ข้ามไปเนื้อหา

อูหลง (กระต่าย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อูหลง
ウーロン
อูหลงกำลังทรงตัวโดยมีวาฟเฟิลวางอยู่บนหัวในการแสดงครั้งสุดท้าย
ฉายาอื่น ๆ
  • กระต่ายอูหลง
  • กระต่ายแพนเค้ก
สายพันธุ์กระต่าย
เพศผู้
เกิดค.ศ. 1994
ฮอกไกโด, ญี่ปุ่น
ตายมกราคม 7, 2003(2003-01-07) (8 ปี)
ฮอกไกโด, ญี่ปุ่น
ปีปฏิบัติงาน1999–2003
เจ้าของฮิโรโนริ อาคุตากาวะ
"Oolong's Photo journal". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 7, 2008.

อูหลง (ウーロン, Ūron, มาจากภาษาจีน: 烏龍; 1994 – 7 มกราคม 2003) เป็นกระต่ายบ้านที่เลี้ยงโดย ฮิโรโนริ อาคุตางาวะ อูหลงกลายเป็นปรากฏการณ์ทางอินเทอร์เน็ต เมื่อเจ้าของได้อัปโหลดภาพของกระต่ายตัวนี้ที่มีสิ่งของวางอยู่บนศีรษะ โดยเฉพาะความสามารถในการทรงตัวกับวัตถุต่าง ๆ เช่น โดรายากิ

เว็บไซต์ของอาคุตางาวะแสดง "การเดินทางด้วยภาพถ่าย" ของอูหลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการเดินทางของกระต่ายกับเจ้าของภายในบ้าน ลานบ้าน และสถานที่อื่น ๆ เว็บไซต์ดังกล่าวได้รับความสนใจในวงกว้างมากขึ้นเมื่อ Syberpunk ซึ่งเป็นเว็บไซต์ที่มุ่งเน้นด้านวัฒนธรรมแปลกประหลาดของญี่ปุ่น กล่าวถึงเรื่องราวนี้ในปี 2001[1]

ประวัติ

[แก้]

อูหลงได้รับการฝึกให้ทรงตัวโดยมีสิ่งของวางอยู่บนหัว ซึ่งเจ้าของของเขาเรียกศิลปะนี้ว่า 'การแสดงบนหัว' (Head Performance) [2] วัตถุชิ้นแรกที่วางบนหัวของอูหลงคือกระป๋องฟิล์ม 35 มม. เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 1999[3] ต่อมาอาคุตากาวะได้ใช้ถ้วยชา, ขนมปัง, ผลไม้, โดรายากิ และกะโหลกกระต่าย แม้จะมีปฏิกิริยาบวกเป็นส่วนใหญ่จากผู้ชมทางอินเทอร์เน็ต[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็มีเสียงวิจารณ์บางส่วนที่เชื่อว่านี่เป็นการทารุณกรรมสัตว์ ในการตอบกลับคำกล่าวหา อาคุตากาวะได้เขียนข้อความถึงผู้เข้าชมเว็บไซต์ว่า:

มีผู้เยี่ยมชมบางคนเขียนอีเมลหาผม กล่าวหาว่าผมโหดร้ายต่อกระต่ายของผมและกำลังทารุณสัตว์ ซึ่งนี่ไม่ใช่เจตนาของผมเลยเมื่อผมเผยแพร่ภาพถ่ายที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถอันโดดเด่นของอูหลงในการทรงตัวสิ่งของบนหัว ผมมั่นใจว่าคุณจะเข้าใจหากคุณดูเว็บไซต์ทั้งหมดของผม[4]

ตลอดช่วงชีวิตของอูหลง เจ้าของได้บันทึกภาพการเดินทางผ่านสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งที่เป็นธรรมชาติและไม่ธรรมชาติ รวมทั้งภาพถ่ายจำนวนนับร้อยที่แสดงความสามารถในการทรงตัวสิ่งของ อูหลงได้รับความสนใจจากสื่อ รวมถึงหนังสือพิมพ์ นิวยอร์กไทมส์[5] และกลายเป็นอินเทอร์เน็ตมีม หนึ่งในภาพถ่ายของอูหลงได้กลายเป็น มีมที่แพร่หลายบนอินเทอร์เน็ต ชื่อ "กระต่ายแพนเค้ก" โดยมีภาพของอูหลงวางโดรายากิบนหัว อีกภาพแสดงให้เห็นอูหลงวางแพนเค้กบนหัวพร้อมคำบรรยายว่า "ฉันไม่รู้ว่าคุณพูดเรื่องอะไร... นี่กระต่ายที่มีแพนเค้กบนหัวของมัน."[6]

อูหลงเสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 มกราคม 2003[7] อาคุตากาวะได้ถ่ายภาพวันสุดท้ายของอูหลงและโพสต์ลงบนเว็บไซต์ของเขา[8] อูหลงได้รับการสืบทอดในฐานะสัตว์เลี้ยงของอาคุตะกาวะโดยกระต่ายอีกตัวหนึ่งชื่อว่า 'หยู่ปิง' (แปลว่า "ขนมไหว้พระจันทร์") ซึ่งเป็นกระต่ายแคระพันธุ์เนเธอร์แลนด์ดวอฟ

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Oolong. 'The rabbit of this day was observed this way.'". Internet Archive. June 7, 2002. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 7, 2002. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
  2. "Oolong, the "head performance" bunny". collision detection. April 10, 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-03-11.
  3. "Oolong pictures". Hironori Akutagawa. May 25, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 1, 2015. สืบค้นเมื่อ 2007-03-11.
  4. "English introduction to Akutagawa's web site". Internet Archive. September 26, 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 26, 2010. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.
  5. Boxer, Sarah (May 25, 2003). "Prospecting for Gold Among the Photo Blogs". New York Times. สืบค้นเมื่อ 2007-03-10.
  6. "I have no idea what you're talking about, so here's a picture of a bunny with a pancake on its head". Everything2. December 10, 2005. สืบค้นเมื่อ 2007-03-11.
  7. "The last photos taken before Oolong passed away". Internet Archive. January 3, 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ December 29, 2008. สืบค้นเมื่อ 2017-12-16.
  8. "This is the last photo of Oolong, on Jan.4 (3 days before his passing)". Internet Archive. September 23, 2003. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 8, 2004. สืบค้นเมื่อ 2012-05-05.