้]Basiscape เป็นบริษัทที่รับทำเสียงประกอบทุกชนิดโดยเฉพาะเกม ซากิโมโตะได้ลาออกจากสแควร์อีนิกซ์ เพราะว่าต้องการอิสระกว่าเดิม โดยที่เขาจะสามารถคัดเลือกงานที่จะทำได้เพื่อจะได้ไม่งานเต็มมือเหมือนแต่ก่อน[8]ตอนก่อตั้งบริษัทมีสมาชิกสามคนคือ ซากิโมโตะ, อิวาตะ และ มานาบุ นามิกิ เมื่อก่อตั้งบริษัทแยกออกมาแล้วบริษัทก็รับทำเสียงสำหรับวิดีโอเกมหลาย ๆ ค่ายเกม แต่หลัก ๆ แล้วจะเป็น สแควร์อีนิกซ์ เมื่อปี 2005 ก็มีการรับสมัครนักประพันธ์เพลงเพิ่มคือ มิตสึฮิโระ คาเนดะ และ คิมิฮิโระ อาเบะ, หลังจากเขาได้รับความสำเร็จในเกมส์ไฟนอลแฟนตาซี XIIเขาก็ได้ขยายบริษัทเพิ่มขึ้นไปอีกโดยเกณฑ์นักประพันธ์เพลงมาทำงานเพิ่มได้แก่ โนริยูกิ คามิกูระ, โยชิมิ คูโด และ อาซูซะ ชิบะ[9][10] ซึ่งทำให้กลายมาเป็นบริษัททำเพลงประกอบเกมที่ใหญ่ที่สุดในโลกก็ว่าได้ หลังจากนั้นก็ยังทำงานอีกชิ้นคือ Odin Sphere และ ไฟนอลแฟนตาซี XII ภาคเสริม[3] บริษัทนี้จะแบ่งการบริหารงานคือการประพันธุ์เพลงหลักจะยกให้ซีอีโอ และแบ่งงานการเรียบเรียงเสียงประสานให้บุคลากรอื่นทำ รวมถึงมีบทเพลงบางชิ้นจะแบ่งให้คนในบริษัททำแยกออกไปด้วยตามความถนัด โดยการรับงานจะเป็นการรับงานในรูปแบบบริษัท บุคลากรที่เป็นนักประพันธ์เพลงทั้งหมดจะเป็นทั้งฟรีแลนซ์และเป็นพนักงานบริษัทแบบเต็มเวลาได้พร้อมกัน[11] ตัวธุรกิจ Basiscape เพิ่งถูกจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเมื่อปี 2009[12]
ซากิโมโตะเคยกล่าวถึงผลงานที่ไม่แสวงหากำไร[1] เขามีส่วนทำให้อัลบัมเสียงเกม Ten Plants (1998) และ 2197 (1999) เป็นหัวข้อในการกล่าวถึงเสียงเกม[13][14] ซึ่งในงานของเบสิสเคพนั้นเขาได้ทำงานกับนักร้องเลียในการออกอัลบัมเพลงป๊อปของเลียมาสองอัลบัม และงานด้านอื่นก็ทำอนิเมะเรื่องโรมิโอ × จูเลียตในปี 2007 และ The Tower of Druaga: The Aegis of Uruk ในปี 2008 และ ทำการ์ตูนแผ่นเรื่อง Legend of Phoenix ~Layla Hamilton Monogatari~ in 2005[3]
การแสดง
[แก้]ซากิโมโตะมักจะเสนอหน้าในงานคอนเสิร์ตเพลงประกอบเกมหลาย ๆ งาน เขาไปพบปะกับ โยโกะ ชิโมมูระ และ ไมเคิล เสียงาโตริ ซึ่งเป็นแขกพิเศษในงาน Play! A Video Game Symphony ณ หอแสดงออเคสตรา ณ ดีทรอยต์ รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา[15] งานของเขาได้ทำการแสดงโดยวงซิมโฟนีออเคสตราเอมิเนนซ์, อีกทั้งมีคอนเสิร์ตที่ใช้บทเพลงของเขาและ Basiscape ในการแสดง[16] เขาและยาสุโนริ มิซซีดะ ได้ไปคอนเสิร์ตร่วมกันในงาน Passion เมื่อธันวาคม 2006, ใน เมษายน 2007 เขาปรากฏตัวที่วงออเคสตราในงานA Night in Fantasia 2007: Symphonic Games Edition, ซึ่งเป็นการแสดงดนตรีสามบทประพันธ์ใหญ่ของทั้งสอง[17] และเขาทั้งสองได้ร่วมงานกับวงซิมโฟนีออเคสตราเอมิเนนซ์ในการแสดงคอนเสิร์ตในช่วงกรกฎาคมปีนั้นในงาน Destiny: Reunion ซึ่งเป็นคอนเสิร์ตนี้เป็นคอนเสิร์ตสำหรับดนตรีประกอบเกมญี่ปุ่นเท่านั้น[18] วงซิมโฟนีออเคสตราเอมิเนนซ์ได้วางแผ่น Passionในปี 2006 และ Destiny: Dreamer's Allianceในปี 2007[19] ตีมของเพเนโลจากไฟนอลแฟนตาซี XII และ เมดเลย์ของไฟนอลแฟนตาซีแท็กติก A2 ซึ่งแสดงที่สิงค์โปร์[20]
ถึงแม้ว่าเขาจะมีโชว์ตัวในงานคอนเสิร์ตอยู่สำหรับไฟนอลแฟนตาซีก็ตาม แต่ว่าบทเพลงของเขาก็ได้ถูกเรียบเรียงใหม่สำหรับเปียโนโดยอาซาโกะ นิวะ ซึ่งถูกดัดแปลงเป็นเพลงสำหรับเปียโนในระดับกลางซึ่งถูกขายโดย โรงพิมพ์โดเรมี[21]
