อำเภอห้วยผึ้ง
หน้าตา
อำเภอห้วยผึ้ง | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Huai Phueng |
คำขวัญ: เมืองสามอ่าง โปงลางโบราณ ผักหวานภูสวย ลำห้วยน้ำใส พริกเผ็ดถึงใจ บุญบั้งไฟตระการตา | |
![]() แผนที่จังหวัดกาฬสินธุ์ เน้นอำเภอห้วยผึ้ง | |
พิกัด: 16°38′45″N 103°54′32″E / 16.64583°N 103.90889°E | |
ประเทศ | ![]() |
จังหวัด | กาฬสินธุ์ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 256.832 ตร.กม. (99.163 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2564) | |
• ทั้งหมด | 30,255 คน |
• ความหนาแน่น | 117.80 คน/ตร.กม. (305.1 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 46240 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 4614 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอห้วยผึ้ง ถนนห้วยผึ้ง-นาคู ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อำเภอห้วยผึ้ง จังหวัดกาฬสินธุ์ 46240 |
![]() |
ห้วยผึ้ง เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดกาฬสินธุ์
ประวัติ
[แก้]ท้องที่อำเภอห้วยผึ้งเดิมทั้งหมดเคยขึ้นอยู่กับเมืองภูแลนช้าง เมื่อเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2445 มีการยุบเมืองภูแลนช้าง ไปรวมกับเมืองกุฉินารายณ์ พื้นที่ทั้งหมดก็อยู่ภายในตำบลภูแลนช้าง
- ต่อมาในปี พ.ศ. 2490 ทางราชการได้แบ่งตำบลภูแล่นช้าง ออกเป็น 3 ตำบล ได้แก่ ตำบลภูแล่นช้าง ตำบลคำบง และตำบลไค้นุ่น
- ต่อมาปี พ.ศ.2505 พณ.จอมพลสกฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี ได้มีดำริจัดตั้งนิคมสร้างตนเองขึ้น ให้ชื่อว่า นิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ ขึ้นตรงกับกรมประชาสงเคราะห์ กระทรวงมหาดไทย โดยมีการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรที่ยากไร้ขาดที่ทำกินเป็นของตนเอง ในพื้นที่ดงแม่เผด อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ทำการนิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ตั้งอยู่ใกล้กับลำน้ำห้วยผึ้ง และมีราษฎรที่อพยพจากจังหวัดต่างๆ เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้ที่ทำการนิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ เป็นจำนวนมากได้ตั้งชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ว่า บ้านห้วยผึ้ง โดยอยู่ในเขตปกครองของตำบลไค้นุ่น หมู่บ้านห้วยผึ้งจึงขึ้นอยู่กับการปกครองตำบลไค้นุ่น และต่อมาเมื่อปี พ.ศ.2519 ประชากรตำบลไค้นุ่นได้เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อันเนื่องมาจากการจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกรของนิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ ทางกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย ได้จัดตั้งหมู่บ้านในเขตนิคมสร้างตนเองขึ้นจำนวน 10 หมู่บ้าน พร้อมกัน และแบ่งแยกตำบลจากตำบลไค้นุ่นมาเป็นอีกตำบลหนึ่งใช้ชื่อว่า ตำบลนิคมห้วยผึ้ง อันเนื่องมาจากหมู่บ้านที่ตั้งใหม่เป็นหมู่บ้านที่ทางนิคมสร้างตนเองกุฉินารายณ์ ได้จัดสรรที่ดินทำกินให้ รวมกับหมู่บ้านหลักคือบ้านห้วยผึ้ง จึงเป็นที่มาของคำว่าตำบลนิคมห้วยผึ้ง ตามกฎหมายลักษณะปกครองท้องที่
- ในปี พ.ศ. 2524 ทางราชการได้ยกฐานะตำบลนิคมห้วยผึ้ง ขึ้นเป็นกิ่งอำเภอห้วยผึ้ง มีตำบลนิคมห้วยผึ้ง ตำบลไค้นุ่น และตำบลคำบง ไปขึ้นอยู่ในเขตการปกครองของกิ่งอำเภอห้วยผึ้ง
- 21 พฤษภาคม 2533 ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอห้วยผึ้ง
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอห้วยผึ้งตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสมเด็จ และอำเภอภูพาน (จังหวัดสกลนคร)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอนาคู
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอกุฉินารายณ์และอำเภอนามน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอนามนและอำเภอสมเด็จ
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอห้วยผึ้งแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 4 ตำบล 52 หมู่บ้าน
1. | คำบง | (Kham Bong) | 15 หมู่บ้าน | ||||
2. | ไค้นุ่น | (Khai Nun) | 13 หมู่บ้าน | ||||
3. | นิคมห้วยผึ้ง | (Nikhom Huai Phueng) | 16 หมู่บ้าน | ||||
4. | หนองอีบุตร | (Nong I But) | 8 หมู่บ้าน |
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอห้วยผึ้งประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 5 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลห้วยผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลนิคมห้วยผึ้ง
- เทศบาลตำบลคำบง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำบงทั้งตำบล
- เทศบาลตำบลหนองอีบุตร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอีบุตรทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลไค้นุ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไค้นุ่นทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนิคมห้วยผึ้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนิคมห้วยผึ้ง (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลห้วยผึ้ง)