ข้ามไปเนื้อหา

อินเอกซ์เซส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินเอกซ์เซส
แสดงบนเวที ในปี 2007 โดย เจ.ดี. ฟอร์จูนร้องนำ
ข้อมูลพื้นฐาน
ที่เกิดซิดนีย์ นิวเซาท์เวลส์ ออสเตรเลีย
แนวเพลงร็อก, นิวเวฟ, ออลเทอร์นาทิฟร็อก, โพสต์พังก์, แดนซ์ร็อก
ช่วงปี1977–2012
ค่ายเพลงDeluxe, WEA, Atco/Atlantic, Polygram, Epic, Mercury, MX3, Petrol/EMI
อดีตสมาชิกแกร์รี แกรี เบียส์
แอนดรูว์ ฟาร์ริส
จอน ฟาร์ริส
ทิม ฟาร์ริส
เคิร์ก เพนกิลลี
ไมเคิล ฮัตเชนซ์
จอน สตีเวนส์
เจ. ดี. ฟอร์จูน
เคียแรน กริบบิน
เว็บไซต์เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ

อินเอกซ์เซส (อังกฤษ: INXS อ่านว่า "in excess") เป็นวงออสเตรเลียในแนวเพลงร็อกและนิวเวฟ ก่อตั้งวงโดยพี่น้องตระกูลฟาร์ริส ในปี 1977 ที่ซิดนีย์[1][2] โดยมีสมาชิกหลักคือ แกร์รี แกรี เบียส์ ตำแหน่งเบส, แอนดรูว์ ฟาร์ริส ตำแหน่งคีย์บอร์ด, จอน ฟาร์ริส ตำแหน่งมือกลอง, ทิม ฟาร์ริส ตำแหน่งลีดกีตาร์ และเคิร์ก เพนกิลลี ตำแหน่งกีตาร์/แซกโซโฟน[3] และนำโดยไมเคิล ฮัตเชนซ์ ตำแหน่งร้องนำ ที่ "หน้าตาหล่อ กระตุ้นความรู้สึกทางเพศ" และท่าทางบนเวทีอันดึงดูด ทำให้เขาเป็นจุดศูนย์กลางของวง[1][3] เดิมทีพวกเขาเป็นที่รู้จักในแนวเพลง นิวเวฟ/สกา/ป็อป ต่อมาพวกเขาทำเพลงแนวผับร็อก[1] รวมถึงใช้องค์ประกอบของเพลงฟังก์และแดนซ์

อินเอกซ์เซสประสบความสำเร็จในระดับนานาชาติ กับเพลงดังในยุคทศวรรษ 1980 และ 1990 รวมถึงอัลบั้มดังอย่าง Listen Like Thieves, Kick, X และ Welcome to Wherever You Are และซิงเกิลดังอย่าง "Original Sin", "Need You Tonight", "Devil Inside" และ "New Sensation"[4][5][6][7]

หลังจากที่ฮัตเชนซ์เสียชีวิตในปี 1997 วงอินเอกซ์เซสก็ไม่ได้แสดงอีกเป็นปี[1] โดยทางวงได้ปรากฏตัวกับนักร้องรับเชิญอย่างเช่น จิมมี บานส์, เทเรนซ์ เทรนต์ ดาร์บีและจอน สตีเวนส์ ซึ่งสตีเวนส์ยังได้ร่วมวงอย่างเป็นทางการในการทัวร์และบันทึกเสียงสำหรับเซสชันในปี 2002[2]

ในปี 2005 สมาชิกของวงในมีส่วนร่วมในรายการเรียลลิตี้ ออกอากาศทั่วโลก เพื่อทำการคัดเลือกนักร้องนำคนใหม่ โดยได้นักร้องชาวแคนาดาคือ เจ.ดี. ฟอร์จูน ออกผลงานซิงเกิล "Pretty Vegas" และ "Afterglow" และอัลบั้ม Switch[6][7][8] ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2012 ระหว่างการแสดงที่เพิร์ทอารีนา อินเอกซ์เซสประกาศว่านี่จะเป็นการแสดงครั้งสุดท้ายของพวกเขา[9]

อินเอกซ์เซสได้รับรางวัลอาเรียมิวสิกอวอร์ดส 6 รางวัล รวมถึง 3 รางวัลในสาขา กลุ่มยอดเยี่ยม ในปี 1987, 1989 และ 1992[10] และมีชื่ออยู่ในแอเรียฮอลออฟเฟมในปี 2001[11][12] ปัจจุบันพวกเขามียอดขายกว่า 30 ล้านชุด

ผลงานอัลบั้ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 McFarlane, Ian (1999). "Encyclopedia entry for 'INXS'". Encyclopedia of Australian Rock and Pop. Allen & Unwin. ISBN 1-86448-768-2. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2004-09-30. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.{{cite book}}: CS1 maint: bot: original URL status unknown (ลิงก์)
  2. 2.0 2.1 Ed Nimmervoll (บ.ก.). "INXS". HowlSpace. สืบค้นเมื่อ 2008-11-17.
  3. 3.0 3.1 Magnus Holmgren (บ.ก.). "INXS". Australian Rock Database. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-12-12. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  4. Kent, David (1993). Australian Chart Book 1970–1992. St Ives, Sydney: Australian Chart Book. ISBN 0-646-11917-6. NOTE: Used for Australian Singles and Albums charting until ARIA created their own charts in mid-1988.
  5. "INXS discography". Australian Charts Portal. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.
  6. 6.0 6.1 "INXS > Charts & Awards > Billboard singles". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  7. 7.0 7.1 "Artist Chart History - INXS - Albums". Billboard.com. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  8. "INXS > Charts & Awards > Billboard albums". Allmusic. สืบค้นเมื่อ 2008-03-06.
  9. [1] เก็บถาวร 2012-12-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน INXS' own web site announcing end of touring
  10. "ARIA Awards 2008: History: Winners by Artist". Australian Recording Industry Association (ARIA). สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.[ลิงก์เสีย]
  11. "Winners by Award: Hall of Fame". Australian Recording Industry Association (ARIA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-02. สืบค้นเมื่อ 2008-01-11.
  12. "2001 15th Annual ARIA Awards". Australian Recording Industry Association (ARIA). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-09-26. สืบค้นเมื่อ 2008-11-16.