ข้ามไปเนื้อหา

อุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป พ.ศ. 2553

พิกัด: 27°09′31″S 70°29′52″W / 27.158609°S 70.497655°W / -27.158609; -70.497655
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป พ.ศ. 2553
Color photo of San Jose Mine from a distance with several workers in the foreground
การหาทางช่วยเหลือผู้ติดอยู่ในเหมืองเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553
วันที่5 สิงหาคม ค.ศ. 2010 (2010-08-05)  – 13 ตุลาคม ค.ศ. 2010 (2010-10-13)
(69 วัน)
เวลา14:05 CLT (UTC−4)
ที่ตั้งทะเลทรายอาตากามา ใกล้เมืองโกเปียโป, ประเทศชิลี
พิกัด27°09′31″S 70°29′52″W / 27.158609°S 70.497655°W / -27.158609; -70.497655
ผู้รายงานคนแรกSan Esteban Mining Company
ผลคนงานเหมืองทั้ง 33 คนปลอดภัย
ทรัพย์สินเสียหายการปิดและการสูญเสียทั้งหมด ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2010[ต้องการอัปเดต]
คดีความคดีความ 2 ล้าน ดอลลาร์สหรัฐ ข้อมูลเมื่อ สิงหาคม 2010[ต้องการอัปเดต]
เว็บไซต์Ministry of Mining, Chile
ที่ตั้งของเหมืองซานโฮเซในชิลี

อุบัติเหตุเหมืองในโกเปียโป พ.ศ. 2553 เป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ในเหมืองทองและทองแดง ชื่อว่าซานโฮเซ (สเปน: San José) ใกล้กับเมืองโกเปียโป ประเทศชิลี เหมืองดังกล่าวเกิดถล่ม ทำให้ชาย 33 คนติดอยู่ในเหมืองใต้ดินด้านล่าง[1][2] คนงานเหมืองต้องใช้ชีวิตอยู่ข้างใต้นาน 69 วัน[3]

เหมืองซานโฮเซ อยู่ทางเหนือของเมืองโกเปียโปราว 45 กิโลเมตร ทางตอนเหนือของประเทศชิลี คนงานเหมืองติดอยู่ลึกลงไป 700 เมตร และห่างจากทางเข้าหลักที่คดเคี้ยวราว 5 กิโลเมตร จากทางเข้าเหมือง ประวัติของเหมืองนี้ที่ไม่มั่นคง ซึ่งเคยมีอุบัติเหตุมาก่อนหน้านี้หลายครั้ง รวมถึงมีผู้เสียชีวิต 1 คน ก่อนหน้านี้[4]

การช่วยเหลือชีวิตคนงานเหมืองคนแรกเมื่อวันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 23:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น ผู้ขึ้นมาคนแรกคือ โฟลเรนซิโอ อาบาโลส (สเปน: Florencio Ávalos) ด้วยการใช้แคปซูล ถึงบนพื้นดินในเวลา 16 นาทีต่อมาเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 00:11 ตามเวลาท้องถิ่น[5][6] จนช่วยเหลือชีวิตคนงานเหมืองทั้ง 33 คน ครบเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 21:55 น. ตามเวลาท้องถิ่น มีหนึ่งคนที่ปอดบวม ส่วนคนอื่นมีติดเชื้อเกี่ยวกับฟันและมีปัญหาเกี่ยวกับกระจกตา[7]

ในการช่วยเหลือคนงานเหมืองนี้มีวิศวกรชาวไทยสองคนร่วมปฏิบัติภารกิจด้วย คือวชิรพงษ์ นาสารีย์ และสมพงษ์ พงกันยา[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Navarrete, Camila (6 August 2010). "Se confirman las identidades de mineros atrapados en mina San José en Región de Atacama" (ภาษาสเปน). Radio Bío Bío. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  2. "Onemi confirma a 33 mineros atrapados en yacimiento en Atacama" (ภาษาสเปน). La Tercera. 6 August 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-01-02. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  3. Illiano, Cesar (9 October 2010). "Rescue near for Chile miners trapped for 2 months". Reuters AlertNet. สืบค้นเมื่อ 11 October 2010.
  4. Haroon Siddique (23 August 2010). "Chilean miners found alive – but rescue will take four months". The Guardian. สืบค้นเมื่อ 23 August 2010.
  5. "First of 33 trapped miners reaches surface". CNN. 12 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-13. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  6. "Chile Miners Rescue: Live". Telegraph. 12 October 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-10-13. สืบค้นเมื่อ 12 October 2010.
  7. Chile Mine Rescue Live BBC News, 13 October 2010
  8. "2 วิศวกรช่วยคนงานเหมืองชิลีถึงไทย สุดปลื้มร่วมภารกิจ". ไทยรัฐ. October 20, 2010. สืบค้นเมื่อ February 17, 2019.