สไตล์เพลง และแรงจูงใจ
[แก้]ลักษณะงานดนตรีของเขานั้นมักจะเป็นแบบเรียบเรียงเครื่องดนตรีให้เด่นเท่า ๆ กันและจะชอบใช้เปียโนสั้น ๆ แล้วค่อยต่อเข้าคอม[7] แล้วเขาก็จะชอบเขียนดนตรีแนวออเคสตราอย่างมาก โดยเขียนมาในซีเควนเซอร์ก่อนแล้วค่อยเอาวงเล่นจริง เมื่อเขาจะเขียนเพลงเขาจะนึกว่าเขาเป็นโปรดิวเซอร์ก่อนว่าต้องการอะไร หากรอบของเพลงก่อนจากนั้นค่อยหาทำนองที่ใช่ แล้วจึงประพันธ์เป็นเดโม[4] เขามักจะบอกว่าเขาจะพยายามทำให้เหมือนพวกเสียงอนิเมะของญี่ปุ่น แต่ว่าอาจจะไม่เหมือนกันบ้างเล็กน้อย[16] เขายังบอกอีกว่าเขาจะทำผลงานออกมาเรื่อย ๆ ให้มีคุณภาพมากกว่านี้แล้วเมื่อทำชิ้นก่อน ๆ ไปแล้วมันจะทำให้เรารู้ว่าเราจะทำของใหม่ให้ดีขึ้นอย่างไร[4]
ส่วนด้านแรงจูงใจนั้นเขาได้รับอิทธิพลจากดนตรีเทคโนเก่ากับโปรเกรสซีพร็อค ซึ่งเขาจะชอบวงเยลโลว์แมจิกออเคสตราเอามาก ๆ [6][16] เมื่อเขาทำการศึกษาเกี่ยวกับพื้นฐานทางดนตรีแล้วเขาก็ใช้นามปากกาว่า "YmoH.S" มาตลอด, เขายังอ้างอิงว่าเขายังใช้ดนตรีแจ๊สโดยเฉพาะชิกโคเรียอีกด้วยในงานหลัก[1] ตัวของซากิโมโตะในช่วงที่กำลังปั่นงานไฟนอลแฟนตาซี XII นั้นเองเขายังแอบอู้งานมาฟังพวกแนวเทคโนและแจ๊สฟิวชั่นเวลาเซ็งและมักจะชอบบทเพลงในไฟนอลแฟนตาซีภาคเก่า ๆ ที่โนบูโอะ อูเอมัตสึปั้มเอาใว้ด้วย[22] บ้างก็หาแรงบันดาลใจที่บ้าน, เขาจะชอบนึกไอเดียเจ๋ง ๆ เวลาอยู่ที่สตูดิโออยู่เสมอ ๆ และบทประพันธ์ที่เขารู้สึกภูมิใจเสนอที่สุดก็คือ Vagrant Story[4]
ผลงานสะสม
[แก้]วิดีโอเกม | |||
---|---|---|---|
ปี | เกม | หน้าที่ | ผู้ร่วมผลงาน |
1988 | Revolter | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ |
1989 | Stone of Deigan | เรียบเรียง | |
1990 | en:Bubble Ghost | ประพันธ์ | |
Metal Orange | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
Starship Rendezvous | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
Carat | ประพันธ์ | ||
en:Advanced Dungeons & Dragons: Heroes of the Lance | เรียบเรียง | ||
1991 | Devilish | ประพันธ์ | |
en:Verytex | ประพันธ์ | ||
en:Magical Chase | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
King Breeder | ประพันธ์ | ||
en:Midnight Resistance | เรียบเรียง | ||
en:Master of Monsters | เรียบเรียง | ||
Dragons of Flame | เรียบเรียง | ||
en:Death Knights of Krynn | เรียบเรียง | ||
1992 | Mounted Soldier | เรียบเรียง | |
en:Two Crude Dudes | เรียบเรียง | ||
en:Death Bringer | เรียบเรียง | ||
en:Captain America and the Avengers | เรียบเรียง | ||
en:Champions of Krynn | เรียบเรียง | ||
Dragon Master Silk | เรียบเรียง | ||
Eye of the Beholder | เรียบเรียง | ||
Seven Colors | เรียบเรียง | ||
1993 | Gauntlet | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ |
Bad Omen | ประพันธ์ | ||
Super Back to the Future Part II | ประพันธ์ | ||
en:Ogre Battle: The March of the Black Queen | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ และ ฮายาโตะ มัสสึโอะ | |
Tail Spin | เรียบเรียง | ||
en:Aguri Suzuki F-1 Super Driving | เรียบเรียง | ||
Alien vs. Predator | เรียบเรียง | ||
The Little Mermaid | เรียบเรียง | ||
