อำเภอฆ้องชัย
อำเภอฆ้องชัย | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Khong Chai |
คำขวัญ: เมืองฆ้องชัยโบราณ แดนโครงการเมืองสหกรณ์ ถิ่นเก่าก่อนบุญคูณลาน แหล่งตำนานเลิงไก่โอก | |
แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอฆ้องชัย | |
พิกัด: 16°15′42″N 103°27′30″E / 16.26167°N 103.45833°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | กาฬสินธุ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 128.3 ตร.กม. (49.5 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 26,721 คน |
• ความหนาแน่น | 208.27 คน/ตร.กม. (539.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 46130 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4618 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอฆ้องชัย ถนนกมลาไสย-มหาสารคาม ตำบลฆ้องชัยพัฒนา อำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์ 46130 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ฆ้องชัย เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์ เดิมเป็นพื้นที่ของตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสยทั้งหมด[1][2][3][4][5] ตั้งเป็นกิ่งอำเภอในปี พ.ศ. 2540[6] และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2550[7]
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอฆ้องชัยมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอยางตลาดและอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอกมลาไสย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอจังหาร (จังหวัดร้อยเอ็ด) และอำเภอเมืองมหาสารคาม (จังหวัดมหาสารคาม)
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอเมืองมหาสารคามและอำเภอกันทรวิชัย (จังหวัดมหาสารคาม)
ประวัติ
[แก้]ท้องที่อำเภอฆ้องชัยเดิมเป็นพื้นที่ทั้งหมดของตำบลหนองแปน อำเภอกมลาไสย ในปี พ.ศ. 2493 ได้แยกหมู่บ้านในตำบลหนองแปนออกมาตั้งเป็นตำบลกุดฆ้องชัย[1] ตั้งตำบลลำชีออกจากตำบลกุดฆ้องชัย ในปี พ.ศ. 2514[2] พ.ศ. 2518 แยกบางส่วนของตำบลหนองแปน ตั้งเป็นตำบลโคกสะอาด[3] แยกพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองแปนออกมาเป็นตำบลโนนศิลาเลิงเมื่อปี พ.ศ. 2533[4] ก่อนที่ พ.ศ. 2538 จะมีการแบ่งพื้นที่บางส่วนของ 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองแปน ตำบลลำชี และตำบลกุดฆ้องชัย ตั้งขึ้นเป็นตำบลฆ้องชัยพัฒนา[5] ก่อนที่อีก 2 ปี ต่อมาทางทางราชการได้ประกาศแยกท้องที่ 5 ตำบลของอำเภอกมลาไสย ได้แก่ ตำบลกุดฆ้องชัย ตำบลลำชี ตำบลโคกสะอาด ตำบลโนนศิลาเลิง และตำบลฆ้องชัยพัฒนา ออกมาตั้งเป็น กิ่งอำเภอฆ้องชัย[6] ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2540 โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ปีเดียวกัน
ชื่อ "ฆ้องชัย" มาจากที่ตั้งอยู่ตำบลฆ้องชัยพัฒนา ตามประวัติบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่เมื่อประมาณ 285 ปีมาแล้วบ้านกุดฆ้องตอนใกล้สว่าง ตี 3 ถึง ตี 4 จะมีเสียงฆ้องใหญ่ดังกังวาลมาจากแหล่งน้ำกุดฆ้องบึงขยองคล้ายกับพระตีระฆังเพื่อเป็นสิริมงคลจึงได้เอานาม "ฆ้องชัย" เป็นชื่ออำเภอโดยมีตำนานเมืองดังนี้
"สองร้อยปีที่เล่าขาน เป็นตำนานเรื่องราวไว้ ใกล้สว่าง ณ บึงใหญ่ เสียงฆ้องชัยกังวาลดัง สำเนียงเสียงสดใส แว่วๆไกลดังมนต์ขลัง ชาวบ้านต่างได้ฟัง จึงตั้งชื่อเมืองฆ้องชัย"[8]
หลังจากตั้งกิ่งอำเภอได้ 4 ปี ทางราชการได้เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลกุดฆ้องชัย กิ่งอำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย เป็น "ตำบลเหล่ากลาง"[9] เนื่องจากบ้านกุดฆ้องชัยได้ย้ายไปขึ้นกับตำบลฆ้องชัยพัฒนา เพื่อป้องกันความสับสนของประชาชนและทำให้การติดต่อราชการมีความสะดวกมากขึ้น และต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ยกฐานะขึ้นเป็น อำเภอฆ้องชัย[7] โดยมีผลบังคับตั้งแต่วันที่ 8 กันยายน ปีเดียวกัน
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอฆ้องชัยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 ตำบล 48 หมู่บ้าน ได้แก่
1. | ฆ้องชัยพัฒนา | (Khong Chai Phatthana) | 11 หมู่บ้าน | ||||||
2. | เหล่ากลาง | (Lao Klang) | 8 หมู่บ้าน | ||||||
3. | โคกสะอาด | (Khok Sa-at) | 12 หมู่บ้าน | ||||||
4. | โนนศิลาเลิง | (Non Sila Loeng) | 9 หมู่บ้าน | ||||||
5. | ลำชี | (Lam Chi) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอฆ้องชัยประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลฆ้องชัยพัฒนา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลฆ้องชัยพัฒนาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลเหล่ากลาง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลเหล่ากลางทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโคกสะอาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกสะอาดทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนศิลาเลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนศิลาเลิงทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลลำชี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลลำชีทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 67 (67 ง): 6304–6305. วันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2493
- ↑ 2.0 2.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย และอำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 88 (106 ง): 2750–2755. วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2514
- ↑ 3.0 3.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย อำเภอเขาวง และอำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 92 (112 ง): 1466–1474. วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2518
- ↑ 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอกมลาไสย และอำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 105 (143 ง): (ฉบับพิเศษ) 26-34. วันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2531
- ↑ 5.0 5.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ อำเภอกมลาไสยและอำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 112 (90 ง): 108–127. วันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2538
- ↑ 6.0 6.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งเขตท้องที่อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นกิ่งอำเภอฆ้องชัย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 114 (พิเศษ 51 ง): 4. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26. วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2540
- ↑ 7.0 7.1 "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอฆ้องชัย...และอำเภอเหล่าเสือโก้ก พ.ศ. ๒๕๕๐" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (46 ก): 14–21. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2007-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26. วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550
- ↑ "ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม : ที่ว่าการอำเภอฆ้องชัย จังหวัดกาฬสินธุ์". กระทรวงวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2565
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง เปลี่ยนแปลงชื่อตำบลกุดฆ้องชัย กิ่งอำเภอฆ้องชัย อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นชื่อตำบลเหล่ากลาง" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 118 (29 ง): 7. วันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2544