ข้ามไปเนื้อหา

ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก อินเดียแดง)
ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา
ประชากรทั้งหมด
ประมาณ 52 ล้านคน
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ
 เม็กซิโก14.3 ล้านคน[1]
 เปรู13.8 ล้านคน[2]
 โบลิเวีย6.0 ล้านคน[3]
 กัวเตมาลา5.4 ล้านคน[4]
 เอกวาดอร์3.4 ล้านคน
 สหรัฐอเมริกา2.9-5 ล้านคน[5]
 ชิลี1.7 ล้านคน[6]
 โคลอมเบีย1.4 ล้านคน[7]
 แคนาดา1.4 ล้านคน[8]
 บราซิล700,000[9]
 อาร์เจนตินา600,000[10]
 เวเนซุเอลา524,000[11]
 ฮอนดูรัส520,000[12]
 นิการากัว443,847[13]
 ปานามา204,000[14]
 ปารากวัย95,235[15]
 เอลซัลวาดอร์~70,000[16]
 คอสตาริกา~60,000[17]
 กายอานา~60,000[18]
 กรีนแลนด์~51,000[19]
 เบลีซ~24,501 (Maya)[20]
 เฟรนช์เกียนา~19,000[21]
 ซูรินาม~12,000–24,000
ภาษา
ภาษาพื้นเมืองอเมริกา, อังกฤษ, สเปน, โปรตุเกส, ฝรั่งเศส, ดัตช์
ศาสนา
ศาสนาอินูอิต
ศาสนาพื้นเมืองอเมริกัน
ศาสนาคริสต์
ภาพวาดของชนกลุ่มน้อยหลากหลายกลุ่มในอเมริกา ก่อนยุคศตวรรษที่ 20
ชาวอินเดียนแดง

ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา หรือ อินเดียนแดง หรือ ชนพื้นเมืองชาวอเมริกัน (อังกฤษ: Indigenous people of the Americas หรือ Red Indian หรือ Native American) เป็นกลุ่มคนที่อาศัยในทวีปอเมริกามานานก่อนที่ชาวยุโรปจะเข้ามาอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกราก ในอดีตได้มีสงครามเกิดขึ้นมากมายในทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ ในการแย่งชิงดินแดน การต่อสู้ รวมถึงการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างชาวยุโรป กับชาวอินเดียนแดง

บรรพบุรุษของชนพื้นเมืองอเมริกันสมัยใหม่มาถึงทวีปอเมริกา ตั้งแต่ 15,000 ปีก่อนที่ชาวยุโรปจะค้นพบ มีการสันนิษฐานว่าอาจจะอพยพมาจากทวีปเอเชียผ่านช่องแคบเบริง โดยมีการพัฒนาการทางสังคมและวัฒนธรรมที่หลากหลายในเวลาต่อมา ชนพื้นเมืองอเมริกันได้รับผลกระทบอย่างมากจากการทำให้เป็นอาณานิคมของยุโรปในทวีปอเมริกา ซึ่งเริ่มต้นในปี ค.ศ. 1492 และทำให้ประชากรลดลงอย่างมากเนื่องจากโรคที่ถูกแพร่จากชาวยุโรป สงครามการยึดดินแดนและการตกเป็นทาส หลังจากการก่อตั้งของสหรัฐอเมริกาอเมริกันพื้นเมืองจำนวนมากต้องเสียชีวิตจากสงครามและเกิดสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมส่งผลให้พวกเขายังคงได้รับความทุกข์ทรมานจากการเลือกปฏิบัตินโยบายของรัฐบาลในศตวรรษที่ 20 ตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ขบวนการกำหนดวิถีชีวิตของชนพื้นเมืองอเมริกันส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของชนพื้นเมืองอเมริกัน แม้ว่ายังคงมีปัญหามากมายที่ชนพื้นเมืองอเมริกันต้องเผชิญอยู่ ปัจจุบันมีชาวอเมริกันพื้นเมืองมากกว่าห้าล้านคนในสหรัฐอเมริกา 78% ที่อาศัยอยู่นอกเขตสงวน