J-LEAGUE Soccer | เรียบเรียง | ||
Classic Lord | เรียบเรียง | ||
en:Shin Megami Tensei | เรียบเรียง | ||
Quiz Jipangu | เรียบเรียง | ||
1994 | en:Kingdom Grand Prix | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ |
en:X-Kaliber 2097 | ประพันธ์ | ฮายาโตะ มัสสึโอะ | |
Moldorian | ประพันธ์ | ||
Pile Up March | ประพันธ์ | ||
en:Side Pocket | เรียบเรียง | ||
en:Nankoku Shōnen Papuwa-kun | เรียบเรียง | ||
Shogi | เรียบเรียง | ||
Mighty Morphin Power Rangers: The Movie | เรียบเรียง | ||
en:Super Ice Hockey | เรียบเรียง | ||
Lorelei | เรียบเรียง | ||
Swap | เรียบเรียง | ||
Blue Garnet | เรียบเรียง | ||
1995 | en:Tactics Ogre: Let Us Cling Together | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ |
Chick's Tale | ประพันธ์ | ||
Dragon Master Silk 2 | ประพันธ์ | ||
en:Pet Club: Inu Daisuki! | เรียบเรียง | ||
en:Akazukin Chacha | เรียบเรียง | ||
en:Dragon Quest VI | เรียบเรียง | ||
en:Bomberman: Panic Bomber | เรียบเรียง | ||
Classic Lord 2 | เรียบเรียง | ||
F1 GP | เรียบเรียง | ||
1996 | en:Treasure Hunter G | ประพันธ์ | จ้อน พี้,, โทชิอากิ ซาโกดะ, โยโกะ ทาคาดะ, โทโมโกะ มัสสึอิ, และ อากีโกะ โกโต |
en:Terra Diver | ประพันธ์ | มานาบุ นามิกิ | |
The Adventures of Hourai High School | ประพันธ์ | ||
Chip Chan Kick! | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
Thoroughbred Breeder 3 | เรียบเรียง | ||
My Best Friends | เรียบเรียง | ||
Virtual Gallop Kisyudou | เรียบเรียง | ||
1997 | Bloody Roar | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ และ มานาบุ นามิกิ |
en:Final Fantasy Tactics | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
Civizard – Majutsu no Keifu | เรียบเรียง | ||
1998 | en:Radiant Silvergun | ประพันธ์ | |
en:Armed Police BatRider | ประพันธ์ | ||
Traffic Confusion | เรียบเรียง | ||
en:Battle Garegga | เรียบเรียง | ||
Roommate 3 | เรียบเรียง | ||
1999 | en:Ogre Battle 64: Person of Lordly Caliber | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ และ ฮายาโตะ มัสสึโอะ |
Roommate W -Futari- | เรียบเรียง | ||
2000 | en:Vagrant Story | ประพันธ์ | |
2001 | en:Tactics Ogre: The Knight of Lodis | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ |
Kuusen | ประพันธ์ | ||
en:Legaia 2: Duel Saga | ประพันธ์ | ยาสุโนริ มิตสึดะ และ มิชิรุ โอชิมา | |
en:Tekken Advance | ประพันธ์ | อสูฮิโร โมโตยามา | |
Block Wars | เรียบเรียง | ||
2002 | en:Breath of Fire: Dragon Quarter | ประพันธ์ | |
Perfect Prince | ประพันธ์ | ชินจิ โฮโซเอ และ อายาโกะ ซาโซ | |
en:The Pinball of the Dead | เรียบเรียง | ||
2003 | en:Final Fantasy Tactics Advance | ประพันธ์ | อายาโกะ ซาโซ, คาโอริ โอโคชิ และ ตาหนวดใส่แว่นแก่ ๆ |
2004 | en:Gradius V | ประพันธ์ | |
en:Stella Deus: The Gate of Eternity | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
en:Mushihime-sama | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ, มานาบุ นามิกิ, ชินจิ โฮโซเอ, อายาโกะ ซาโซ, and โชอิจิโร ซาคาโมโต | |
