อำเภอคำตากล้า
บทความนี้ต้องการการจัดหน้า จัดหมวดหมู่ ใส่ลิงก์ภายใน หรือเก็บกวาดเนื้อหา ให้มีคุณภาพดีขึ้น คุณสามารถปรับปรุงแก้ไขบทความนี้ได้ และนำป้ายออก พิจารณาใช้ป้ายข้อความอื่นเพื่อชี้ชัดข้อบกพร่อง |
อำเภอคำตากล้า | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Kham Ta Kla |
คำขวัญ: ดินดำน้ำชุ่ม ปลาชุมข้าวงาม น้ำสงครามยิ่งใหญ่ สาวภูไทสุดสวย เลอล้ำด้วยวัฒนธรรม ถิ่นน้อมนำหลักธรรม | |
แผนที่จังหวัดสกลนคร เน้นอำเภอคำตากล้า | |
พิกัด: 17°50′58″N 103°45′18″E / 17.84944°N 103.75500°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สกลนคร |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 402.0 ตร.กม. (155.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 40,112 คน |
• ความหนาแน่น | 99.78 คน/ตร.กม. (258.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 47250 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4709 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอคำตากล้า ตำบลคำตากล้า อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร 47250 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
คำตากล้า [คำ-ตา-กฺล้า] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดสกลนคร
ประวัติ
[แก้]ชนที่อพยพเข้ามาอยู่ใกล้แม่น้ำสงคราม และใกล้หนองคำมีหลายกลุ่ม คือ กลุ่มนามสกุล “ศรีสุราช” “อุประ” “บุตรละคร” “หงษ์คละ” “โคตรชมภู” “หล้าหิบ”
ทั้งหมด เป็นชนเผ่า”ผู้ไท” ที่มาจากเมืองบก เมืองวัง อั่งค่ำ ประเทศลาวบริเวณแขวงคำเกิดคำม่วนหรือเมืองบ่อในปัจจุบันนี้ อพยพมาเนื่องจากความแห้งแล้ง ต่างก็ข้ามแม่น้ำโขงมาขึ้นฝั่งที่ จังหวัด นครพนม คือ อำเภอเรณูนคร จังหวัดมุกดาหาร ที่อำเภอคำชะอี และอพยพ ไปกาฬสินธุ์ ที่อำเภอเขาวง
“ผู้ไท” อยู่คำตากล้า อพยพมาจาก หลายที่ดังนี้
จากเมืองเว (อำเภอเรณูนคร) คือกลุ่มนามสกุล ศรีสุราช
จากคำชะอี (อำเภอคำชะอี) คือกลุ่มนามสกุล อุประ
กลุ่มที่อพยพมาจากเมืองเวนับว่าเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดมีผู้นำและมีประวัติความเป็นมา และมีหลักฐานอ้างอิงได้ ชัดเจนดังนี้
เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2420 อยู่ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5(ครองราชย์ พ.ศ. 2411-2453) ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานรกรากอยู่เมืองเว แขวงไทรบุรี(อำเภอเรณูนคร จ.นครพนม) ซึ่งเป็นถิ่นของกลุ่มผู้ไทจากเมืองบกเมืองวังอพยพมาตั้งรกรากอยู่ก่อนแล้ว เมื่อปี พ.ศ. 2369 ตอนต้นรัชกาลที่ 3 และตั้งเป็นอำเภอเรณูนครอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2373
