อีริก โลแมกซ์
อีริก เจ. โลแมกซ์ | |
---|---|
เกิด | อีริก ซูเทอร์แลนด์ โลแมกซ์ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 เอดินบะระ สกอตแลนด์ |
เสียชีวิต | 8 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เบริก-อะพอน-ทวีด อังกฤษ | (93 ปี)
สัญชาติ | บริติช |
อาชีพ | เจ้าหน้าที่นายทหาร, นักเขียน |
มีชื่อเสียงจาก | The Railway Man |
อีริก ซูเทอร์แลนด์ โลแมกซ์ (30 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 – 8 ตุลาคม ค.ศ. 2012)[1] เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารแห่งกองทัพบกบริติช ที่ถูกส่งไปยังค่ายเชลยศึกสงครามของญี่ปุ่นในปี ค.ศ. 1942 เขาได้เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดสำหรับหนังสือของเขา, The Railway Man เกี่ยวกับประสบการณ์ของเขาในช่วงก่อน, ระหว่าง และหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งได้ชนะเลิศในการรับรางวัล NCR Book และ PEN/Ackerley Prize
ช่วงชีวิตแรก
[แก้]โลแมกซ์ เกิดในเอดินบะระ เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 เขาได้ลาออกจากรอยัลไฮสคูล, เอดินบะระ ตอนอายุ 16 ปี ภายหลังจากการเข้าร่วมชิงงานบริการพลเรือนและได้รับการว่าจ้างงานในที่ทำการไปรษณีย์[2][3] เมื่อวันที่ 8 เมษายน ค.ศ. 1936 เขาได้กลายเป็นสเมียนการเรียงลำดับข้อมูลและเจ้าหน้าที่การสื่อสาร(telegraphist)ในเอดินบะระ[4] เมื่อวันที่ 10 มีนาคม ค.ศ. 1937 เขาได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็นระดับชั้นธุรการ[5]
รับใช้ในกองทัพ
[แก้]ในปี ค.ศ. 1939 ตอนอายุ 19 ปี โลแมกซ์ได้เข้าร่วมเหล่าทหารสื่อสาร (Royal Corps of Signals) ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สองที่กำลังร้อนระอุขึ้น[6] ในเวลาต่อมาก็ได้เข้าไปฝึกอบรมเจ้าหน้าที่นายร้อยทหารที่ 152 เขาได้รับหน้าที่เป็นร้อยตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1940 เขาได้รับหมายเลขบริการ 165340[7] เขาได้เป็นเจ้าหน้าที่นายทหารการสื่อสารวิทยุที่จะเข้าไปประจำการในกรมทหารภาคสนามที่ห้า, กองปืนใหญ่
ในฐานะที่เป็นร้อยตรี เขาได้ถูกจับกุมโดยทหารญี่ปุ่นภายหลังจากการยอมจำนนที่สิงคโปร์ในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1942[6] เขาพร้อมกับเชลยศึกแห่งตะวันออกไกล (Far East Prisoners Of War-FEPOW) คนอื่น ๆ ได้ถูกบีบบังคับให้เดินขบวนทางเท้าไปยังเรือนจำจางี[3] จากนั้นเขาได้ถูกพาตัวไปที่จังหวัดกาญจนบุรี ประเทศไทย[1] และถูกบังคับให้สร้างเส้นทางรถไฟสายพม่า[6] ในปี ค.ศ. 1943 เขาและเชลยคนอื่นๆอีกห้าคนได้ถูกทรมานโดยพวกสารวัตรทหารญี่ปุ่นคือ เค็นเปย์ไท และตั้งข้อกล่าวหาว่า "ทำการเคลื่อนไหวในการต่อต้านญี่ปุ่น" ภายหลังจากวิทยุที่ซ่อนเอาไว้ในค่ายถูกพบเข้า เขาได้ถูกย้ายไปยังเรือนจำถนนออแทรมในสิงคโปร์สำหรับส่วนที่เหลือของสงคราม
เมื่อวันที่ 12 กันยายน ค.ศ. 1946 หนังสือราชกิจจานุเบกษาได้กล่าวประกาศถึงเขาในฐานะผู้ที่ได้รับการสดุดี"ในการยอมรับถึงความกล้าหาญและปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างยอดเยี่ยมในขณะที่ตกเป็นเชลยศึกสงคราม"[8] เขาได้รับเครื่องราชอิสรภรณ์ Efficiency Medal (ทหารอาสาสมัคร) ในปี ค.ศ. 1949[9] และได้รับยศตำแหน่งกิตติมศักดิ์ในตำแหน่งยศกัปตัน[10] เขาได้ออกจากกองทัพในปี ค.ศ. 1949[2]
ชีวิตต่อมาและเสียชีวิต
