อำเภอพังโคน
อำเภอพังโคน | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Phang Khon |
ตัวเมืองอำเภอพังโคน | |
คำขวัญ: เจดีย์หลวงปู่คำ วัฒนธรรมเซิ้งผีโขน พังโคนเมืองไก่ย่าง เขื่อนกว้างลำน้ำอูน ถิ่นสมบูรณ์จำปาชนบท ดั่งปรากฎช้างงามนามพังโคน | |
แผนที่จังหวัดสกลนคร เน้นอำเภอพังโคน | |
พิกัด: 17°23′33″N 103°42′34″E / 17.39250°N 103.70944°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สกลนคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 383.8 ตร.กม. (148.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 52,422 คน |
• ความหนาแน่น | 136.59 คน/ตร.กม. (353.8 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 47160 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4705 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอพังโคน ตำบลพังโคน อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร 47160 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
พังโคน เป็นอำเภอที่ตั้งอยู่เกือบกึ่งกลางจังหวัดสกลนคร และเป็นอำเภอที่มีความเจริญมากอีกอำเภอหนึ่ง เป็นรองแค่เพียงอำเภอเมืองสกลนคร และอำเภอสว่างแดนดิน ถือเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้าและการคมนาคมขนส่งทางตอนกลางของจังหวัด
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอพังโคนตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอวานรนิวาส
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอพรรณานิคม
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอพรรณานิคมและอำเภอวาริชภูมิ
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสว่างแดนดิน
ประวัติ
[แก้]อำเภอพังโคน เดิมคือ เมือง”จัมปาชนบท” โดยตามประวัติกล่าวว่า ชาวภูไทอพยพมาจากเมืองวังฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง พากันมาตั้งบ้านเรือน ใช้ชื่อว่า “บ้านจัมปา” อันเป็นนามของดอกไม้ (บ้านจัมปา ซึ่งปัจจุบันคือ บ้านนาเหมือง หมู 2 ตำบลพังโคน) โดยมีท้าวแก้ว เป็นหัวหน้า
ต่อมาปี พ.ศ. 2420 เป็นปีที่ 10 ในรัชกาลที่ 5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านจัมปาขึ้นเป็น เมืองจัมปาชนบท ขึ้นตรงกับเมืองสกลนครและโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ ท้าวแก้ว วงศ์ประทุม เป็นพระบำรุงนิคมเขต เจ้าเมืองจัมปาชนบท
พระบำรุงนิคมเขต เจ้าเมืองจัมปาชนบท เป็นผู้มองกาลไกล จึงได้ชักชวนชาวบ้านกรมการที่อยู่ในเขตแดนเมืองจัมปาชนบท ให้ทำนาเป็นอาชีพ ตัวท่านและครอบครัว ก็ทำนาเป็นตัวอย่างแก่ราษฎรทั้งหลาย ที่นาของท่านอยู่ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศเหนือ “หนองสิม” เรียกว่า “ทุ่งนาเหมือง” มาจนถึงปัจจุบัน
เมื่อครั้น พระบำรุงนิคมเขต(แก้ว) เป็นเจ้าเมืองอยู่นั้น มีกรมการเมือง ประกอบด้วย อุปราช(อุปฮาด) ราชวงศ์ ราชบุตร นอกจากนั้นยังมีตำแหน่งเมืองซ้าย เมืองขวา เมืองฮาม เมืองแสน เมืองจันทน์ ต่อมา มีการยุบเมืองให้เป็นเป็นอำเภอ เจ้าเมืองเปลี่ยนเป็น นายอำเภอ อุปราชหรืออุปฮาด เป็นปลัดอำเภอ ราชวงศ์ เป็นสมุห์บัญชี-อำเภอ และราชบุตร เป็นเสมียนอำเภอ
พระบำรุงนิคมเขต(แก้ว) เป็นต้นตระกูล “วงศ์ประทุม” เมื่อถึงแก่กรรม ท้าวคำไข ตำแหน่งอุปราช(อุปฮาด) บรรดาศักดิ์ที่พระประทุมเทวาพิทักษ์ ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เป็นเจ้าเมืองจัมปาชนบท ในบรรดาศักดิ์ที่ พระบำรุงนิคมเขต (คำไข) สืบต่อมา
ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2445 มหาอำมาตย์โท พระยามหาอำมาตย์ธิบดี ปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทย ได้มาตรวจราชการ จึงได้สั่งเปลี่ยนแปลงาเขตการปกครองหัวเมืองเสียใหม่คือ บรรดาหัวเมืองต่าง ๆ ที่มีอาณาเขตใกล้ชิดกัน ให้ยุบลงเป็นอำเภอหรือยุบไปขึ้นกับอำเภอที่มีอาณาเขตใกล้ชิดกัน เมืองจัมปาชนบท อยู่ใกล้กับอำเภอพรรณนานิคมก็ให้ยุบโอนขึ้นกับอำเภอพรรณนานิคม
