ข้ามไปเนื้อหา

อินเตอร์เวนทริคูลาร์ ฟอรามินา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินเตอร์เวนทริคูลาร์ ฟอรามินา หรือ ฟอรามินา ออฟ มอนโร
Interventricular foramina (of Monro)
มุมมองทางด้านกลางลำตัวของสมองที่ตัดในระนาบแนวกลางลำตัวแบ่งซ้ายขวา ฟอรามินา ออฟ มอนโร อยู่ทางด้านบน
ภาพตัดแบ่งแนวหน้าหลังแสดงโพรงสมองข้างและโพรงสมองที่สาม ไม่เห็นฟอรามินา ออฟ มอนโร แต่เห็นความสัมพันธ์ระหว่างโพรงสมองทั้งสาม
รายละเอียด
ส่วนหนึ่งของระบบโพรงสมอง
ตัวระบุ
ภาษาละตินforamen interventriculare
นิวโรเนมส์447
TA98A14.1.08.411
TA25641
FMA75351
ศัพท์ทางกายวิภาคของประสาทกายวิภาคศาสตร์

ในสมอง อินเตอร์เวนทริคูลาร์ ฟอรามินา หรือ ฟอรามินา ออฟ มอนโร (interventricular foramina หรือ foramina of Monro) เป็นช่องที่เชื่อมระหว่างคู่ของโพรงสมองข้างกับโพรงสมองที่สามในแนวกลางของสมอง เป็นช่องทางที่ให้น้ำหล่อสมองไขสันหลัง หรือซีเอสเอฟ (cerebrospinal fluid, CSF) ที่ผลิตในโพรงสมองข้างไปยังโพรงสมองที่สาม และส่งต่อไปยังระบบโพรงสมองส่วนอื่นๆ ที่เหลือ ช่องดังกล่าวยังมีคอรอยด์ เพล็กซัส (choroid plexus) ซึ่งเป็นโครงสร้างพิเศษในการผลิตซีเอสเอฟ ซึ่งเชื่อมระหว่างในโพรงสมองข้างและโพรงสมองที่สาม

กายวิภาคศาสตร์

[แก้]

ช่องดังกล่าวมีลักษณะเหมือนพระจันทร์เสี้ยว อยู่ในแนวกลางและด้านล่างของโพรงสมองข้าง ช่องแต่ละช่องล้อมรอบด้วยฟอร์นิกซ์ (fornix) และทาลามัส (thalamus)

ความเกี่ยวข้องทางคลินิค

[แก้]

การอักเสบ, เนื้องอก และสาเหตุอื่นๆ ที่ทำให้ช่องนี้อุดตันจะทำให้เกิดภาวะโพรงสมองคั่งน้ำภายใน (internal hydrocephalus)

ประวัติ

[แก้]

ช่องดังกล่าวตั้งชื่อตามแพทย์ชาวสกอตแลนด์ชื่อ อเล็กซานเดอร์ มอนโร ที่สอง (Alexander Monro) ซึ่งเป็นคนแรกที่อธิบายโครงสร้างในงานพิมพ์ของเขาในปี ค.ศ. 1783 (พ.ศ. 2326) ชื่อว่า Observations on the Structure and Functions of the Nervous System ช่องนี้เคยได้รับการระบุแล้ว โดยนักกายวิภาคศาสตร์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17ชื่อ Raymond Vieussens

ภาพอื่นๆ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Kiernan, John A. (2005). Barr's The Human Nervous System: An Anatomical Viewpoint. Lippincott Williams & Wilkins. p. 220. ISBN 0-7817-5154-3. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-01-26.
  • History of Neuroscience, from the University of Washington

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]