อ้านา
อ้านา (พม่า: အားနာ) เป็นค่านิยมทางสังคมและวัฒนธรรมของพม่าที่เทียบเท่ากับ ความเกรงใจ ในวัฒนธรรมไทย หรือ เอ็นเรียว (遠慮; enryo) ในวัฒนธรรมญี่ปุ่น[1] อ้านา จะแสดงออกในรูปของการยับยั้ง ความไม่อยาก การปฏิเสธ หรือการหลีกหนีในความสัมพันธ์กับมนุษย์อีกคนเนื่องจากกลัวว่าจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกแย่ เสียหน้า ไม่สะดวกใจ หรืออับอาย[2] อ้านา ยังรวมถึงการคิดถึงความรู้สึกของคนอื่นอย่างมาก และความประวงค์ที่จะไม่ทำให้ผู้อื่นรู้สึกเครียด ไม่สบายใจ หรือสร้างภาระแก่ผู้อื่น[3] หรือเป็นการแสดงออกถึงการเคารพในผลประโยชน์ของอีกบุคคลเป็นหลัก เหนือประโยชน์ของตนเอง[4] อ้านา มีบทบาทอย่างมากต่อลักษณะความสัมพันธ์ไปจนถึงพฤติกรรมทางสังคมและการเมืองในสังคมพม่า[5] นอกจากนี้ อ้านา ยังมีส่วนอย่างมากให้เกิดลำดับขั้นทางสังคมและความไม่เท่ากันในแง่ของความสัมพันธ์เชิงสังคม เพราะลักษณะของความตรงไปตรงมา ("ไม่ อ้านา") ถูกมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ก้าวร้าวและเผชิญหน้าเกินไป[3]
ศัพทมูล
[แก้]อ้านา แปลตรงตัวได้ว่าทำให้ "ความแข็งแกร่ง" (အား) ของบุคคลหนึ่ง ๆ โดน "ทำร้าย" (နာ)[6] อ้านา ป่านา (အားနာ ပါးနာ) มีความหมายเดียวกัน แต่มีเติมคำว่า ป่านา (ပါးနာ ซึ่งแปลง่า "ปวดแก้ม" ลงไป[6] ส่วนคำว่า อ้านาเด (အားနာတယ်) เป็นประโยคสำหรับอธิบายบุคคลที่มีความรู้สึก อ้านา ในภาษาพื้นถิ่นของพม่ายังมีคำเทียบเท่า เช่น ภาษาฉานใช้คำว่า ဢႃးၼႃႇ และภาษาจิ่งเผาะใช้คำว่า ăna
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Andrews, Tim; Sununta Siengthai (2009). The Changing Face of Management in Thailand. Routledge. pp. 67–68. ISBN 9780203878347.
- ↑ "The Myanmar Personality". www.myanmar.gov.mm. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 August 2007. สืบค้นเมื่อ 22 May 2022.
- ↑ 3.0 3.1 Seekins, Donald M. (2006). Historical dictionary of Burma (Myanmar). Scarecrow Press. p. 67. ISBN 978-0-8108-5476-5.
- ↑ Bekker, Sarah M. (1981). "The Concept of Anade - Personal, Social, and Political Implications". ใน John P. Ferguson (บ.ก.). Essays on Burma - Contributions to Asian Studies. Essays on Burma. Vol. 16. Brill Archive. pp. 19–37. ISBN 9789004063235.
- ↑ Spiro, Melford E. (November 1982). "Essays on Burma. by John P. Ferguson". The Journal of Asian Studies. Association for Asian Studies. 42 (1): 211–213. doi:10.2307/2055422. JSTOR 2055422. S2CID 144792695.
- ↑ 6.0 6.1 "Burmese – Ana (Pana)". Languages of Security in the Asia-Pacific. College of Asia and the Pacific, Australian National University. 25 May 2011. สืบค้นเมื่อ 6 October 2013.