ขณะนั้นพี่ชายคนโตของกลุ่ม ชื่อ “ท้าวสีหราช” เป็นผู้มีความสามารถ มีปัญญาเฉียบแหลม จึงได้สมัครเป็นทหาร ปฏิบัติหน้าที่ดีเด่นจนมีความดีความชอบได้รับแต่งตั้งเป็น “หลวงคำมุงคุณอาณาเขต” เป็นกรมการเมืองเว ต่อมาเกิดศึกสงครามทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง หลวงคำมุงคุณอาณาเขต ได้รับคำสั่งให้นำกองทัพไปปราบ แต่ไปแพ้สงครามกลับมา สาเหตุที่แพ้สงครามนั้น เพราะเกิดหดหู่ใจ เนื่องจากในขณะที่ทำการรบนั้น ท่านได้ฆ่าฟันสตรี ซึ่งปกตินักรบโบราณจะไม่ให้คมดาบเปื้อนเลือดสตรีโดยไม่จำเป็น
ด้วยเหตุนี้ จำงทำให้เกิดท้อแท้ใจ พาทหารหนีกลับ ทางราชการถือว่ามีความผิด จึงมีคำสั่งปลดจากกรมการเมืองเว หลวงคำมุงคุณอาณาเขต เกิดความเสียใจอย่างยิ่ง หากขืนอยู่ไปก็อับอาย ลูกน้องบริวาร จึงได้พาญาติพี่น้องอพยพหนีให้ไกลจากถิ่นเดิม ญาติพี่น้องที่ติดตามกันมามีดังนี้
ท้าวสีหราช(หลวงคำมุงคุณอาณาเขต) ,ท้าวก่ำ,ท้าวเหล็ก,ท้างกาลู,ท้าวต้อ,ท้าวไต,ท้าวม้าว,นางแพง และนางจอม ในขณะที่อพยพมานั้น มีช้าง 7 เชือก ม้า 11 ตัว วัวต่าง 14 ตัว มาพักอยู่บริเวณอำเภอพรรณานิคม ชั่วระยะหนึ่ง แล้วได้อพยพต่อมา ทำไร่ทำนาอยู่ที่บ้านนาบัวนาเหลือง คือตำบลหนองแวงขณะนี้ ต่อมาการทำมาหากินอัตคัดฝืดเคือง เนื่องจากอยู่ห่างไกลลำน้ำ จึงได้อพยพมาอยู่ที่บ้านท่ากกแดง อำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย ขณะนี้ เมื่ออยู่ที่บ้านท่ากกแดง ไม่สะดวกในการทำนา จึงได้อพยพข้ามฝั่งน้ำสงครามมาตั้งเป็นหมู่บ้านคำตากล้า
เมื่อ พ.ศ. 2456 รัชกาลที่ 6 โปรดให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุล จึงด้จดทะเบียนนามสกุล เมื่อ วันที่ 21 เดือนเมษายน พ.ศ. 2459 โดย อำมาตย์โทพระสุนทรศักดิ์ ข้าหลวงประจำจังหวัดสกลนคร เป็นผู้แต่งตั้งอาศัยนามต้นตระกูลสีหราช เปลี่ยนเป็น ศรีสุราช(ซึ่งแผลงมาจาก สีหราช ชื่อเดิมของหลวงคำมุงคุณอาณาเขต) เมื่อท้าวสีหราชถึงแก่กรรม ได้ตั้งให้ท้าวกาลูเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน โดยบ้านคำตากล้าขึ้นกับตำบลคูสะคาม อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนครเมื่อ พ.ศ. 2459 ได้แยกออกจากตำบลคูสะคาม เป็นตำบลคำตากล้า นายไกรษร ศรีสุราช บุตรคนที่ 4 ของหลวงคำมุงคุณอาณาเขต ได้รับแต่งตั้งให้เป็นกำนันคนแรกของตำบลคำตากล้า มีบรรดาศักดิ์เป็น”ขุนศรีสุรเกษม”
วันที่ 1 ตุลาคม 2463 ตั้งโรงเรียนบ้านคำตากล้าทำการสอนที่วัดศรีบุญเรือง
