อำเภออินทร์บุรี
อำเภออินทร์บุรี | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe In Buri |
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 บริเวณทางแยกต่างระดับอินทร์บุรี | |
คำขวัญ: ขนมเปี๊ยะเมืองอินทร์ ถิ่นเกษตร ปลอดสารพิษ เรืองฤทธิ์พระอินทร์ | |
แผนที่จังหวัดสิงห์บุรี เน้นอำเภออินทร์บุรี | |
พิกัด: 15°0′28″N 100°19′37″E / 15.00778°N 100.32694°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | สิงห์บุรี |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 314.3 ตร.กม. (121.4 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2566) | |
• ทั้งหมด | 52,114 คน |
• ความหนาแน่น | 165.81 คน/ตร.กม. (429.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 16110 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 1706 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภออินทร์บุรี เลขที่ 90/2 หมู่ที่ 3 ถนนสุขาภิบาล 2 ตำบลอินทร์บุรี อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี 16110 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
อินทร์บุรี เป็นอำเภอหนึ่งใน 6 อำเภอของจังหวัดสิงห์บุรี
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภออินทร์บุรีตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอสรรพยา (จังหวัดชัยนาท) และอำเภอตาคลี (จังหวัดนครสวรรค์)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบ้านหมี่ (จังหวัดลพบุรี)
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสิงห์บุรีและอำเภอบางระจัน
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอสรรคบุรี (จังหวัดชัยนาท)
ประวัติ
[แก้]เมืองอินทร์บุรี (เขียนตามที่ปรากฏในหนังสือประวัติศาสตร์) เป็นเมืองชายแดนทางเหนือของอาณาจักรอยุธยา (ตอนต้น) มีอาณาเขตติดต่อกับเมืองชัยนาทซึ่งเป็นหัวเมืองตอนใต้ของอาณาจักรสุโขทัย เมืองอินทร์ตั้งขึ้นโดยกษัตริย์สมัยกรุงศรีอยุธยาเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1912 ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระราเมศวร พระโอรสของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) เจ้าเมืองเลือกสรรจากเชื้อพระวงศ์
เมืองอินทร์บุรีเดิมตั้งอยู่บริเวณเหนือวัดปราสาท ต่อมาย้ายไปบริเวณเหนือวัดโบสถ์ เจ้าเมืองอินทร์คนสุดท้ายคือพระศักดิบุรินทร์ ในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ พระองค์ได้เคยเสด็จมาคล้องช้าง และคล้องช้างเผือกคู่บารมีได้ 1 เชือก "ที่บ้านน้ำทรง แขวงเมืองอินทร์บุรี ฯลฯ"[1]
นอกจากนี้เมืองอินทร์บุรียังเป็นเมืองหน้าด่านสำคัญในสมัยกรุงศรีอยุธยา ตามที่ปรากฏ คือ "…พระเจ้าบุเรงนองยกทัพใหญ่มาล้อมกรุงศรีอยุธยา ฝ่ายไทยซึ่งมีสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและพระมหินทร์ได้เตรียมป้องกันพระนครอย่างเต็มที่ เมืองลพบุรีเป็นเมืองหนึ่งที่พระราชพงศาวดารกล่าวว่า ถูกเกณฑ์ให้ไปรักษาเมืองเช่นเดียวกับเมืองสุพรรณบุรี อินทร์บุรี เพชรบุรี ฯลฯ"[2]
- ให้หม่อมมหาดเล็กวังหน้า ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองสิงห์บุรี
- ให้หม่อมเทไพ ไปตั้งรับพม่าทางเมืองอินทร์บุรี
- ให้หม่อมทิพยุพิน ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองพรหมบุรี
- ให้ศรีภูเบศก์ ไปตั้งรับพม่าทางแม่น้ำเมืองพรหมบุรี..."[3]
ในปี พ.ศ. 2328 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ยกทัพไปปราบหัวเมืองฝ่ายเหนือ (สงครามเก้าทัพ) เมื่อวันศุกร์ เดือน 4 ขึ้น 11 ค่ำ ได้เสด็จทางชลมารคถึงเมืองอินทร์บุรี
มีหลักฐานที่ปรากฏคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้เมืองอินทร์บุรี เมืองสิงห์บุรี เมืองพรหมบุรี อยู่ในอำนาจปกครองของสมุหนายก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2438 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) พระองค์ได้ทรงปฏิรูประบบบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้ยุบเมืองอินทร์บุรีและเมืองพรหมบุรีไปขึ้นตรงกับเมืองสิงห์บุรี เมืองอินทร์บุรีจึงกลายเป็นอำเภออินทร์บุรี เมืองพรหมบุรีเป็นอำเภอพรหมบุรี และเมืองสิงห์บุรีเป็นจังหวัดสิงห์บุรี
วันที่ 7 เช้า 2 โมง พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง เสด็จทางเรือจากเมืองอ่างทองมาอำเภอพรหมบุรี และทรงประทับแรมหน้าเมืองสิงห์บุรีคืนหนึ่ง รุ่งขึ้นเสด็จประพาสอำเภออินทร์บุรีก่อนเสด็จต่อไปชัยนาท
สำหรับที่ว่าการอำเภออินทร์บุรี ครั้งแรกตั้งอยู่ที่บริเวณวัดโพธิ์ลังการ์ ต่อมาย้ายเข้ามาตั้งอยู่บริเวณวัดปราสาท ตรงกับที่ตั้งเมืองอินทร์บุรีครั้งแรก อาจเป็นเพราะบริเวณที่ตั้งที่ว่าการอำเภอคับแคบไม่สะดวกในการขยายสำนักงานของส่วนราชการอื่น ทางราชการจึงย้ายที่ว่าการอำเภอมาทางทิศใต้ บริเวณบ้านบางท้องคุ้ง หมู่ที่ 3 ตำบลอินทร์บุรี คือที่ตั้งบริเวณปัจจุบันนี้ นายอำเภออินทร์บุรีคนแรก คือ หลวงอินทรวรนาถ