2005 | ArtePizza | ประพันธ์ | |
Wizardry Gaiden: Prisoners of the Battles | ประพันธ์ | ||
Bleach: Heat the Soul 2 | ประพันธ์ | ||
Zoids: Full Metal Crash | ประพันธ์ | ||
B-Legend! Battle B-daman Fire Spirits! | เรียบเรียง | ||
2006 | en:Monster Kingdom: Jewel Summoner | ประพันธ์ | หลายคน |
en:Fantasy Earth: Zero | ประพันธ์ | ||
Final Fantasy XII | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ, ฮายาโตะ มัสสึโอะ, และโนบุโอะ อุเอมัตสึ | |
en:Battle Stadium D.O.N | ประพันธ์ | ||
en:Digimon World Data Squad | ประพันธ์ | ||
2007 | en:GrimGrimoire | ประพันธ์ | |
en:Final Fantasy XII: Revenant Wings | ประพันธ์ | เคนิชิโร ฟูคูอิ | |
en:Final Fantasy Tactics: The War of the Lions | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
en:Odin Sphere | ประพันธ์ | เบสิสเคพ | |
en:ASH: Archaic Sealed Heat | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
en:Final Fantasy Tactics A2 | ประพันธ์ | ||
en:Opoona | ประพันธ์ | เบสิสเคพ | |
Deltora Quest | ประพันธ์ | เบสิสเคพ | |
2008 | L no Kisetsu 2: Invisible Memories | ประพันธ์ | |
en:Valkyria Chronicles | ประพันธ์ | ||
en:The Wizard of Oz: Beyond the Yellow Brick Road | ประพันธ์ | คิมิฮิโระ อาเบ, มาซาฮารุ อิวาตะ, and มิชิโกะ นารุเกะ | |
Elminage: Priestess of Darkness and The Ring of the Gods | ประพันธ์ | ||
2009 | Coded Soul | ประพันธ์ | |
en:Crystal Defenders | ประพันธ์ | ||
en:Muramasa: The Demon Blade | ประพันธ์ | ||
en:Tekken 6 | ประพันธ์ | หลายคน | |
Lord of Vermilion II | ประพันธ์ | ||
2010 | en:Valkyria Chronicles II | ประพันธ์ | |
en:Lord of Arcana | ประพันธ์ | ||
en:Tactics Ogre: Let Us Cling Together | ประพันธ์ | มาซาฮารุ อิวาตะ | |
2011 | en:Valkyria Chronicles III | ประพันธ์ | |
งานด้านอื่น | |||
ปี | ชิ้นงาน | หน้าที่ | ผู้ร่วมผลงาน |
1991 | MCMXCI | ประพันธ์ | |
1992 | MYSTERY CASE in HI! SCHOOL! | ประพันธ์ | |
Be filled with feeling | ประพันธ์ | ||
1993 | Great Wall | ประพันธ์ | |
G.T.R | ประพันธ์ | ||
1994 | T•O•U•R•S | ประพันธ์ | |
1995 | Megami Tensei 1 and 2 | ประพันธ์ | |
1998 | Ten Plants | ประพันธ์ | |
1999 | 2197 | ประพันธ์ | |
2005 | Colors of Life | ประพันธ์ | เลีย |
2005 | Legend of Phoenix ~Layla Hamilton Monogatari~ | ประพันธ์ | |
2007 | Romeo x Juliet | ประพันธ์ | |
2008 | en:The Tower of Druaga: The Aegis of Uruk | ประพันธ์ | |
2011 | Iron Vendetta | ประพันธ์ |
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 Chris. "Hitoshi Sakimoto :: Biography". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
- ↑ "Hitoshi Sakimoto - Profile". CocoeBiz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-02. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 "Credits". Hitoshi Sakimoto's official website. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 4.3 Sakimoto, Hitoshi; Kennedy, Sam (2007-10-30). "Final Fantasy XII Composer Hitoshi Sakimoto Interview from 1UP.com". 1UP.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-01-21. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 5.3 "Hitoshi Sakimoto - Discography". CocoeBiz. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-02. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