การตั้งโรงเรียนครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2463 นั้นมี ขุนศรีสุรเกษม ( นายไกรษร ศรีสุราช ) กำนันตำบลคำตากล้าในสมัยนั้นเป็นผู้อุปการะโรงเรียน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2483 ได้ย้ายสถานที่เรียนจากศาลาการเปรียญวัดศรีบุญเรือง มาอยู่ที่อาคารเรียนใหม่ที่สร้างขึ้นในที่ดินของโรงเรียนเองและ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ โรงเรียนบ้านคำตากล้า (คำตากล้าราชประชานุกูล) ” ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2499 ทางราชการมีความประสงค์ที่จะให้โรงเรียนมีชื่อที่เหมาะสมกับกาลสมัย จึงได้เปลี่ยนชื่อโรงเรียนเป็น
“ โรงเรียนบ้านคำตากล้า ” ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนอนุบาลคำตากล้า"
ปีพ.ศ. 2517 ตำบลคำตากล้าได้รับการยกฐานะให้เป็นกิ่งอำเภอคำตากล้า และเป็นอำเภอคำตากล้าจนถึงปัจจุบันนี้
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอคำตากล้าตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอพรเจริญและอำเภอเซกา (จังหวัดบึงกาฬ)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภออากาศอำนวย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอวานรนิวาส
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอบ้านม่วง
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอคำตากล้าแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 61 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | คำตากล้า | (Kham Ta Kla) | 16 หมู่บ้าน | หมู่ที่ 1 บ้านคำตากล้า หมู่ที่ 2 บ้านโคกอุดม หมู่ที่ 3 บ้านหนองบก หมู่ที่ 4 บ้านหนองพอกน้อย
หมู่ที่ 5 บ้านดงน้ำเย็น หมู่ที่ 6 บ้านทุ่งคู่ หมู่ที่ 7 บ้านหนองเหมียดเมี่ยง หมู่ที่ 8 บ้านวังเวิน หมู่ที่ 9 บ้านสร้างคำ หมู่ที่ 10 บ้านห้วยดินดำ หมู่ที่ 11 บ้านบ่อคำ หมู่ที่ 12 บ้านศรีดอกแก้ว หมู่ที่ 13 บ้านผาศักดิ์ หมู่ที่ 14 บ้านแสนสุข หมู่ที่ 15 บ้านนาคำ หมู่ที่ 16 บ้านฉางบัวพา | ||
2. | หนองบัวสิม | (Nong Bua Sim) | 16 หมู่บ้าน | หมู่ที่ 1 บ้านหนองบัวสิม หมู่ที่ 2 บ้านโคกทรายขาว หมู่ที่ 3 บ้านนาถ่อน หมู่ที่ 4 บ้านท่างาม
หมู่ที่ 5 บ้านปากโนต หมู่ที่ 6 บ้านเพีย หมู่ที่ 7 บ้านโพนก่อ หมู่ที่ 8 บ้านดอนติ้ว หมู่ที่ 9 บ้านหนองผามเรือ หมู่ที่ 10 บ้านโพธิ์ชัย หมู่ที่ 11 บ้านบึงบูรพา หมู่ที่ 12 บ้านหนองบัวใต้ หมู่ที่ 13 บ้านหัวนาคำ หมู่ที่ 14 บ้านเพียใต้ หมู่ที่ 15 บ้านท่าสาวเอ้ หมู่ที่ 16 บ้านนาล้อม | ||
3. | นาแต้ | (Na Tae) | 12 หมู่บ้าน | หมู่ที่ 1 บ้านนาแต้ หมู่ที่ 2 บ้านดอนคำ หมู่ที่ 3 บ้านหนองพอกใหญ่ หมู่ที่ 4 บ้านไทยสมบูรณ์
หมู่ที่ 5 บ้านหนองแสง หมู่ที่ 6 บ้านวนาสวรรค์ หมู่ที่ 7 บ้านวันติสุข หมู่ที่ 8 บ้านโพนทอง หมู่ที่ 9 บ้านดงอีบ่าง หมู่ที่ 10 บ้านไทยเจริญ หมู่ที่ 11 บ้านสระแก้ว หมู่ที่ 12 บ้านหนองเม็ก | ||
