ข้ามไปเนื้อหา

อุทยานแห่งชาติเนียะฮ์

พิกัด: 3°48′50″N 113°46′53″E / 3.81389°N 113.78139°E / 3.81389; 113.78139
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มรดกโบราณคดีแห่งกลุ่มถ้ำของอุทยานแห่งชาติเนียะฮ์ *
  แหล่งมรดกโลกโดยยูเนสโก
ทางเข้าหลักของถ้ำเนียะฮ์
พิกัด3°48′50″N 113°46′53″E / 3.81389°N 113.78139°E / 3.81389; 113.78139
ประเทศ มาเลเซีย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
ประเภทมรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา(iii), (v)
อ้างอิง1014
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2567 (คณะกรรมการสมัยที่ 48)
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีแหล่งมรดกโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

มรดกโบราณคดีแห่งกลุ่มถ้ำของอุทยานแห่งชาติเนียะฮ์ (มลายู: Gua Niah) ตั้งอยู่ในเขตมิริ รัฐซาราวัก ประเทศมาเลเซีย ใกล้ชายฝั่งตะวันตกของเกาะบอร์เนียว ณ ใจกลางอุทยานแห่งชาติเนียะฮ์ เป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีถ้ำเนียะฮ์ ซึ่งมีการปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ที่ยาวนานที่สุดในเขตป่าฝน ครอบคลุมอย่างน้อย 50,000 ปี จากสมัยไพลสโตซีน ถึงกลางสมัยโฮโลซีน

ถ้ำเนียะฮ์ เป็นที่ตั้งสำคัญแห่งหนึ่งในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งค้นพบซากมนุษย์โบราณเมื่อ 40,000 ปีมาแล้ว[1] อันเป็นการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ที่เก่าแก่ที่สุดของมาเลเซียตะวันออก การศึกษาเพิ่มเติมเมื่อไม่นานมานี้ถูกตีพิมพ์ใน ค.ศ. 2006 แสดงหลักฐานของกิจกรรมของมนุษย์ครั้งแรกที่ถ้ำเนียะฮ์ เมื่อประมาณ 46,000 - 34,000 ปีมาแล้ว นอกจากนี้ยังพบสิ่งของต่างๆ ได้แก่ อุปกรณ์สับและเกล็ดสมัยไพลสโตซีน ขวานยุคหินใหม่ ขวานหินคมลาดด้านเดียว (adze) เครื่องปั้นดินเผา อัญมณีเปลือกหอย เรือ เสื่อ รวมถึงเครื่องมือเหล็ก เซรามิก และลูกปัดแก้วที่มีอายุย้อนไปถึงยุคเหล็ก การค้นพบที่มีชื่อเสียงที่สุดคือกะโหลกศีรษะมนุษย์ที่มีอายุประมาณ 38,000 ปีก่อนคริสตศักราช ภายในถ้ำมีภาพเขียนสีและหินเขียนสี อายุราว 1,200 ปี รวมถึงภาพโลงศพไม้หรือเรือมรณะ ในระหว่าง ค.ศ. 1954 ถึง ค.ศ. 1966 มีการขุดพบชิ้นส่วนกระดูกสัตว์ประมาณ 750,000 ชิ้น หนึ่งในนั้นถูกระบุว่าเป็นกระดูกฝ่ามือของเสือหนุ่ม[2]

แหล่งมรดกโลก

[แก้]

มรดกโบราณคดีแห่งกลุ่มถ้ำของอุทยานแห่งชาติเนียะฮ์ได้รับลงทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลกสมัยสามัญครั้งที่ 46 เมื่อ พ.ศ. 2567 ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ด้วยข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ในการพิจารณามรดกโลกทางวัฒนธรรม จำนวน 2 ข้อ[3] ดังนี้

  • (iii) เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
  • (v) เป็นตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนาทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ

อ้างอิง

[แก้]