- ↑ 6.0 6.1 Sakimoto, Hitoshi; Larsen, Phil (2006-11-06). "Hitoshi Sakimoto Interview". PALGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-26. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
- ↑ 7.0 7.1 Sakimoto, Hitoshi (2006-10-24). "Twelve Days of Final Fantasy XII: Hitoshi Sakimoto Interview Part I". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-12. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
- ↑ Sakimoto, Hitoshi; Winkler. "RPGFan Exclusive Interview #4: Hitoshi Sakimoto, Composer, Basiscape". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-05. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
- ↑ "Basiscape". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
- ↑ "Basiscape :: Composers". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
- ↑ Sakimoto, Hitoshi; Napolitano, Jason (2009-04-02). "GDC 2009: Shooting The Breeze With Hitoshi Sakimoto". Original Sound Version. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
- ↑ Rojek, Kamil (2010-10-06). "Interview with Hitoshi Sakimoto (October 2010)". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2010-10-06.
- ↑ Ten Plants. Biosphere Records (1998-04-22). BICA-5001.
- ↑ 2197. Troubadour Records (1999-04-18). TTRC-0028.
- ↑ "Hitoshi Sakimoto to attend Detroit concert". PLAY! A Video Game Symphony. 2006-05-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
- ↑ 16.0 16.1 16.2 Shea, Cam (2007-02-15). "Hitoshi Sakimoto AU Interview". IGN. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
- ↑ Shea, Cam (2007-05-04). "A Night in Fantasia 2007 Photos". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-07. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
- ↑ Kermarrec, Jérémie; Jeriaska (2008-10-15). "Interview with Yasunori Mitsuda". RPGFan. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-05. สืบค้นเมื่อ 2008-12-06.
{{cite web}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) - ↑ "Portfolio". Eminence Symphony Orchestra. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-07-30. สืบค้นเมื่อ 2009-10-15.
- ↑ "Fantasy Comes Alive :: Report by Between Moments". Square Enix Music Online. สืบค้นเมื่อ 2010-06-09.
- ↑ "Doremi Music Web Site" (ภาษาญี่ปุ่น). DOREMI Music Publishing. สืบค้นเมื่อ 2008-09-14.
- ↑ Sakimoto, Hitoshi (2006-10-25). "Twelve Days of Final Fantasy XII: Hitoshi Sakimoto Interview Part II". IGN. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-06. สืบค้นเมื่อ 2008-12-05.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- เว็บไซต์ทางการ (อังกฤษ)