4. | แพด | (Phaet) | 17 หมู่บ้าน | หมู่ที่ 1 บ้านแพด หมู่ที่ 2 บ้านตาด หมู่ที่ 3 บ้านดอนกลาง หมู่ที่ 4 บ้านดงอีด่อย
หมู่ที่ 5 บ้านสามแยกพัฒนา หมู่ที่ 6 บ้านฝาง หมู่ที่ 7 บ้านกุดจาน หมู่ที่ 8 บ้านโนนสะอาด หมู่ที่ 9 บ้านดงบัง หมู่ที่ 10 บ้านโนนไทรทอง หมู่ที่ 11 บ้านวังชมพู หมู่ที่ 12 บ้านประชาสามัคคี หมู่ที่ 13 บ้านพรสวรรค์ หมู่ที่ 14 บ้านนานิยม หมู่ที่ 15 บ้านดงบังใต้ หมู่ที่ 16 บ้านโนนคะนึง หมู่ที่ 17 บ้านตาดเหนือ |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอคำตากล้าประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลคำตากล้า ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลคำตากล้า
- เทศบาลตำบลแพด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแพดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลคำตากล้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำตากล้า (นอกเขตเทศบาลตำบลคำตากล้า)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวสิม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวสิมทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาแต้ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาแต้ทั้งตำบล
สถานที่ท่องเที่ยว
[แก้]- หนองสามขา ตำบลคำตากล้า
- แม่น้ำสงคราม-บ้านผาศักดิ์
- แม่น้ำสงคราม-บ้านท่างาม
- สะพานข้ามแม่น้ำสงคราม คำตากล้า - ท่ากกแดง
- สะพานข้ามแม่น้ำสงคราม บ้านดอนคำ - ปากโนด
- วัดโพนก่อมีชมพู ใกล้บึงขนาดใหญ่(หนองหลวง) ตำบลหนองบัวสิม
- วัดบูรพา ตำบลคำตากล้า
- วัดศรีบุญเรือง ตำบลคำตากล้า
- วัดสิงหาญ ตำบลหนองบัวสิม
- วัดเทพเจริญปานพรหม
- วัดนิพเพธพลาราม ตำบลแพด
- วัดไตรสิกขาทลามลตาราม ตำบลแพด
- วัดโพธิ์ชัย ตำบลแพด
- วัดป่าประดับทรงธรรม (บ้านตาด) ตำบลแพด
- วัดป่าศรีพนาวัลย์ ตำบลแพด
- วัดป่าบ้านโนนทับช้าง
- วัดสามัคคีวราราม
- วัดสามัคคีกระนำเขียว
- วัดแจ้งมณีวรรณ
- วัดกลางลำขุน
- วัดโพนสวรรค์
- สำนักสงฆ์ศีวงกล
สถานศึกษา
[แก้]- โรงเรียนคำตากล้าราชประชาสงเคราะห์ (โรงเรียนในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และต้นแบบโรงเรียนในฝัน)
- โรงเรียนเทศบาลคำตากล้า ตำบลคำตากล้า
- โรงเรียนอนุบาลคำตากล้า ตำบลคำตากล้า
- โรงเรียนอนุบาลร่มเกษ ตำบลคำตากล้า
- โรงเรียนบ้านหนองพอกน้อย ตำบลคำตากล้า
- โรงเรียนบ้านท่างาม ตำบลหนองบัวสิม
- โรงเรียนบ้านแสนสุขสามัคคี ตำบลคำตากล้า
- โรงเรียนบ้านหนองบัวสิม ตำบลหนองบัวสิม
- โรงเรียนบ้านเพีย ตำบลหนองบัวสิม
- โรงเรียนบ้านแพดพิทยารัตน์ ตำบลแพด
- โรงเรียนศึกษาประชาสามัคคี ตำบลแพด
- โรงเรียนบ้านนาแต้ ตำบลนาแต้
- โรงเรียนชุมชนพอกใหญ่ไทยสมบูรณ์ ตำบลนาแต้
- โรงเรียนบ้านอนคำ ตำบลนาแต้