อำเภอบ้านไผ่
อำเภอบ้านไผ่ | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Ban Phai |
สถานีรถไฟบ้านไผ่แห่งเดิมเมื่อปี พ.ศ. 2511 | |
คำขวัญ: นามเมืองบ้านไผ่ พระเจ้าใหญ่ผือบัง จิตรกรรมฝาหนังล้ำเลอค่า แก่งละหว้าแหล่งอุดม เยี่ยมชมรอยพระพุทธบาทหินลาด ศูนย์วิทยาศาสตร์ ม.รามฯ | |
แผนที่จังหวัดขอนแก่น เน้นอำเภอบ้านไผ่ | |
พิกัด: 16°3′36″N 102°43′51″E / 16.06000°N 102.73083°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | ขอนแก่น |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 497.7 ตร.กม. (192.2 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2565) | |
• ทั้งหมด | 98,665 คน |
• ความหนาแน่น | 198.24 คน/ตร.กม. (513.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 40110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4010 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอบ้านไผ่ เลขที่ 712 หมู่ที่ 3 ถนนเจนจบทิศ ตำบลในเมือง อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น 40110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
บ้านไผ่ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดขอนแก่น โดยถือเป็นอำเภอขนาดใหญ่ที่มีถนนมิตรภาพและทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือพาดผ่าน ในอนาคตจะเป็นอำเภอชุมทางซึ่งมีทางรถไฟสายใหม่ ผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง และไปสิ้นสุดจังหวัดนครพนม
ประวัติ
[แก้]อำเภอบ้านไผ่เดิมชื่อ "บ้านเกิ้ง" อยู่ในความปกครองของเมืองชนบท ต่อมาทางราชการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 บ้านเกิ้งได้รับการยกฐานะเป็น ตำบลบ้านเกิ้ง ขึ้นกับอำเภอชนบท จนกระทั่งปี พ.ศ. 2471 ตำบลบ้านเกิ้งก็ได้รับการยกฐานะเป็น กิ่งอำเภอบ้านไผ่ ประกอบด้วยตำบลบ้านเกิ้ง บ้านเป้า และบ้านแคนเหนือ[1] เชื่อกันว่าบริเวณที่ตั้งคงมีต้นไผ่ขึ้นริมคลองห้วยจิกเป็นจำนวนมาก สถานที่ตั้งกิ่งอำเภออยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟบ้านไผ่ โดยหลวงราษฎร์ธุรกิจ (โสฬส อินทรกำแหง) มีศรัทธายกที่ดินให้
กิ่งอำเภอบ้านไผ่ได้รับการยกฐานะเป็น อำเภอบ้านไผ่ เปิดให้บริการประชาชนตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2482 แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 4 ตำบล คือ ตำบลบ้านไผ่ บ้านเป้า แคนเหนือ และเปือยน้อย[2] ต่อมาใน พ.ศ. 2486 อำเภอชนบทถูกไฟไหม้ ทางราชการจึงได้รวมอำเภอชนบทเข้ากับอำเภอบ้านไผ่ จนถึง พ.ศ. 2509 จึงแยกอำเภอชนบทออกไป
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอบ้านไผ่มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบ้านแฮด
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอโกสุมพิสัยและอำเภอกุดรัง (จังหวัดมหาสารคาม)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเปือยน้อย อำเภอหนองสองห้อง และอำเภอโนนศิลา
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอชนบทและอำเภอมัญจาคีรี
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอบ้านไผ่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 10 ตำบล 110 หมู่บ้าน
|
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอบ้านไผ่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลเมืองบ้านไผ่ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบ้านไผ่ ตำบลในเมือง และตำบลหนองน้ำใส
- เทศบาลตำบลในเมือง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลในเมือง (นอกเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านไผ่ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านไผ่ (นอกเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลเมืองเพีย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเมืองเพียทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านลาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบ้านลานทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลแคนเหนือ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลแคนเหนือทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลภูเหล็ก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลภูเหล็กทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลป่าปอ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลป่าปอทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหินตั้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหินตั้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองน้ำใส ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองน้ำใส (นอกเขตเทศบาลเมืองบ้านไผ่)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหัวหนอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหัวหนองทั้งตำบล
การศึกษา
[แก้]- ระดับอุดมศึกษา ได้แก่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง สาขาวิทยบริการเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดขอนแก่น
- ระดับอาชีวศึกษา ได้แก่ วิทยาลัยการอาชีพบ้านไผ่
- ระดับมัธยมศึกษา (สังกัด สพม.25) ได้แก่ โรงเรียนบ้านไผ่ (ข.ก.๕), โรงเรียนบ้านไผ่พิทยาคม, โรงเรียนบ้านไผ่ศึกษา และโรงเรียนบ้านลานวิทยาคม
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "แจ้งความกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งกิ่งอำเภอบ้านไผ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 45 (0 ง): 245–246. 22 เมษายน 2471. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.
- ↑ "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ยกฐานะกิ่งอำเภอบ้านไผ่ ขึ้นอำเภอชนบท จังหวัดขอนแก่น ขึ้นเป็นอำเภอ ขนานนามว่า อำเภอบ้านไผ่" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 56 (0 ง): 3321. 5 กุมภาพันธ์ 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-05-24. สืบค้นเมื่อ 2010-08-12.