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภออินทร์บุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 10 ตำบล ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[4] |
---|---|---|---|
1. | อินทร์บุรี | In Buri | 8,586
|
2. | ประศุก | Prasuk | 6,034
|
3. | ทับยา | Thap Ya | 5,766
|
4. | งิ้วราย | Ngio Rai | 5,254
|
5. | ชีน้ำร้าย | Chi Nam Rai | 3,855
|
6. | ท่างาม | Tha Ngam | 5,041
|
7. | น้ำตาล | Namtan | 3,333
|
8. | ทองเอน | Thong En | 7,477
|
9. | ห้วยชัน | Huai Chan | 4,850
|
10. | โพธิ์ชัย | Pho Chai | 2,284
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภออินทร์บุรีประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 11 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลอินทร์บุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอินทร์บุรี (เฉพาะหมู่ที่ 3, 4, 6, และ 7)
- เทศบาลตำบลทับยา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทับยาทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลอินทร์บุรี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอินทร์บุรี (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลอินทร์บุรี)
- องค์การบริหารส่วนตำบลประศุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลประศุกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลงิ้วราย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลงิ้วรายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลชีน้ำร้าย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชีน้ำร้ายทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลท่างาม ครอบคลุมพื้นที่ตำบลท่างามทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำตาล ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำตาลทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลทองเอนทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยชัน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลห้วยชันทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโพธิ์ชัย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโพธิ์ชัยทั้งตำบล
เศรษฐกิจ
[แก้]- อาชีพหลัก ได้แก่
- เกษตรกรรม
- ปศุสัตว์ และ ประมงน้ำจืด
- อุตสาหกรรม
- อาชีพเสริม ได้แก่
- เลี้ยงสัตว์ เช่น โคเนื้อ สุกร ไก่พื้นเมือง ไก่เนื้อ
- จักสาน
- ธนาคารมี 9 แห่ง ได้แก่
- ธนาคารออมสิน สาขาอินทร์บุรี
- ธนาคารออมสิน สาขาเมืองอินทร์
- ธนาคารกรุงไทย สาขาอินทร์บุรี
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาอินทร์บุรี
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สาขาย่อยทองเอน
- ธนาคารกรุงเทพ สาขาอินทร์บุรี
- ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาอินทร์บุรี
- ธนาคารกสิกรไทย สาขาอินทร์บุรี(ตลาดโลตัสอินทร์บุรี)
- ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สาขาย่อยอินทร์บุรี
การศึกษา
[แก้]อำเภออินทร์บุรี มีสถาบันการศึกษาทุกระดับ ทั้งโรงเรียนและวิทยาลัย สถาบันที่สำคัญ ได้แก่
- มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย สาขาวัดไผ่ดำ
- วิทยาลัยอาชีวศึกษาสิงห์บุรี วิทยาเขตอินทร์บุรี
- วิทยาลัยการอาชีพอินทร์บุรี
- โรงเรียนอินทร์บุรี
- โรงเรียนศรีวินิตวิทยาคม
- โรงเรียนทองเอนวิทยา
- โรงเรียนอุดมศิลป์วิทยา
การสาธารณสุข
[แก้]อำเภออินทร์บุรีมีโรงพยาบาล 3 แห่ง คือ และคลินิค เวชกรรม 7 แห่ง ร้านขายยาแผนปัจจุบัน 11 แห่ง ร้านขายยาแผนโบราณ 4 แห่ง
- โรงพยาบาลอินทร์บุรี สังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ขนาด 280 เตียง
- โรงพยาบาลพูลผล อินทร์บุรี เป็นโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 30 เตียง
- โรงพยาบาลคริสเตียนไชยวัฒน์ เป็นโรงพยาบาลเอกชน ขนาด 30 เตียง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ. ไทยรบพม่า. กรุงเทพฯ : แพร่พิทยา, 2514, หน้า 25.
- ↑ ในปี พ.ศ. 2307 รัชสมัยพระเจ้าเอกทัศน์ ทรงเตรียมแผนการต่อสู้กับพม่าโดย แต่ละกองมีทหารประจำการกองละ 1,400 คน พร้อมด้วยเครื่องศัสตราวุธ เรือรบมีปืนใหญ่ 1 กระบอก ปืนขนาดเล็ก 1 กระบอก แล้วแบ่งไปประจำที่ต่าง ๆ ดังนี้ ฯลฯ
- ↑ ไพฑูรย์ มีกุศล. ประวัติศาสตร์ไทย ปรีดาการพิมพ์, 2521, หน้า 266.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.