อินโดมี่
อินโดมี่รสหมี่โกเรง (หมี่ผัดแห้ง) | |
ชนิดสินค้า | บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป |
---|---|
ผลิตโดย | อินโดฟู้ด |
ประเทศ | อินโดนีเซีย |
เริ่มจำหน่าย | 1972 |
ตลาด | ทั่วโลก |
สำนวนติดปาก |
|
เว็บไซต์ | indomie |
อินโดมี่[1] (อักษรโรมัน: Indomie) เป็นตราสินค้าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ผลิตโดยบริษัทอินโดฟู้ด สัญชาติอินโดนีเซีย[2] ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ในปีหนึ่งมีการผลิตอินโดมี่รวม 15 พันล้านห่อ และส่งออกไปยัง 90 ประเทศทั่วโลก[3] การผลิตอินโดมี่อยู่ในอินโดนีเซียมาตั้งแต่เปิดตัวในปี 1972 ก่อนจะเพิ่มฐานการผลิตในไนจีเรียนับตั้งแต่ 1995 โดยในประเทศไนจีเรียนี้ อินโดมี่ได้รับความนิยมมากในบรรดาประเทศแอฟริกาอื่น ๆ[4]
ภูมิหลัง
[แก้]ศัพทมูล
[แก้]ชื่ออินโดมี่มาจาก "indo" ซึ่งหมายถึง "อินโดนีเซีย" และ "mie" คำภาษาอินโดนีเซีย ตรงกับคำว่า "หมี่"[5]
ประวัติศาสตร์
[แก้]บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเริ่มข้าสู่ตลาดอินโดนีเซียในปี 1969[6] โดยอินโดฟู้ดเป็นหนึ่งในบริษัทผู้ผลิตอาหารกึ่งสำเร็จรูปที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ตั้งขึ้นในปี 1982 โดย ซูโดโน ซาลิม (1916–2012) มหาเศรษฐีผู้ยังเป็นเจ้าของโรงสีแผ้งสาลีโบกาซารี (Bogasari Flour Mills)
ตราอินโดมี่เริ่มผลิตครั้งแรกในปี 1972[7] โดยบริษัท PT Sanmaru Food Manufacturing Co. Ltd. โดยมีรส Indomie Kuah Rasa Kaldu Ayam (ซุปไก่) ออกจำหน่ายเป็นรสแรก ต่อมาจึงได้ออกรส Indomie Kuah Rasa Kari Ayam (แกงกะหรี่ไก่) ในปี 1980 และต่อมาในปี 1982 ได้เปิดตัวบะหมี่แห้ง Indomie Mi Goreng (บะหมี่ผัด; "หมี่โกเรง") ซึ่งกลายมาเป็นบะหมี่ยอดนิยมในตลาดอินโดนีเซียทันที[6]
ในปี 1984 PT Sanmaru Food ถูกซื้อโดย PT Sarimi Asli Jaya ซึ่งตอนนั้นเป็นของโรงสีแป้งสาลีโบกาซารี ก่อนจะรวมเข้ากับ PT Indofood Sukses Makmur Tbk ในปี 1994 อินโดมี่ครองตลาดบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปกว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของประเทศอินโดนีเซียในปี 2010[8]
รสชาติและรูปแบบ
[แก้]อินโดมี่วางจำหน่ายในหลายรสและภายใต้หลายตรา[9] โดยแบ่งสินค้าออกเป็นห้ากลุ่ม ได้แก่: Indomie goreng (บะหมี่ผัดแห้ง), Indomie kuah (บะหมี่น้ำ), Kuliner Indonesia (อาหารอินโดนีเซีย), Mi Keriting (บะหมี่งอชั้นดี) และ Hype Abis (รสเผ็ดแปลกใหม่) รสส่วนใหญ่ของอินโดมี่เป็นผลงานสร้างสรรค์ของนูนุก นูไรนี (Nunuk Nuraini) พนักงานของบริษัทอินโดฟู้ดในแผนกบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป[10]
สายการผลิตของอินโดมี่รส "หมี่โกเรง" (Mi Goreng) หรือบะหมี่ผัดแห้ง มาจากหมี่ผัดแห้งของอินโดนีเซีย หมี่โกเรง เริ่มออกจำหน่ายในปี 1983 วางจำหน่ายในขนาดราว 85 กรัมต่อห่อ ภายในประกอบด้วยเครื่องปรุงสองซอง ซองแรกเป็นซีอิ๊วหวาน, ซอสพริก, น้ำมันปรุงรส และหอมเจียว อีกซองเป็นผงปรุงรส และหอมแดงเจียว ในบางพื้นที่มีวางขายหมี่โกเรงในรูปซองใหญ่ (Jumbo) ที่มีน้ำหนักสุทธิ 127–129 กรัม[11]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ ชื่อการค้าที่ใช้ในไทย อ้างจาก ท็อปส์ และ เฟซบุ๊กทางการของผู้นำเข้า
- ↑ "Noodles in Indonesia". euromonitor.com. March 2014.
- ↑ http://djpen.kemendag.go.id/app_frontend/admin/docs/publication/5361548127292.pdf. เก็บถาวร 19 ธันวาคม 2021 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Arzia Tivany Wargadiredja (24 April 2017). "How Indomie Became Insanely Popular in Nigeria". Vice (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 3 July 2017.
- ↑ "How Indomie became insanely popular in Nigeria". www.vice.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-07-25.
- ↑ 6.0 6.1 "Sejarah" (ภาษาอินโดนีเซีย). indomie.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 15 April 2019. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
- ↑ "Indomie | Flavour, Favoured by The World - About Us". www.indomie.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-05-24.
- ↑ "Indomie Kuasai 70 Persen Pasar Mie Instan" (ภาษาอินโดนีเซีย). Republika Online. 13 October 2010. สืบค้นเมื่อ 19 September 2014.
- ↑ Lucy Suganda (Indofood Marketing Manager) (28 November 2013). "Indofood Explores Asian Culinary Flavours". indofood.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-08-25. สืบค้นเมื่อ 2023-01-06.
- ↑ Yvette Tan (29 January 2021). "Indomie: Creator of cult favourite 'mi goreng' instant noodle dies". bbc.com.
- ↑ "Creating a Graphic Novel : Art – Food – PhotographyIndomie Mi Goreng Jumbo – Tom Yum – Instant Noodles – Creating a Graphic Novel : Art – Food – Photography". Sigmatestudio.com. 25 July 2010. สืบค้นเมื่อ 17 September 2016.