ฮอรีอา เครอังเกอ
ฮอรีอา เครอังเกอ | |
---|---|
เกิด | 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1892 บูคาเรสต์ ราชอาณาจักรโรมาเนีย |
เสียชีวิต | 1 สิงหาคม ค.ศ. 1943 เวียนนา ออสเตรีย | (51 ปี)
สัญชาติ | โรมาเนีย |
ศิษย์เก่า | วิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์บูคาเรสต์ เอกอลเดโบซาร์ |
คู่สมรส | Lucia Dumbrăveanu |
บุตร | 1 |
ผลงานสำคัญ | อาคาร ARO |
ฮอรีอา เครอังเกอ (โรมาเนีย: Horia Creangă; 20 กรกฎาคม 1892 – 1 สิงหาคม 1943) เป็นสถาปนิกชาวโรมาเนียที่มีบทบาทสูงต่อขบวนการมอเดิร์นในโรมาเนีย และได้รับการยกย่องให้เป็น "ผู้ริเริ่มยุคสมัยมอเดิร์นที่แท้จริง" ของสถาปัตยกรรมในโรมาเนีย[1] โดยเฉพาะจากผลงานการออกแบบอาคารมอเดิร์นขนาดใหญ่หลังแรกในโรมาเนีย ซึ่งคืออาคาร ARO บนถนนมาเกรูในบูคาเรสต์ สร้างแล้วเสร็จในปี 1931
ชีวิตช่วงต้น
[แก้]เครอังเกอเกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 1892 และเป็นหลานของโยน เครอังเกอ นักประพันธ์ชื่อดัง[2] เขาจบการศึกษาจากวิทยาลัยสถาปัตยกรรมศาสตร์บูคาเรสต์ในปี 1916 ก่อนจะเข้าศึกษาต่อที่เอกอลเดโบซาร์ในปารีส จบการศึกษาในปี 1925 โดยอาจารย์ที่ปรึกษา กุสตัฟเฟอ อุมบ์เดินชโทค เป็นผู้แนะนำเขาเข้าทำงานในบริษัทการรถไฟเขตเหนือของโรมาเนีย[3]
เขาเดินทางกลับโรมาเนียในปี 1926 และสมรสกับภรรยา ลูชีอา (Lucia)[3]
อาชีพการงาน
[แก้]![](http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/10/Blocul_ARO_Bucuresti.jpg/220px-Blocul_ARO_Bucuresti.jpg)
เครอังเกอเป็นหนึ่งในสถาปนิกคนแรก ๆ ของโรมาเนียที่นำเอาองค์ประกอบพื้นฐานของการออกแบบแบบมอเดิร์นมาใช้ เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษ 1920 ถึง 1930 ดังที่ปรากฏในผบงานการออกแบบวิลลาต่าง ๆ ของเขาในปี 1929 ถึง 1930
ในปี 1929 เขาและพี่/น้องชาย โยน (Ion) กับภรรยา ชนะการแข่งขันออกแบบอาคาร ARO ให้กับบริษัทประกัน Asigurarea Românească โดยอาคารนี้เป็นอาคารแบบมิกซ์ยูส มีทั้งสำนักงาน ร้านค้า โรงภาพยนตร์ และอะพาร์ตเมนต์[3] อาคารก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 1931 และถือเป็นอาคารมอเดิร์นขนาดใหญ่หลังแรกในโรมาเนีย[4] and established Creangă's career.
ในผี 1935 เขาเปิดสำนักงานออกแบบร่วมกับฮาราลัมบ์ เกออร์เกสกู (Haralamb Georgescu) และนิกอไล เนเดเลสกู (Nicolae Nedelescu) ทำงานให้กับลูกค้าหลัก ๆ อยู่สามราย คือ บริษัทประกัน ARO, มาลักซาอินดัสทรีส์ และ ศาลากลางนครบูคาเรสต์[5] โดยออกแบบทั้งอาคารสำนักงาน ร้านค้า และที่อยู่อาศัย[5] ผลงานสำคัญเช่นโรงงานของมาลักซา (1930–1940) ซึ่งเป็นหนึ่งในผลงานมอเดิร์นที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในแขนงการออกแบบอุตสาหกรรม[4]
เครอังเกอไม่ได้ปราศจากคำวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน อาคาร ARO ถูกวิจารณ์อย่างรุนแรงเช่นเดียวกัน[5]
ระเบียงภาพ
[แก้]-
วัง ARO บราชอฟ, 1937–39
-
ตึก ARO บูคาเรสต์, 1930–31
-
อะพาร์ตเมนต์ ARO ถนนกาเลอาวิกตอรีเย บูคาเรสต์, 1936–38
-
อาคารมาลักญา-บูรีเลอานู (Malaxa-Burileanu) บูคาเรสต์, 1935–37
-
วังวัฒนธรรมแห่งชาติ แชร์นิฟซี ประเทศยูเครน, 1937–40
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Machedon, Luminița; Scoffham, Ernie (1999). Romanian modernism: the architecture of Bucharest 1920–1940. MIT Press. p. 51. ISBN 0-262-13348-2.
- ↑ Anghelescu, Victoria (14 February 2012). "Horia Creangă – crezul simplităţii" [Horia Creangă – the creed of simplicity]. Cotidianul (ภาษาโรมาเนีย). สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 Machedon and Scoffham, 52.
- ↑ 4.0 4.1 Sennott, Stephen (2004). Encyclopedia of 20th Century Architecture. Taylor & Francis. p. 183. ISBN 1-57958-433-0.
- ↑ 5.0 5.1 5.2 Machedon and Scoffham, 53.