ในครั้งแรกเมื่อสหรัฐอเมริกาถูกก่อตั้ง ชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันที่อาศัยอยู่โดยทั่วไปถูกยอมรับเป็นรัฐกึ่งอิสระ โดยพวกเขาจะอาศัยอยู่ในชุมชนที่แยกต่างหากจากการตั้งถิ่นฐานของชาวอังกฤษ โดยมีรัฐบาลสหพันธรัฐลงนามในสนธิสัญญาระหว่างกันในระดับรัฐบาล จนกระทั่งเกิดพระราชบัญญัติการจัดสรรพื้นที่ของชาวอินเดียนในปี 1871 การรับรู้ในฐานะที่เป็นรัฐอิสระสิ้นสุดลง และรัฐบาลเริ่มปฏิบัติต่อพวกเขาในฐานะ "ชนชาติที่ต้องพึ่งพาประเทศ" ภายใต้กฎหมายของรัฐบาลกลาง กฎหมายฉบับนี้ยังคงให้สิทธิอำนาจอธิปไตยของชนเผ่า ด้วยเหตุผลนี้เขตสงวนอินเดียนส่วนใหญ่ (แต่ไม่ใช่ทั้งหมด) ยังคงเป็นอิสระจากกฎหมายของรัฐและการกระทำใด ๆ ของพลเมืองในเขตหล่านี้ยังขึ้นอยู่กับศาลเผ่าและกฎหมายของรัฐเท่านั้น

พระราชบัญญัติสัญชาติอินเดียนในปี 1924 ได้มอบสัญชาติสหรัฐอเมริกาให้กับชาวอเมริกันพื้นเมืองทุกคนที่เกิดในสหรัฐอเมริกาซึ่งยังไม่ได้รับ "อินเดียนไม่ต้องเสียภาษี" เป็นที่ยอมรับโดยรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและอนุญาตให้ประชาชนลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งระดับรัฐและสหพันธรัฐและขยายการคุ้มครองการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่สิบสี่ให้แก่ประชาชน "ภายใต้เขตอำนาจ" ของสหรัฐอเมริกา อย่างไรก็ตามบางรัฐยังคงปฏิเสธสิทธิการออกเสียงของชนพื้นเมืองอเมริกันเป็นเวลาหลายทศวรรษ การคุ้มครองสิทธิตามกฎหมายไม่ได้บังคับใช้กับรัฐบาลชนเผ่ายกเว้นข้อกฎหมายจากพรบ.สิทธิพลเมืองอินเดียน

คำว่าอินเดียนแดงนั้น ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Indian หรือ Native American โดยในอดีตได้ใช้คำว่า Red Indian แต่ได้เลิกใช้แล้วโดยถือว่าเป็นคำไม่สุภาพในการกล่าวถึง แบ่งออกเป็น 3 เผ่าใหญ่ ได้แก่ เผ่ามายา เผ่าแอซแทค และเผ่าอินคา

อินเดียนแดงที่มีชื่อเสียง

[แก้]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Proyecciones de indígenas de México y de las entidades federativas 2000-2010" (PDF). Comisión Nacional para el Desarrollo de los Pueblos Indígenas. 2010. สืบค้นเมื่อ 11 April 2013.
  2. "CIA, The World Factbook Peru". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-11-05. สืบค้นเมื่อ 12 July 2011.
  3. "CIA - The World Factbook". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  4. "CIA - The World Factbook". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-02. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  5. United States Census Bureau. The American Indian and Alaska Native Population: 2010
  6. "สำเนาที่เก็บถาวร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-07-18. สืบค้นเมื่อ 2014-10-01.
  7. DANE 2005 National Census
  8. Canada 2011 Census [1]
  9. "Brazil urged to protect Indians". BBC News. 2005-03-30.
  10. "Encuesta Complementaria de Pueblos Indígenas (ECPI) 2004 - 2005". INDEC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-11. สืบค้นเมื่อ 2013-12-03.
  11. http://lcweb2.loc.gov/frd/cs/profiles/Venezuela.pdf
  12. "CIA - The World Factbook - Honduras". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-15. สืบค้นเมื่อ 2013-12-03.
  13. 2005 Census
  14. "CIA - The World Factbook". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-25. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  15. "8 LIZCANO" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2014-02-24. สืบค้นเมื่อ 2014-05-22.
  16. "Una comunidad indígena salvadoreña pide su reconocimiento constitucional en el país". soitu.es. สืบค้นเมื่อ 23 February 2011.
  17. "Costa Rica: Ethnic groups". Cia.gov. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-07. สืบค้นเมื่อ 21 December 2010.
  18. Lector de Google Drive. Docs.google.com. Retrieved 12 July 2013.
  19. The World Factbook เก็บถาวร 2020-05-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Cia.gov. Retrieved 12 July 2013.
  20. Redatam::CELADE, ECLAC - United Nations เก็บถาวร 2017-07-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Celade.cepal.org. Retrieved 12 July 2013.
  21. "Guayana Francesa: Federación de Organizaciones de Amerindios de Guyana (FOAG)" (ภาษาสเปน). April 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 August 2011.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]