ข้ามไปเนื้อหา

อินเตร์ลิงกวา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินเตร์ลิงกวา
interlingua
โลโก
ออกเสียง/inteɾˈliŋɡwa/
สร้างโดยองค์การภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ
วันที่ค.ศ. 1951
การจัดตั้งและการใช้ศัพท์สากลทางวิทยาศาสตร์; ภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ
ผู้ใช้ภาษาเขียน 1,500 คน  (2000)[1]
จุดประสงค์
ระบบการเขียนอักษรละติน
ที่มาต้นตอภาษา: อังกฤษ, ฝรั่งเศส, อิตาลี, โปรตุเกส และสเปน พร้อมกับอ้างอิงจากภาษาควบคุมอื่น ๆ (โดยหลักคือเยอรมันและรัสเซีย)
สถานภาพทางการ
ผู้วางระเบียบไม่มี
รหัสภาษา
ISO 639-1ia
ISO 639-2ina
ISO 639-3ina
บทความนี้มีสัญลักษณ์สัทอักษรสากล หากระบบของคุณไม่รองรับการแสดงผลที่ถูกต้อง คุณอาจเห็นปรัศนี กล่อง หรือสัญลักษณ์อย่างอื่นแทนที่อักขระยูนิโคด

อินเตร์ลิงกวา (Interlingua; รหัสภาษา ISO 639: ia, ina) เป็นภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติที่พัฒนาในช่วง ค.ศ. 1937 ถึง 1951 โดยองค์การภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติ ซึ่งจัดให้เป็นหนึ่งในภาษาที่มีการใช้งานมากที่สุดในบรรดาภาษาช่วยสื่อสารนานาชาติทั้งหมด[2] ศัพท์ ไวยากรณ์ และคุณสมบัติในภาษานี้มาจากภาษาธรรมชาติมากกว่าภาษาที่มีการวางแผน วรรณกรรมอินเตร์ลิงกวายังคงทำให้ผู้พูดภาษากลุ่มโรมานซ์ร้อยล้านคนสามารถเข้าใจได้[3] ถึงแม้ว่าจะมีผู้พูดจริงเพียงไม่กี่ร้อยคนก็ตาม[1]

อินเตร์ลิงกวามีรูปแบบไวยากรณ์ส่วนใหญ่เรียบง่าย[4][5] ที่มีศัพท์ทั่วไปจากกลุ่มภาษายุโรปตะวันตก[6] ทำให้อย่างน้อยเป็นภาษาที่เรียนรู้ง่ายสำหรับผู้ที่ภาษาแม่เป็นภาษาต้นตอของศัพท์และไวยากรณ์อินเตร์ลิงกวา[7] ในทางตรงกันข้าม ภาษานี้ยังเป็นตัวช่วยแนะนำภาษาธรรมชาติได้อย่างรวดเร็วด้วย[2]

ชื่ออินเตร์ลิงกวามาจากศัพท์ภาษาละตินว่า inter หมายถึง "ระหว่าง" กับ lingua หมายถึง "ลิ้น" หรือ "ภาษา"

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Fiedler, Sabine (1999). "Phraseology in planned languages". Language Problems and Language Planning. John Benjamins Publishing Company. 23 (2): 175–187. doi:10.1075/lplp.23.2.05fie. ISSN 0272-2690. OCLC 67125214.
  2. 2.0 2.1 Gopsill, F. P. (1990). International languages: a matter for Interlingua. Sheffield, England: British Interlingua Society. ISBN 0-9511695-6-4. OCLC 27813762.
  3. Yeager, Leland B. (1991). "Le linguistica como reclamo pro Interlingua" [Linguistics as an advertisement for Interlingua]. Interlinguistica e Interlingua: Discursos public. Beekbergen, Netherlands: Servicio de Libros UMI.
  4. See Gopsill, F. P. Interlingua: A course for beginners. Part 1. Sheffield, England: British Interlingua Society, 1987. Gopsill, here and elsewhere, characterizes Interlingua as having a simple grammar and no irregularities.
  5. The Interlingua Grammar suggests that Interlingua has a small number of irregularities. See Gode (1955).
  6. Gode, Alexander (1971). "Introduction". Interlingua-English: A dictionary of the international language (Revised ed.). New York: Continuum International Publishing Group. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-27.
  7. Breinstrup, Thomas, Preface, Interlingua course for beginners, Bilthoven, Netherlands: Union Mundial pro Interlingua, 2006.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]