ข้ามไปเนื้อหา

อู้ตั่น

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อู้
ตั่น
သန့်
อู้ตั่นในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1963
เลขาธิการสหประชาชาติคนที่ 3
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤศจิกายน ค.ศ. 1961 – 31 ธันวาคม ค.ศ. 1971
ก่อนหน้าด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์
ถัดไปควร์ท วัลท์ไฮม์
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด22 มกราคม ค.ศ. 1909(1909-01-22)
ป้านตะนอ บริติชพม่า บริติชราช
เสียชีวิต25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974(1974-11-25) (65 ปี)
นครนิวยอร์ก รัฐนิวยอร์ก สหรัฐ
สาเหตุการเสียชีวิตมะเร็งปอด
ที่ไว้ศพKandawmin Garden Mausolea ย่างกุ้ง พม่า
เชื้อชาติพม่า
พรรคการเมืองAFPFL (1947 – 1958)
คู่สมรสDaw Thein Tin (died 1989)
บุตร
  • Maung Bo
  • Tin Maung Thant
  • Aye Aye Thant
บุพการี
  • Po Hnit
  • Nan Thaung
ญาติ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยย่างกุ้ง
ลายมือชื่อ

ตั่น (พม่า: သန့်; เอ็มแอลซีทีเอส: san.; ออกเสียง: [θa̰ɰ̃]; 22 มกราคม พ.ศ. 2452 – 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2517) หรือที่เรียกร่วมกับคำนำหน้าชื่อว่า อู้ตั่น (ဦးသန့်) เป็นนักการทูตชาวพม่า และเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติใน ค.ศ. 1961 ถึง 1971 เป็นเวลา 10 ปีกับอีกหนึ่งเดือน[a]

อู้ตั่นเสียชีวิตเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1974 ที่นครนิวยอร์ก สหรัฐ ด้วยโรคมะเร็งปอด รวมอายุได้ 65 ปี

ชีวิตช่วงต้น

[แก้]
ตั่นขณะศึกษาที่มหาวิทยาลัยย่างกุ้งใน ค.ศ. 1927

ตั่นเป็นลูกคนแรกจากลูกชายสี่คนที่เกิดในป้านตะนอ บริติชพม่า จากครอบครัวเจ้าของที่ดินที่ร่ำรวยปานกลางและพ่อค้าข้าว Po Hnit พ่อของเขา ซึ่งจบการศึกษาที่โกลกาตา เป็นบุคคลเดียวในเมืองที่สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว[2] โดยเป็นคนก่อตั้งสมาคมวิจัยพม่าและช่วยก่อตั้งหนังสือพิมพ์เดอะซัน (สุริยะ) ที่ย่างกุ้ง[2][3] ถึงแม้ว่าสมาชิกครอบครัวของเขามีเชื้อสายพม่าและนับถือศาสนาพุทธ ตั่น-มหยิ่นอู้ (หลานชายของอู้ตั่น) รายงานว่า พ่อของตั่นมีบรรพบุรุษ "จากทั้งอินเดียและจีน พุทธและมุสลิม เช่นเดียวกันกับไทใหญ่และม้ง"[4] พ่อของเขาหวังว่าลูกชายทั้งสี่จะจบในระดับปริญญา[5] Khant, Thaung และ Tin Maung กลายมาเป็นนักการเมืองและนักวิชาการ[3]

ตั่นมีส่วนร่วมในการตีพิมพ์หนังสือพิมพ์และวารสารบางวส่วนภายใต้นามปากกา "Thilawa" และแปลหนังสือหลายเล่ม ซึ่งรวมไปถึงเล่มหนึ่งของสันนิบาตชาติ[6] เขาได้แรงบันดาลใจจากเซอร์สแตฟฟอร์ด คริปปส์, ซุน ยัตเซ็น และมหาตมา คานธี[7] ในช่วงวิกฤตการเมืองพม่า ตั่นอยู่ตรงกลางระหว่างกลุ่มชาตินิยมกับกลุ่มจงรักภักดีต่ออังกฤษ[8]

หมายเหตุ

[แก้]
  1. รวม 3,683 วัน ซึ่งรวมช่วงว่างตำแหน่งหนึ่งเดือนในเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ค.ศ. 1966[1]

อ้างอิง

[แก้]
  1. UN website's biography of Thant
  2. 2.0 2.1 Bingham 1966, p. 29.
  3. 3.0 3.1 Robert H. Taylor, บ.ก. (2008). Dr. Maung Maung: Gentleman, Scholar, Patriot. Institute of Southeast Asian Studies. pp. 211–212. ISBN 978-981-230-409-4.
  4. Thant Myint-U (2011). Where China Meets India: Burma and the New Crossroad of Asia. New York: Farrar, Straus and Giroux. pp. 76. ISBN 978-0-374-98408-3.
  5. Bingham 1966, p. 32.
  6. Naing, Saw Yan (January 22, 2009). Remembering U Thant and His Achievements เก็บถาวร 2012-03-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. The Irrawaddy.
  7. Dorn 2007, p. 144.
  8. Lewis 2012.

บรรณานุกรม

[แก้]

อ่านเพิ่ม

[แก้]
  • Bernard J. Firestone (2001). The United Nations under U Thant, 1961–1971. Metuchen, N.J: Scarecrow Press. ISBN 0-8108-3700-5.
  • Ramses Nassif (1988). U Thant in New York, 1961–1971: A Portrait of the Third UN Secretary-General. New York: St. Martin's Press. ISBN 0-312-02117-8.
  • Hanwong, L. (2014). ʻŪ than nai thāna lēkhāthikān ʻOngkān Sahaprachāchāt chāo ʻĒchīa khon rǣk [U Thant as the first Asian secretary-general of the United Nations]. In A. Khamson, T. Weerakietsoontorn & C. Khuntong (Eds.), Yō̜n phinit phūsāng prawattisāt ʻĒchīa Tawanʻō̜k Chīang Tai [Reflections on Makers of Southeast Asian History 2] (pp. 131–63). Bangkok: Reviews of Southeast Asian History and Culture Project (TRF). (in Thai)
  • U Thant (1978). View from the UN. Garden City, NY: Doubleday. ISBN 0-385-11541-5.
  • ลลิตา หาญวงศ์. “อูถั่นในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติชาวเอเชียคนแรก.” ใน อรพินท์ คำสอน, ธิษณา วีรเกียรติสุนทร และชลธิชา ขุนทอง (บก.), ย้อนพินิจผู้สร้างประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2. น. 131–63. กรุงเทพฯ: โครงการวิจัย “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สกว.), 2557.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
ก่อนหน้า อู้ตั่น ถัดไป
ด๊าก ฮัมมาร์เฮิลด์
เลขาธิการสหประชาชาติ คนที่ 3
(30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2504 – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2514)
ควร์ท วัลท์ไฮม์