[แก้]ด้วยการที่ไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตพลเรือนได้ โลแมกซ์ได้เข้าร่วมราชการอาณานิคมและส่งจดหมายไปยังโกลด์โคสต์(ปัจจุบันคือกานา) จนกระทั่งปี ค.ศ. 1955 ภายหลังจากได้เรียนด้านการจัดการ เขาได้ทำงานให้กับคณะกรรม Scottish Gas และมหาวิทยาลัยสแตรธไคลด์ เขาได้ลาออกในปี ค.ศ. 1982[2]
โลแมกซ์ได้เป็นผู้ป่วยรายแรกของมูลนิธิการแพทย์เพื่อการดูแลผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการทรมาณ ชีวิตในภายหลังของเขาได้รวมถึงการคืนดีกับหนึ่งในอดีตผู้ที่ทรมานเขา ล่ามแปลภาษา ทาคาชิ นากาเซะ ซึ่งมาจากเมืองคูราชิกิ, ประเทศญี่ปุ่น ทาคาชิได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งเกี่ยวกับประสบการณ์ของตัวเขาเองในช่วงระหว่างและหลังสงครามที่มีชื่อเรื่องว่า Crosses and Tigers และบริจาคเงินให้แก่วัดพุทธที่อยู่ใกล้สะพานแห่งนั้นเพื่อชดใช้ในสิ่งที่ได้กระทำลงไปในช่วงสงคราม[11] การพบกันระหว่างทั้งสองคนได้ถูกถ่ายทำเป็นสารคดีที่ชื่อว่า ศัตรู, เพื่อนของฉัน(Enemy, My Friend? (1995)) ที่ถูกกำกับโดย Mike Finlason ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลมากมาย[ต้องการอ้างอิง]
โลแมกซ์ได้เสียชีวิตลงเมื่อมีอายุได้เพียง 93 ปี ได้ถูกประกาศโดยสำนักข่าวบีบีซี เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 2012 เขาได้เสียชีวิตลงที่เบริก-อะพอน-ทวีดในนอร์ทัมเบอร์แลนด์[1]
ชีวิตส่วนตัว
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อัตชีวิประวัติและภาพยนตร์
[แก้]![]() | ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
อื่นๆ
[แก้]เขาเป็นสมาชิกสภาแห่ง Freedom Association
งาน
[แก้]- The Railway Man (ISBN 0-09-958231-7)
- แม่แบบ:Lomax, Eric. 1995. The Railway Man. London: Jonathan Cape. ISBN
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 "BBC News – Eric Lomax: The Railway Man author dies aged 93". bbc.co.uk. 8 October 2012. สืบค้นเมื่อ 2012-10-08.
- ↑ 2.0 2.1 2.2 Childs, Martin (10 October 2012). "Eric Lomax: War hero whose experiences in the Far East became a bestselling memoir". London: The Independent.
- ↑ 3.0 3.1 van der Vat, Dan (9 October 2012). "Eric Lomax obituary". The Guardian. London. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ "No. 34282". The London Gazette. 8 May 1936. p. 2991.
- ↑ "No. 34387". The London Gazette. 9 April 1937. p. 2280.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Yardley, William (9 October 2012). "Eric Lomax, River Kwai Prisoner Who Forgave, Dies at 93". The New York Times. สืบค้นเมื่อ 10 October 2012.
- ↑ "No. 35056". The London Gazette (Supplement). 24 January 1941. p. 547.
- ↑ "No. 37720". The London Gazette (Supplement). 10 September 1946. p. 4574.
- ↑ "Viewing Page 385 of Issue 38517". London-gazette.co.uk. 1949-01-21. สืบค้นเมื่อ 2012-10-08.
- ↑ "Eric Lomax". The Daily Telegraph. London. 9 October 2012.
- ↑ Andreae, Christopher (9 August 1995). "Prisoner of War Learns To Forgive, Reconciles With His Interrogator". Christian Science Monitor.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Prisoner of War Learns To Forgive, Reconciles With His Interrogator, Christian Science Monitor, 9 August 1995
- อีริก โลแมกซ์ ที่อินเทอร์เน็ตมูวีเดตาเบส
- Pathe News footage of the Burma Railway