อินทิรา หินทุชา
หน้าตา
อินทิรา สินธุชา | |
---|---|
เกิด | ศิขรปุระ แคว้นสินธ์ บริติชอินเดีย | 21 สิงหาคม ค.ศ. 1946
ศิษย์เก่า | มหาวิทยาลัยบอมเบย์ |
รางวัล | ปัทมศรี (2011) |
อาชีพทางวิทยาศาสตร์ | |
สาขา | ภาวะมีบุตรยาก |
สถาบันที่ทำงาน | โรงพยาบาลเคอีเอ็ม มุมไบ |
อินทิรา หินทุชา (อักษรโรมัน: Indira Hinduja) เป็นนรีแพทย์, สูติแพทย์ และผู้ชำนาญการพิเศษด้านภาวะมีบุตรยาก ประจำอยู่ในนครมุมไบ[1] เธอเป็นผู้ริเริ่มการทำกิฟต์ (GIFT) จนเกิดทารกคนแรกของอินเดียที่เกิดด้วยวิธีนี้ในวันที่ 4 มกราคม 1988 ก่อนหน้านี้เธอยังเป็นผู้ทำคลอดเด็กหลอดแก้วคนแรกของอินเดียืี่โรงพยาบาลเคอีเอ็มเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 1986[2] รวมถึงยังได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้พัฒนาเทคนิกการบริจาคไข่ให้กับผู้ป่วยที่หมดประจำเดือนแล้ว หรือมีภาวะไข่ฝ่อก่อนวัย และให้กำเนิดทารกคนแดกที่เกิดจากไข่ที่เก็บเกี่ยวด้วยวิธีนี้ในวันที่ 24 มกราคม 1991[3]
รางวัล
[แก้]- ยุวชนอินเดีย (Young Indian Award (1987))
- พลเมืองสตรีดีเด่นรัฐมหาราษฏระ ชัยจี (Outstanding Lady Citizen of Maharashtra State Jaycee Award (1987))
- ภารตนิรมานสำหรับสตรีที่มีพรสวรรค์ (Bharat Nirman Award for Talented Ladies (1994))
- วันสตรีนานาชาติโดยนายกเทศบาลนครบอมเบย์ (International Women's Day Award by the Mayor of Bombay (1995; 2000))
- ความสำเร็จตลอดช่วงชีวิตโดยสมาคมสูติศาสตร์นรีเวชวิทยาแห่งอินเดีย (Lifetime Achievement Award by Federation of Obstetrics and Gynaecological Society of India (1999))
- พระธันวันตริโดยรัฐบาลรัฐมหาราษฏระ (Dhanvantari Award by The Governor of Maharashtra (2000))
- ปัทมศรี โดยรัฐบาลอินเดีย (2011)[4]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Profile of Dr. Indira Hinduja เก็บถาวร 16 กรกฎาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "India First Test Tube Baby". New Straits Times. 8 August 1986.
- ↑ "Dr. Indira Ahuja Profile". NDTV Doctor. 20 July 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-06-30. สืบค้นเมื่อ 2024-03-11.
- ↑ "Padma Awards Announced" (Press release). Ministry of Home Affairs. 25 January 2011.
- Admin (2022-01-03). "History Today in Medicine - Prof. Dr. Indira Hinduja". CME INDIA (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-09-25.