ข้ามไปเนื้อหา

อิโมนิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิโมนิแบบยามางาตะ จัดขึ้นที่ริมแม่น้ำ
อิโมนิแบบเซ็นได จังหวัดมิยางิ
อิโมนิในช่วงเทศกาล สามารถเห็นผู้คนมากมายมารวมตัวกันที่ริมแม่น้ำ

อิโมนิ (ญี่ปุ่น: 芋煮โรมาจิimoni) หรือ อิโมนิไก (芋煮会) เป็นงานประจำฤดูกาลที่จัดขึ้นในพื้นที่ต่างๆ ภูมิภาคโทโฮกุ เช่น จังหวัดยามางาตะ และ จังหวัดมิยางิ ในญี่ปุ่น ใน ฤดูใบไม้ร่วง โดยจะมารวมตัวกันที่ ริมแม่น้ำหรือสถานที่อื่น ๆ ทำนาเบโมโนะโดยใช้เผือกต่าง ๆ กินร่วมกันหลายคน มักจัดควบคู่ไปกับบาร์บีคิว

ภาพรวม

[แก้]

อิโมนิจัดขึ้นเพื่อเป็นกิจกรรมกระชับมิตรภาพระหว่างครอบครัว เพื่อน ชุมชน โรงเรียน ที่ทำงาน และกลุ่มอื่นๆ เป็นที่นิยมเป็นพิเศษในจังหวัดยามากาตะและจังหวัดมิยางิ และได้กลายเป็นประเพณีประจำฤดูใบไม้ร่วง เป็นหนึ่งในการเลี้ยงโต๊ะกลางแจ้ง เช่นเดียวกับงานฮานามิ ในฤดูใบไม้ผลิ ในจังหวัดนีงาตะ และ ภูมิภาคคันโต อิโมนิอาจจัดขึ้นในฐานะกิจกรรมท้องถิ่นเป็นหลัก

การเพาะปลูกเผือกในภูมิภาคโทโฮกุโดยใช้เมล็ดมันฝรั่งพันธุ์พื้นเมืองมักจะเก็บเกี่ยวประมาณ เดือนตุลาคม ดังนั้นอิโมนิไกทั่วไปจึงค่อย ๆ เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนตุลาคม หลังจากนั้น ฤดูท่องเที่ยวโดยทั่วไปคือตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงต้นเดือนพฤศจิกายน และจะสิ้นสุดเมื่อจบฤดูที่ใบไม้เปลี่ยนสีหรือหิมะแรกตก

นอกจากนี้ ยังมีการรวมคำว่า "คอมมิวนิเคชัน" (コミュニケーション) ที่แปลว่าการสื่อสาร เข้ากับคำว่า "อิโมนิ" กลายเป็น "อิโมนิเคชัน" (イモニケーション) เพื่อหมายถึงปฏิสัมพันธ์ในงานอิโมนิ[1][2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 芋煮会でイモニケーション!![ลิงก์เสีย](TBS『Nスタ』 2015年11月3日17:16-17:28)
  2. 芋煮で出会う、自分未来 イモニケーション2016 報告書PDF(宮城県情報サービス産業協会)