ข้ามไปเนื้อหา

อเล็กซานเดอร์ หวัง (นักออกแบบ)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อเล็กซานเดอร์ หวัง
Alexander Wang
อเล็กซานเดอร์ หวัง เมื่อปี 2018
เกิดค.ศ. 1983 (อายุ 40–41 ปี)
ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา
การศึกษาสถาบันการออกแบบเพียร์สันส์ (Parsons School of Design)
อาชีพนักออกแบบแฟชั่น
ค่าย
  • Alexander Wang
  • Alexander Wang.t
เว็บไซต์alexanderwang.com

อเล็กซานเดอร์ หวัง (อังกฤษ: Alexander Wang; ชื่อจีน: หวัง ต้าเหริน, 王大仁; เกิดปี 1983)[1] เป็นนักออกแบบแฟชั่นชาวอเมริกัน[2][3]

หวังเป็นที่รู้จักสำหรับงานออกแบบแนวเออร์บัน (Urban design) หลังเขาออกแบบคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ร่วงปี 2008 โดยใช้สีดำเป็นหลัก[4] เขาเปลี่ยนมาออกแบบคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ผลิปี 2009 โดยใช้สีสว่างเช่นสีส้ม, ม่วงฝุ่น (dusty purple), อะควา (aqua) และชมพูร้อนแรง (hot pink)[5] ในช่วงเดียวกันก็กลับไปใช้ผ้าสีดำเป็นหลัก และเขามักเป็นที่ยอมรับและเชิดชูในฝีมือการตัดเย็บที่โดดเด่นกว่าใคร ๆ[6][7] เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2015 มีการประกาศว่าเขาลาออกจาก Balenciaga

ชีวิตช่วงต้นและการศึกษา

[แก้]

หวังเกิดที่ซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยบิดามารดาเป็นชาวไต้หวัน[8][9][10] เขามีพี่ชาย/น้องชายชื่อว่าเดนนิส (Dennis)[11] หวังไม่ได้พูดภาษาจีนแมนดาริน[12] เขาเคยพูดภาษาจีนแมนดารินในระดับเริ่มต้นออกวิดีโอของเขา ทานข้าวกับอเล็กซ์ (Eating with Alex)

เมื่อหวังอายุได้ 15 ปี เขาได้เดินทางไปเข้ารวมโปรแกรมสอนออกแบบภาคฤดูร้อนที่สถาบันเซ็นทรอลเซนต์มาร์ตินส์ (Central Saint Martins)[13] หวังเรียนระดับชั้นประถมและมัธยมต้นที่โรงเรียนฮอว์เคอร์ (Hawker School)[14] และย้ายไปเรียนที่โรงเรียนสตีเวนสัน (Stevenson School) โรงเรียนประจำในเพบเบิลบีช (Pebble Beach) ในเกรด 9 (เทียบเท่า ม.3 ในไทย) ส่วนชีวิตวัยรุ่นที่เหลือนั้นเขาย้ายมาอาศัยอยู่ที่ซานฟรานซิสโกและได้เข้าเรียนที่โรงเรียนดรูว์ (Drew School) ในระดับชั้นมัธยมปลาย

เมื่อหวังอายุได้ 18 ปี เขาได้ย้ายไปอยู่ที่นิวยอร์กซิตี เพื่อศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาที่ สถาบันการออกแบบเพียร์สันส์ (Parsons School of Design)[15]

หลังศึกษาได้เป็นเวลา 2 ปีในพาร์สันส์ เมื่อปี 2005 เขาได้ตัดสินใจแสวงหาการเปิดตัวแฟชั่นเลเบล (fashion label) ของตนเอง ซึ่งจะเริ่มต้นด้วยคอลเลคชั่นเสื้อถัก (knitwear) เป็นหลัก ฤดูใบไม้ร่วงปี 2007 หวังได้นำคอลเลคชั่นตัวเต็มที่เป็นชุดพร้อมใส่สำหรับสตรี (women's ready-to-wear) ขึ้นแสดงบนแคทวอล์กในนิวยอร์กเป็นครั้งแรก เพื่อรับฟังคำวิจารณ์ เขาได้รับรางวัล CFDA/ทุนแฟชั่นโว้ก (Vogue Fashion Fund) ในปี 2008 ซึ่งมีทุนทรัพย์จำนวน $20,000 เพื่อใช้ขยายกิจการของผู้ได้รับรางวัล[15] That same year, he launched his first handbag collection.

