ข้ามไปเนื้อหา

ฮาชิโระ คาซึกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฮาชิโระ คาซึกะ
春日 八郎
ฮาชิโระ คาซึกะ ในปี พ.ศ. 2497
ฮาชิโระ คาซึกะ ในปี พ.ศ. 2497
ข้อมูลพื้นฐาน
ชื่อเกิดมิโนรุ วาตาเบะ
เกิด09 ตุลาคม ค.ศ. 1924(1924-10-09)
เมืองไอซูวากามัตสึ, จังหวัดฟูกูชิมะ,ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต22 ตุลาคม ค.ศ. 1991(1991-10-22) (67 ปี)
แนวเพลงเอ็งกะ
อาชีพนักร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2490–2534
ค่ายเพลงคิงเรคคอร์ดส์

ฮาชิโระ คาซึกะ (春日八郎, Kasuga Hachirō, เกิด 9 ตุลาคมพ.ศ. 2467 - 22 ตุลาคม พ.ศ. 2534) ชื่อเกิด มิโนรุ วาตาเบะ เป็นนักร้องเพลงเอ็งกะชาวญี่ปุ่น ซึ่งได้รับการขนานนามว่าเป็น นักร้องเอ็งกะคนแรก[1]

เมื่อได้เห็นอิชิโระ ฟุจิยามะบนเวที เขาก็พยายามที่จะเป็นนักร้องที่มีชื่อเสียง หลังจากที่เขาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนดนตรีโทโย เขาเข้าร่วมกับกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2487 และกลับจากไต้หวันในปี พ.ศ. 2488 เขาเข้าร่วมกับค่ายเพลงชินจูกุ มูแลงรูจในปี พ.ศ. 2490 และต่อมาเข้าร่วมกับค่ายเพลงคิงเรคคอร์ดส์ในปี พ.ศ. 2492[2]

ในปี พ.ศ. 2495 คาซึกะได้เปิดตัวครั้งแรกด้วยเพลง "Akai lamp no Shū Ressha" (赤いランプの終列車, lit. "Last Train with Red Lamp") ซึ่งในตอนแรกได้เป็นข่าวใน นาโงยะ ความนิยมของเขาก็แพร่หลายอย่างรวดเร็ว เพลงของเขาในปี พ.ศ. 2497 "Otomi-san" (お富さん, lit. "Miss Otomi") ประสบความสำเร็จมากขึ้นทั่วประเทศญี่ปุ่น[3] ซิงเกิลนี้ขายได้ 500,000 แผ่นในระยะเวลาครึ่งปี[4] และขายได้มากกว่าหนึ่งล้านแผ่น[1]

ในปี พ.ศ. 2498 เขายังได้ปล่อยซิงเกิล "Wakare no Ipponsugi" (別れの一本杉, lit. "Farewell One Cedar") ซึ่งเขาคิดค้นแนวทางดนตรี เพลงนี้แต่งโดยโทรุ ฟูนามูระ ซึ่งต่อมาเรียกว่าเอ็งกะ มีอิทธิพลอย่างมากต่อดนตรีป๊อปของญี่ปุ่นในยุคหลัง[1][3]

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 1.2 "The day that enka singer Hachiro Kasuga died" (ภาษาญี่ปุ่น). Nippon Television. 2008-10-22. สืบค้นเมื่อ 2009-02-09.
  2. "Hachiro Kasuga Profile" (ภาษาญี่ปุ่น). Aizubange, Fukushima. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-09-17. สืบค้นเมื่อ 2009-02-12.
  3. 3.0 3.1 歌舞伎ソング・《お富さん》のブーム (ภาษาญี่ปุ่น). JANJAN. 2007-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-05-04. สืบค้นเมื่อ 2009-02-09.
  4. 雑感・戦後日本の世相と流行歌(11) (ภาษาญี่ปุ่น). Asahi Broadcasting Corporation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-02-20. สืบค้นเมื่อ 2009-02-09.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]