ข้ามไปเนื้อหา

อเวจี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อเวจีมหานรก)
อเวจี ตามคติญี่ปุ่น

อเวจี หรือ อวิจี หรือ อเวจีมหานรก (บาลี: อวีจิ; สันสกฤต: अवीचि, แปลว่า: "ปราศจากคลื่น"หรือ "ไม่มีการหยุดพัก" (ลงโทษไม่มีการพัก)) คือนรกขุมที่ลึกที่สุดในบรรดามหานรก 8 ขุมที่ปรากฏในพระไตรปิฎก[1] ถือเป็นหนึ่งในนรกตามศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูในภายหลัง[2] ในศาสนาพุทธสื่อถึงดินแดนนรกชั้นต่ำสุดที่ผู้มีบาปกรรมอันร้ายแรงมีความทุกข์ทรมานสุด[3] กล่าวกันว่าแต่ละด้านยาว 20,000 โยชน์ (240,000 ถึง 300,000 กิโลเมตร) อยู่ใต้อรูปภูมิ[4] ในศาสนาฮินดู อเวจีเป็นหนึ่งใน 28 ขุมนรกในดินแดนของพระยม ผู้ที่อยู่ในนี้เคยเป็นพยานเท็จและให้ความเท็จขณะทำธุรกิจหรือให้การกุศล[5]

ความผิดที่ลงโทษในนี้

[แก้]

มีความผิดหลายอย่างที่นำผู้คนเข้าสู่อเวจี ผู้ที่เกิดในอเวจีโดยทั่วไปมักก่ออนันตริยกรรมข้อใดข้อหนึ่งหรือมากกว่านั้น:[6][7]

  1. มาตุฆาต - ฆ่ามารดา
  2. ปิตุฆาต - ฆ่าบิดา
  3. อรหันตฆาต - ฆ่าพระอรหันต์
  4. โลหิตุปบาท - ทำร้ายพระพุทธเจ้าจนห้อพระโลหิต
  5. สังฆเภท - ยุยงหมู่สงฆ์ให้แตกกัน

รายละเอียด

[แก้]

พระพุทธศาสนาสอนว่าการเกิดอยู่ในนรกภูมิก็เพียงชั่วเวลาที่สมควรแก่การชดใช้กรรมที่ได้กระทำลงไป การเกิดในอเวจีมหานรกก็เช่นเดียวกัน ผู้ที่ไปเกิดในภพภูมิดังกล่าวย่อมมีวันหลุดพ้นไปได้ อย่างไรก็ตามระยะเวลาการชดใช้กรรมในอเวจีมหานรกนั้นยาวนานกว่านรกภูมิอื่น ๆ และอาจมากถึง 1018 ปี บางสูตรยังกล่าวว่าสัตว์นรกในภูมินี้อาจเวียนว่ายตายเกิดในอเวจีมหานรกมีอายุอยู่ 1 กัลป์ และบ้างก็มากมายหลายกัลป์ โดยเมื่อสิ้นกัลป์หนึ่งก็เกิดใหม่ในภูมิเดิมอยู่ จึงเป็นที่มาของชื่อ 無間道 (Wújiàn dào) ในภาษาจีน ซึ่งแปลว่า เส้นทางที่ไม่สิ้นสุด หรือ อนันต์ ซึ่งก็คือต้องอยู่ไปตลอดกาลก็ว่าไดั

อ้างอิง

[แก้]
  1. พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค ทุติยโกกาลิกสูตรที่ ๑๐. พระไตรปิฏกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [1]. เข้าถึงเมื่อ 12-6-52
  2. Bane, Theresa (2014). Encyclopedia of Imaginary and Mythical Places. McFarland. ISBN 978-0786478484.
  3. Gray, David B. (2007). "Compassionate Violence? On the Ethical Implications of Tantric Buddhist Ritual". Journal of Buddhist Ethics. 14: 238–271.
  4. Sadakata, Akira (1997). Buddhist Cosmology: Philosophy and Origins, Tokyo: Kōsei Pub., p. 47
  5. Bane, Theresa (2014-03-08). Encyclopedia of Imaginary and Mythical Places (ภาษาอังกฤษ). McFarland. p. 28. ISBN 978-1-4766-1565-3.
  6. Buswell, Robert E. (2003). The Princeton Dictionary of Buddhism. Princeton: Princeton University Press. p. 86. ISBN 9781400848058.
  7. Singh, N.K.; Mishra, A.P. (2010). Global Encyclopaedia of Indian Philosophy. Global Vision Publishing House. p. 50. ISBN 978-8182202948.