ในปี 2009 หวังได้เปิดตัวเสื้อยืดสตรี (women's T) ตามด้วยเสื้อยืดบุรุษ (Men's T) โดยอเล็กซานเดอร์ หวัง (by Alexander Wang) ในปีถัดมา ในปี 2009 เขายังได้รับการจดจำอย่างมากจากที่เขาชนะรางวัลนักออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีแห่งปีโดยสวารอฟสกีและ CFDA (CFDA's Swarovski Womenswear Designer of the Year Award) เช่นเดียวกันในปี 2009 เขายังเป็นผู้ได้รับรางวัลสวิสเท็กซ์ไทลส์ (Swiss Textiles Award)[16] ไลน์เครื่องแต่งกายของหวังในปัจจุบันทั่วโลกมีสต็อกมากกว่า 700 ร้านค้าแฟชั่นและในห้างหรูหราเช่น Bloomingdale's, Barneys New York, Neiman Marcus, Bergdorf Goodman, Dover Street Market, Browns, Saks Fifth Avenue และ Net-a-Porter

อาชีพ

[แก้]

หวังเปิดตัวคอลเลคชั่นเครื่องแต่งกายสตรีตัวเต็มในปี 2007 คอลเลคชั่นต่าง ๆ ของหวังในปัจจุบันมีวางขายในร้านค้าแฟชั่นมากกว่า 700 แห่งทั่วโลก และร้านค้าเดี่ยวของแบรนด์ "อเล็กซานเดอร์ หวัง" จำนวน 16 แห่ง ใน 7 ประเทศ เขาได้รับรางวัล Council of Fashion Designers of America (CFDA)/Vogue Fashion Fund Award ประจำปี 2008 ในปี 2009 เขาเป็นที่รู้จักมากขึ้นหลังชนะรางวัลนักออกแบบเครื่องแต่งกายสตรีแห่งปีจาก Swarovski Womenswear Designer of the Year ต่อมาในปีเดียวกันก็ได้รับรางวัล Swiss Textiles Award เมื่อปี 2010 เขาได้รับรางวัล Swarovski Designer of the Year อีกครั้งในหมวดหมู่นักออกแบบเครื่องประดับตกแต่ง (accessory) ในปี 2011 นิตยสาร GQ สหรัฐอเมริกาได้เชิดชูหวังให้เป็นนักออกแบบเครื่องแต่งกายบุรุษที่ยอดเยี่ยมที่สุดแห่งปี (the Best Menswear Designer of the Year) ในปีเดียวกันเขายังชนะรางวัลเครื่องประดับตกแต่ยอดเยี่ยมของ CFDA (CDFA's Best Accessory Designer) ในเดือนตุลาคม 2013 หวังได้รับเกียรติให้เป็น "ดาวแฟชั่น" (‘Fashion Star’) โดยแฟชั่นกรุ๊ป อินเตอร์เนชั่นนัล (Fashion Group International) รางวัลซึ่งมอบให้โดย Hamish Bowles บรรณาธิการใหญ่ชาวยุโรปของนิตยสารโว้ก สหรัฐอเมริกา

ร้านค้าเดี่ยวแบรนด์ Alexander Wang แห่งแรก (flagship store) เปิดอยู่ในย่าน SoHo, Lower Manhattan เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2011[17]

30 พฤศจิกายน 2012 Women's Wear Daily รายงานว่าหวังได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นผู้กำกับครีเอทีฟ (Creative Director) ของ Balenciaga หลังจาก Nicolas Ghesquière เดินทางออกจากบ้านฝรั่งเศส ด้วยตำแหน่งงานนี้ หวังมีหน้าที่ในการดูแลไลน์เครื่องแต่งกายบุรุษ สตรี และเครื่องประดับตกแต่งแบบพร้อมสวม (Women's and Men's ready-to-wear and accessories lines) ของ Balenciaga เขาเปิดตัวคอลเลคชั่น Fall-Winter 2013 ของ Balenciaga ในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 ที่ซาลอนส์ (salons) เก่าแก่ของ Balenciaga ตั้งอยู่ที่ 10 avenue George V, ปารีส, 75008[18]

เมื่อ 13 เมษายน 2014 มีการประกาศว่าหวังจะเป็นนักออกแบบคนถัดไปที่จะออกแบบคอลเลคชั่นให้กับ H&M แบรนด์แฟชั่นค้าปลีกสัญชาติสวีเดน ซึ่งคอลเลคชั่นของหวังที่ทำให้กับ H&M นั้นวางขายในวันที่ 6 พฤศจิกายน 2014[19] ประกอบด้วยเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรี รวมทั้งเครื่องประดับตกแต่งชิ้นดังที่เขาเลือก ข่าวนี้เปิดเผยผ่านทางหน้าอินสตาแกรมของหวังเอง

เมื่อ 31 กรกฎาคม 2015 Kering ได้ประกาศออกสื่อว่าหวังจะลาออกจาก Balenciaga ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่เป็นการยินยอมร่วมกันระหว่างแบรนด์กับหวัง

ในปี 2016 หวังขึ้นนั่งตำแหน่งซีอีโอและประธานของแบรนด์ Alexander Wang สืบทอดจากมารดาของเขา และพี่สะใภ้ของเขาตามลำดับ[20] ในปีเดียวกันเขาได้รับเงินชดเชยจำนวน 90 ล้านดอลล่าร์สหรัฐจากการฟ้องร้องจำเลย 45 ราย ซึ่งบริหารเว็บไซต์จำนวน 459 แห่งซึ่งจำหน่ายสินค้าของปลอมเลียนแบบแบรนด์ของเขา อย่างไรก็ตามจำนวนเงินนั้นเหมือนเป็นเพียงสัญลักษณ์เท่านั้น เป็นไปได้ว่าทั้งเขาและแบรนด์ไม่ได้รับเงินแม้แต่นิดเดียวจากเงินค่าชดเชยนั้น[21]

