อินทิราพอยต์
อินทิราพอยต์ | |
---|---|
หมู่บ้าน | |
วิวจากจุดอินทิราพอยต์ | |
พิกัด: 6°46′50″N 93°49′33″E / 6.780621°N 93.8258513°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ |
อำเภอ | นิโคบาร์ |
Tehsil | เกรตนิโคบาร์ |
ความสูง | 47 เมตร (154 ฟุต) |
ประชากร (2011) | |
• ทั้งหมด | 27 คน |
เขตเวลา | UTC+5:30 (เวลามาตรฐานอินเดีย) |
รหัสสำมะโน 2011 | 645188 |
อินทิราพอยต์ (อังกฤษ: Indira Point) เป็นบริเวณตอนใต้สุดของดินแดนประเทศอินเดีย[1] โดยเป็นหมู่บ้านในอำเภอนิโคบาร์ เกาะเกรตนิโคบาร์ หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ ประเทศอินเดีย อินทิราพอยต์ตั้งอยู่ในหมู่บ้านเกรตนิโคบาร์[2]
เกาะรนโด เกาะทางเหนือสุดของอินโดนีเซียในอำเภอซาบัง จังหวัดอาเจะฮ์ เกาะสุมาตรา ตั้งอยู่ทางใต้ของเกาะลิตเติลอันดามัน 163 กิโลเมตร[3] และจากอินทิราพอยต์ 145 กิโลเมตรหรือ 80 ไมล์ทะเล ทางอินเดียและอินโดนีเซียเลื่อนชั้นท่าเรือน้ำลึกซาบังภายใต้ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ทางทหารและเศรษฐกิจเพื่อปกป้องช่องทางระหว่างเกาะเกรตนิโคบาร์กับเกาะรนโด (ประมาณเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2019)[4] ซึ่งอยู่ห่างจากอินทิราพอยต์เพียง 612 กิโลเมตรหรือ 330 ไมล์ทะเล
ศัพทมูลวิทยา
[แก้]หมู่บ้านนี้ได้รับการตั้งชื่อเป็นอินทิราพอยต์ตามอดีตนายกรัฐมนตรี อินทิรา คานธี[5] ในอดีตมีชื่อว่า พิกมาเลียนพอยต์ (Pygmalion Point) และ พาร์สันส์พอยต์ (Parsons Point)[6] พื้นที่นี้ได้รับการเปลี่ยนชื่อเพื่ออุทิศแด่อินทิรา คานธีในช่วงกลางคริสต์ทศวรรษ 1980 สมาชิกรัฐสภาท้องถิ่นเป็นผู้ประกาศเรื่องดังกล่าวเมื่ออินทิรา คานธีเยี่ยมชมประภาคารท้องถิ่นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1984 พิธีเปลี่ยนชื่ออย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม ค.ศ. 1985[7]
ประวัติ
[แก้]ประภาคารอินทิราพอยต์เปิดใช้บริการในวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1972[8][9]
ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย ค.ศ. 2004 ปลายทางใต้สุดของอินทิราพอยต์ที่อยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวทางเหนือ 500 กิโลเมตร จมลงไป 4.25 เมตร (13.9 ฟุต) หลังแผ่นดินไหว และพลเมืองหลายคนหายไปในสึนามิที่ตามมาหลังจากนั้น[10] ครอบครัว 16-20 ครอบครัวที่อาศัยอยู่ถัดจากประภาคารและนักวิทยาศาสตร์ 4 คนที่กำลังศึกษาเต่ามะเฟืองหายสาบสูญ[11]
เขตบริหาร
[แก้]หมู่บ้านอยู่ภายใต้การบริหารของปัญจยาตลักษมีนคร[12]
ประชากร
[แก้]หมู่บ้านนี้สูญเสียพลเมืองจำนวนมากจากสึนามิ ค.ศ. 2004 โดยสำมะโนแห่งชาติ ค.ศ. 2011 บึนทึกว่าอินทิราพอยต์เหลือผู้อยู่อาศัยเพียง 4 ครัวเรือน อัตราการรู้หนังสืออยู่ที่ร้อยละ 85.19[13]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ "Nicobar's bicycle diaries".
- ↑ "Andaman and Nicobar Islands villages" (PDF). Land Records Information Systems Division, NIC. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 4 มีนาคม 2016. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2015.
- ↑ "Rondo Island, The Rich Uninhabited Island". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 November 2012. สืบค้นเมื่อ 19 May 2018.
- ↑ India seeks to aid Indonesia in developing port in Aceh, Economic Times, 19 May 2018.
- ↑ "Indira Point".
- ↑ K. Raja Reddy (2005). India and ASEAN: foreign policy dimensions for the 21st Century. New Century Publications. p. 44. ISBN 9788177080810.
- ↑ HPS Virk (5 March 2015). Rendezvous: Forbidden Land of the "Nicobar Islands". FriesenPress. pp. 114–115. ISBN 978-1-4602-5877-4.
- ↑ Indira Point Lighthouse, Directorate General of Lighthouses and Lightships, Ministry of Shipping.
- ↑ Indira Point Lighthouse: 4.25 m of subsidence in the 26 Dec 2004 earthquake
- ↑ Joyce A. Quinn; Susan L. Woodward (31 January 2015). Earth's Landscape: An Encyclopedia of the World's Geographic Features. ABC-CLIO. pp. 34–. ISBN 978-1-61069-446-9.
- ↑ Islands' death toll could reach 15,000 by Luke Harding. Sydney Morning Herald, 1 January 2005.
- ↑ List of Villages เก็บถาวร 5 มีนาคม 2016 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Integrated Management Information System (IMIS), Ministry of Drinking Water and Sanitation.
- ↑ "District Census Handbook - Andaman & Nicobar Islands" (PDF). 2011 Census of India. Directorate of Census Operations, Andaman & Nicobar Islands. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 1 สิงหาคม 2015. สืบค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2015.