ต่อมาทางราชการได้สร้างทางหลวงแผ่นดินสายอุดรธานี – สกลนคร – นครพนม เส้นทางนี้ได้ตัดผ่านศูนย์กลางบ้านดอนพังโคน (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 22 กิโลเมตรที่ 107) ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองจัมปาชนบทไปทางทิศเหนือ ประมาณ 1 กิโลเมตร จึงได้มีบรรดาชาวเมืองจัมปาชนบท พากันอพยพบ้างเมืองมาอยู่ตามแนวสองข้างทางเรียกว่า “บ้านพังโคน” หรือบ้านดอนพังโคน” ปัจจุบันมีสี่แยกทางสาย 22 ตัดกับสาย 222 และ227 ชาวบ้านเรียกสี่แยก 2 วา เนื่องจากแยกไปทางทิศเหนือ คือ อำเภอวานรนิวาส และทิศใต้ คือ อำเภอวาริชภูมิ อำเภอพังโคน
เมื่อปี พ.ศ. 2511 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอพังโคน โดยแบ่งท้องที่ตำบลม่วงไข่ ตำบลแร่ และตำบลไฮหย่อง แยกจากอำเภอพรรณนานิคม ทั้งนี้มีพ่อค้าประชาชนชาวอำเภอพัง-โคนได้ร่วมบริจาคเงินซื้อที่ดินจำนวน 35 ไร่ ให้เป็นสถานที่ตั้งที่ว่าการอำเภอ และศูนย์ราชการกิ่งอำเภออยู่ห่างจากสี่แยก 2 วา ไปทางทิศตะวันตกประมาณ 1 กิโลเมตร เมื่อท้องที่กิ่งอำเภอพังโคนเจริญขึ้น ทางราชการจึงมีพระราชกฤษฎีกา ยกฐานะกิ่งอำเภอพังโคน เป็น “อำเภอพังโคน” โดยแบ่งเขตการปกครอง ออกเป็น 5 ตำบล
ชื่อ
[แก้]บ้านพังโคน มีประวัติเล่ามาว่า เมื่อวันเดือนปีใดไม่ปรากฏ นครเวียงจันทน์เกิดกบฏ พวกกบฏได้ปล่อยช้างมงคลหรือพลายคำมิ่ง ตัวผู้มีงากับช้างดอ ชื่อ มิ่งมงคล ไม่มีงา และช้างพัง ชื่อโคน รวม 3 เชื่อก ของเจ้านครเวียงจันทน์ ข้ามโขงมาฝั่งของไทย เมืองเจ้านครเวียงจันทน์ไปปราบกบฏเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงสั่งให้บรรดาควาญช้างต้น ข้ามโขงมาตามเอาช้างมิ่งมงคลที่ปล่อยมานั้นคืน ได้ติดตามมาพบช้างที่ริมหนองอีนาง เขตท้องที่อำเภอพรรณานิคม จึงพากันจับช้างดอชื่อมิ่งมงคลที่หนองอีนางนั่นเอง
ส่วนอีก 2 เชือก คือพลายคำมิ่งกับพังโคนไปตามไปพบที่ดอนตูม ซึ่งอยู่กลางทุ่งนามีต้นตูมขึ้นอยู่มากใกล้กับหมู่บ้านจัมปา จึงจับพลายคำมิ่งได้ ส่วนช้างพับที่ชื่อโคนจับไม่ได้ จึงลงความเห็นว่าต้องใช้ปืนยิงที่เท้าให้เจ็บเสียก่อนจึงจะจับได้ เมื่อถูกยิงแทนที่จะจับได้กลับอาละวาดเป็นการใหญ่ บรรดาคราญช้างจึงลงความเห็นควรจะจับตาย จึงใช้ปืนยิงให้ตายแล้วจึงนำซากช้างพังที่ชื่อโคนมาฝังไว้ บริเวณดอนตูมแห่งนี้แล้วจึงพากันนำช้าง 2 เชือก กลับนครเวียงจันทน์
ต่อมาชาวบ้านจึงพากันเรียกดอนตูมแห่งนี้ว่า "ดอนพังโคน" ตามนามของช้างที่ชื่อ " พังโคน" และบริเวณดอนอีนางก็เรียกว่า " บ้านช้างมิ่ง" ตามนามช้าง ตลอดจนทุกวันนี้
(บ้านช้างมิ่งปัจจุบันคือตำบลช้างมิ่ง อำเภอพรรณานิคม เป็นชุมชนชาวคริสต์อีกชุมชนหนึ่งในสกลนคร)หมายเหตุการหนี้มาของพระวอ พระตา พระโสมพะมิต พระนาม เกิดขึ้นสมัยพระเจ้าตาก ได้มาตั้งที่อยู่ที่ผ้าขาวม่วงไข่ก่อน(จากใบลานเมืองอุบล) ผู้ไทและลาวชาวคริสต์นั้นช่วง กวดต้อนผู้คนหลังจากลูกพระตา (คำผง)ไปช่วยตีเวียงจันทน์(ตีกันเอง)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอพังโคนแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 5 ตำบล 70 หมู่บ้าน
1. | พังโคน | (Phang Khon) | 13 หมู่บ้าน | |||
2. | ม่วงไข่ | (Muang Khai) | 11 หมู่บ้าน | |||
3. | แร่ | (Rae) | 14 หมู่บ้าน | |||
4. | ไฮหย่อง | (Hai Yong) | 18 หมู่บ้าน | |||
5. | ต้นผึ้ง | (Ton Phueng) | 13 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอพังโคนประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลพังโคน ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลพังโคน
- เทศบาลตำบลไฮหย่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไฮหย่องทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลพังโคนศรีจำปา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลพังโคน (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลพังโคน)
- เทศบาลตำบลแร่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแร่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลม่วงไข่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลม่วงไข่ทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลต้นผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลต้นผึ้งทั้งตำบล
สถานศึกษา
[แก้]ระดับอุดมศึกษา
ระดับมัธยมศึกษา
ระดับประถมศึกษา
- โรงเรียนบ้านพังโคน (จำปาสามัคคีวิทยา)
- ระดับอาชีวศึกษา
- โรงเรียนสาธิตเตรียมวิศวกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน