ข้ามไปเนื้อหา

อุธม สิงห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุธม สิงห์
เกิด26 ธันวาคม 1899
สุนาม, จังหวัดปัญจาบ, บริติชอินเดีย
เสียชีวิต31 กรกฎาคม ค.ศ. 1940(1940-07-31) (40 ปี)
บาร์นสเบรี, สหราชอาณาจักร
สาเหตุเสียชีวิตประหารชีวิตด้วยการเเขวนคอ
อาชีพนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพ
องค์การพรรคฆาทาร์, สมาคมสาธารณรัฐสังคมนิยมฮินดูสถาน, สมาคมผู้ใช้แรงงานอินเดีย
ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องอิสรภาพอินเดีย
บิดามารดา
  • เตหัล สิงห์ ชัมมู (บิดา)

อุธม สิงห์ (Udham Singh; 26 ธันวาคม 1899 – 31 กรกฎาคม 1940) เป็นนักปฏิวัติชาวอินเดียเหมือนกับ บากาต ซิงห์ จากพรรคฆาทาร์ เป็นที่รู้จักจากการลอบสังหารไมเคิล โอไดวเยอร์ อดีตร้อยโทผู้ว่าการจังหวัดปัญจาบในบริติชอินเดีย เมื่อวันที่ 13 มีนาคม 1940 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร เหตุจูงใจต่อการลอบสังหารนั้นเป็นเพื่อการแก้แค้นต่อกรณีสังหารหมู่ที่จัลเลียนวลาบาฆในอมฤตสระเมื่อปี 1919 ที่ซึ่งโอไดวเยอร์เป็นผู้รับผิดชอบ[1] อุธมได้ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยความผิดฐานฆาตกรรม และถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในเดือนกรกฎาคม 1940 ขณะถูกดำเนินคดี เขาใช้ชื่อ ราม โมฮัมหมัด สิงห์ อะซาด (Ram Mohammad Singh Azad) ซึ่งเป็นชื่อที่ประกอบด้วยตัวแทนของศาสนาสามศาสนาหลักในปัญจาบ (ราม: ศาสนาฮินดู, โมฮัมหมัด: ศาสนาอิสลาม และ สิงห์: ศาสนาซิกข์) และมีความหมายแสดงการต่อต้านอาณานิคมในคำว่า “อะซาด” อันแปลว่า อิสระเสรี[2]

อุธม สิงห์ เป็นบุคคลที่เป็นที่รู้จักมากในการเคลื่อนไหวเรียกร้องเอกราชของอินเดีย เขาถูกเรียกขานด้วยชื่อ ชาฮีด-อี-อะซาม สรทาร อุธม สิงห์ (Shaheed-i-Azam Sardar Udham Singh; การนำหน้าชื่อว่า "Shaheed-i-Azam" เป็นการเรียกว่าเป็น "ผู้พลีชีพผู้ยิ่งใหญ่"; the great martyr) ในรัฐอุตตราขัณฑ์ได้มีอำเภอหนึ่งที่ตั้งชื่อตามเขา (อำเภออุธมสิงห์นคร) เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของเขา ในเดือนตุลาคม 1995 โดยรัฐบาลมายาวตี[3]

เหตุยิงที่คากซ์เทินฮอลล์

[แก้]
คากซ์เทินฮอลล์ เวสท์มินส์เตอร์ ลอนดอน สถานที่เกิดเหตุ

ในวันที่ 13 มีนาคม 1940 ไมเคิล โอไดวเยอร์มีตารางงานต้องเดินทางไปร่วมงานเวนาร่วมระหว่างสมาคมอีสต์อินเดียกับเซนทรอลเอเชียนโซไซที (ปัจจุบันคือ ราชสมาคมกิจการเอเชีย) ที่คากซ์เทินฮอลล์ ลอนดอน สิงห์ได้ซ่อนปืนรีโวล์เวอร์ซึ่งไปซื้อได้มาจากทหารนายหนึ่งที่ผับ ไว้ในกระเป๋าเสื้อคลุมของเขา[4] จากนั้นจึงเข้าไปในฮอลล์และหาที่นั่ง หลังการสัมมนาสิ้นสุดลง สิงห์ชักปืนขึ้นมายิงโอไดวเยอร์สองครั้งขณะที่เขากำลังรุดหน้าไปยังโพเดียมพูด หนึ่งกระสุนที่เขายิงเจาะทะลุหัวใจปอดข้างขวาของโอไดวเยอร์ ส่งผลให้เขาเสียชีวิตทันที[5] บุคคลอื่น ๆ ที่ได้รับบาดเจ็บในเหตุการณ์ครั้งนั้นมี เซอร์หลุยส์ เดน, ลอวเรนซ์ ดูนดาส มาร์เกสที่สองแห่งเซทลันด์,[6] และชารลส์ คอนช์เรน-เบลลี บารอนที่สองแห่เลมิงทัน สิงห์ยอมให้ตำรวจจับแต่โดยดีทันทีหลังเขาก่อเหตุเสร็จ[7]

การตอบรับ

[แก้]

ถึงแม้ชาวอินเดียจำนวนมากจะมองว่าการกระทำของสิงห์เป็นไปเพื่อตอบกลับต่อความรุนแรงและทารุณของบริติชอินเดีย แต่ในทางการของประเทศอินเดียแล้ว การกระทำของเขาถูกตำหนิอย่างหนัก โดยมหาตมะ คานธีระบุว่าการกระทำของสิงห์นั้นเป็น "การกระทำไปด้วยความบ้าคลั่ง",[7] รุบว่า: "การกระทำอันรุนแรง (outrage) นี้ได้ทำให้ข้าพเจ้าเจ็บปวดอย่างมาก ข้าพเจ้าขอเรียกมันว่าเป็นการกระทำของความบ้าคลั่ง ... ข้าพเจ้าวาดหวังว่าสิ่งนี้จะไม่ถูกยินยอมให้ไปกระทบต่อการตัดสินทางการเมือง"[8] ส่วนกองทัพสาธารณรัฐสังคมนิยมฮินดูสถานได้ตำหนิข้อความของคานธี โดยถือว่าสิ่งนี้เป็นอุปสรรคนักต่อเยาวชนของอินเดีย[9] ปัณฑิต ชวาหรลาล เนห์รูจี เขียนไว้ในเดอะเนชั่นนอลเฮอรอลด์ ว่า "การลอบสังหาร[ของอุธม สิงห์]นั้นเป็นเรื่องที่ข้าพเจ้าเสียใจ แต่ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งยวดว่ามันจะไม่นำไปสู่การสะท้อนกลับทางการเมืองในอนาคตของอินเดีย"[10]

สิ่งสืบเนื่อง

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. Swami, Praveen (Nov 1997). "Jallianwala Bagh revisited: A look at the actual history of one of the most shocking events of the independence struggle". Frontline. 22. Vol. 14. India. pp. 1–14.
  2. Farina Mir (2010). The Social Space of Language: Vernacular Culture in British Colonial Punjab. University of California Press. p. 16. ISBN 978-0-520-94764-1.
  3. Singh, Anand Raj (12 March 2015). "Mayawati may create new district to tame old foe". The New Indian Express. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-04. สืบค้นเมื่อ 14 May 2016.
  4. The Murders of the Black Museum: 1870-1970 ISBN 978-1-854-71160-1 p. 365
  5. The Murders of the Black Museum: 1870-1970 ISBN 978-1-854-71160-1 p. 364
  6. Glasgow Herald 19 March 1940
  7. 7.0 7.1 The Black Museum ISBN 978-0-316-90332-5 pp. 364-365
  8. Harijan, 15 March 1940
  9. Singh, Sikander (1998). Udham Singh, alias, Ram Mohammed Singh Azad: a saga of the freedom movement and Jallianwala Bagh. B. Chattar Singh Jiwan Singh. p. 216.
  10. National Herald, 15 March 1940.
  11. "Government of Punjab, India".
  12. "Public Holidays 2016 and 2017".
  13. "Indian pop video honours activist's 1940 killing of British official". The Guardian. 31 July 2015.
  14. https://timesofindia.indiatimes.com/city/amritsar/rajnath-unveils-statue-of-udham-singh-at-jallianwala-bagh/articleshow/63291694.cms

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]
  • Fenech, Louis E. (October 2002). "Contested Nationalisms; Negotiated Terrains: The Way Sikhs Remember Udham Singh 'Shahid' (1899–1940)". Modern Asian Studies. 36 (4): 827–870. doi:10.1017/s0026749x02004031. JSTOR 3876476. (ต้องรับบริการ)
  • An article on Udham Singh—Hero Extraordinary in "The Legacy of The Punjab" by R M Chopra, 1997, Punjabee Bradree, Calcutta.
  • British Executions case file pertaining to Udham Singh