ข้ามไปเนื้อหา

อีสเทิร์นซีบอร์ด

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อีสเทิร์นซีบอร์ด หรือที่รู้จักกันดีในชื่อ เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) คือเขตเศรษฐกิจที่กำลังพัฒนาและมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย เป็นศูนย์กลางที่มุ่งเน้นการส่งเสริมอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกของประเทศไทย สินค้าที่มีมูลค่าสูงส่งออก เช่น รถยนต์ยี่ห้อดังจากญี่ปุ่นผลิตในพื้นที่และส่งออกไปยังประเทศต่าง ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นฐานการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมอื่น ๆ อีกมากมาย พื้นที่ครอบคลุมพื้นที่หลัก 3 จังหวัด ได้แก่ ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และระยอง โดยมีสมุทรปราการเป็นบริเวณโดยรอบ[1]

การพัฒนา

[แก้]

โครงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในระยะเวลา 5 ปีแรก จะใช้งบประมาณทั้งสิ้น 1.5 ล้านล้านบาท[2] โครงการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเป็นส่วนสำคัญของนโยบาย 'ประเทศไทย 4.0' ซึ่งเป็นนโยบายเศรษฐกิจที่ประกาศใช้ในปี พ.ศ. 2559[3] พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ในฐานะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้อำนาจพิเศษตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ถึง 3 ครั้ง เพื่อขจัดอุปสรรคต่อการพัฒนาอีอีซี[4] ภูมิภาคนี้ถูกมองว่าเป็นพื้นที่สำคัญต่อการพัฒนา เนื่องจากตั้งอยู่ติดชายฝั่งอ่าวไทย และอยู่ใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญ มีสนามบินนานาชาติขนาดใหญ่รองรับอย่างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นท่าเรือน้ำลึกที่ใหญ่ที่สุดของประเทศไทย และเป็นอันดับที่ 23 ท่าเรือตู้สินค้าที่มีการจราจรสูงสุดในโลก ณ ปี 2557 ทางพิเศษบูรพาวิถีเชื่อมโยงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าเรือ และกรุงเทพฯ เข้าด้วยกัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Ono, Yukako (2018-02-20). "Thailand attempts do-or-die leap to a technology-driven economy". Nikkei Asian Review. สืบค้นเมื่อ 6 May 2018.
  2. Villadiego, Laura (23 July 2017). "THAILAND CHASES CHINESE MONEY, BUT AT WHAT COST?". South China Morning Post (SCMP). สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  3. Hall, Tom (29 October 2017). "Empowering ASEAN exhibitions". Exhibition World. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.
  4. Rujivanarom, Pratch (30 October 2017). "Critics slam NCPO order suspending city planning". The Nation. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2017. สืบค้นเมื่อ 30 October 2017.