ชีวิตส่วนตัว

[แก้]

อเล็กซานเดอร์ หวัง เป็นผู้ที่สนับสนุนชุมชน LGBTQ อย่างเปิดเผย[22] ในปี 2018 หวังร่วมมือกับแบรนด์ Trojan ปล่อยแคปซูลคอลเลคชั่น "Protect Your Wang" ซึ่งมีจำหน่ายในจำนวนจำกัด (limited-edition) เพื่อสนับสนุนชุมชน LGBTQ และเพื่อเฉลิมฉลองเกย์ไพรด์[23]

ถึงแม้หวังจะเกี่ยวพันอย่างมากกับเครื่องแต่งกายกีฬา (sportswear) แต่เขาไม่ใช่คนที่ชอบเล่นกีฬา และในความเป็นจริงเขาไม่เคยเล่นกีฬาเลยด้วยซ้ำ[24]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Alexander Wang". London, England: The Business of Fashion. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 3, 2019.
  2. "Biography – Alexander Wang". Alexanderwang.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 25, 2012. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
  3. "Alexander Wang Named Balenciaga Creative Director". Vogue.uk.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-03. สืบค้นเมื่อ November 30, 2012.
  4. "Alexander Wang Fall 2008 Ready-to-Wear Collection". Style.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ May 10, 2012. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
  5. Mistry, Meenal (September 6, 2008). "Alexander Wang Spring 2009 Ready-to-Wear Collection". Style.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2012. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
  6. Mistry, Meenal (February 14, 2009). "Alexander Wang Fall 2009 Ready-to-Wear Collection". Style.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ March 12, 2012. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
  7. "Stevenson School: Back Porch 2013.02: Courage". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2013-11-13.
  8. "Designer Alexander Wang shares pride at his immigrant roots". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2018-06-04. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  9. DFCultures (2016-11-07). "Alexander Wang | Taiwanese-American". Defining Cultures (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.[ลิงก์เสีย]
  10. "7 Taiwanese and Taiwanese Americans Who Are Defining the World of Fashion". City543 (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-21. สืบค้นเมื่อ 2018-12-14.
  11. https://www.businessoffashion.com/articles/news-analysis/alexander-wang-becomes-ceo-and-chairman-of-his-namesake-brand
  12. "ALEXANDER WANG SAYS HE DOESN'T SPEAK MANDARIN, IS 'DOING SOMETHING QUITE DIFFERENT' AT BALENCIAGA". Fashionista. Wang also more or less dismissed rumors that his Chinese connections helped him get the job. A few outlets have reported that Wang speaks Mandarin and that his parents are somehow involved in garment manufacturing in China. Both of those reports are untrue, according to Wang, who tells Menkes he can barely order a bowl of rice in the language. “It’s a false background," he said, "My family had no experience in garment production." Hopefully Balenciaga isn't surprised by this news (hey, we all lie on our resumés, right?).
  13. Sanchez, Karizza. "10 Things You Didn't Know About Alexander Wang". Complex. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-12-07. สืบค้นเมื่อ 22 December 2016.
  14. "Alumnus Wang Named to Forbes 30 Under 30: Art & Design for Award-Winning Lifestyle Brand". สืบค้นเมื่อ December 20, 2011.
  15. 15.0 15.1 "Alexander Wang – Designer Fashion Label". New York Magazine. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-02-26. สืบค้นเมื่อ March 27, 2012.
  16. "Alexander Wang wins 2009 Swiss Textiles Award". The Independent. London. November 13, 2009. สืบค้นเมื่อ 7 November 2014.
  17. Grinspan, Izzy (February 14, 2011). "Alexander Wang's Soho Store Opens This Thursday, February 17". Racked NY.
  18. Socha, Miles. "Alexander Wang to Take Reins at Balenciaga". WWD.
  19. "Alexander Wang For H&M – New Collection Collaboration (Vogue.co.uk)". Vogue UK.
  20. https://fashionista.com/2016/06/alexander-wang-ceo
  21. "Alexander Wang's Bittersweet Legal Award (Vogue.co.uk)". Vogue UK. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-18. สืบค้นเมื่อ 2020-04-14.
  22. "'My First Gay Bar': Rachel Maddow, Andy Cohen and Others Share Their Coming-Out Stories". The New York Times. Atlanta. June 22, 2016. สืบค้นเมื่อ 15 October 2019.
  23. "Pride 2018: Alexander Wang sends a powerful message about sexual health in the LGBT community". The New York Times. Atlanta. June 26, 2018. สืบค้นเมื่อ 15 October 2019.
  24. "10 Things You Didn't Know About Alexander Wang". The Fashion Spot. Atlanta. May 15, 2015. สืบค้นเมื่อ 21 October 2019.