ข้ามไปเนื้อหา

อินทรีดำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อินทรีดำ
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Aves
อันดับ: Accipitriformes
วงศ์: Accipitridae
สกุล: Ictinaetus
Blyth, 1843
สปีชีส์: I.  malayensis
ชื่อทวินาม
Ictinaetus malayensis
(Temminck, 1822)
ชนิดย่อย
  • I.m. malayensis (Temminck, 1822) (พบในภูมิภาคอินโดจีนและแหลมมลายู)
  • I.m. perniger (Hodgson, 1836) (พบในอนุทวีปอินเดีย มีขนาดใหญ่กว่าอีกชนิดย่อยหนึ่งเล็กน้อย)[2]
ชื่อพ้อง
  • Neopus malayensis

อินทรีดำ (อังกฤษ: Black eagle, Indian black eagle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Ictinaetus malayensis) เป็นนกล่าเหยื่อขนาดใหญ่จำพวกอินทรี และจัดเป็นนกเพียงชนิดเดียวเท่านั้นที่อยู่ในสกุล Ictinaetus[3] (แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดย่อย-ดูในตาราง)

มีขนปกคลุมลำตัวสีดำสนิท ขนคลุมทั้งจมูก และตีนมีสีเหลือง หางมีลายแถบสีอ่อนคาด ขณะบินปีกกว้าง ปลายปกแตกเป็นรูปนิ้วมือชัดเจน หางยาวมาก ขณะที่ยังเป็นนกที่โตไม่เต็มวัยจะมีสีน้ำตาลหม่น ปากสั้นปลายแหลม มีเล็บนิ้วเท้าแหลมคมและแข็งแรงมาก

ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 69-81 เซนติเมตร ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน

พบกระจายพันธุ์ตั้งแต่อนุทวีปอินเดียและภูมิภาคอินโดจีน ในประเทศไทยจะพบได้ตามป่าในแนวเขาตั้งแต่เหนือจรดใต้ได้ไม่ยากนัก โดยเฉพาะทางป่าตะวันตก แต่ปัจจุบันก็มีจำนวนลดน้อยลงจากเดิมเนื่องจากถิ่นที่อยู่ถูกทำลาย

อินทรีดำ มีพฤติกรรมล่าเหยื่อที่แตกต่างไปจากอินทรีหรือเหยี่ยวชนิดอื่น คือ การบินมาเกาะใกล้รังนกเล็กหรือกระรอก แล้วไต่กิ่งไปล่าเหยื่อในรัง รวมทั้งไข่นก นอกเหนือจากจากโฉบเหยื่อที่เป็นพฤติกรรมโดยปกติ[4]

จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535[5]

อ้างอิง

[แก้]
  1. จาก IUCN (อังกฤษ)
  2. James Ferguson-Lee, Raptors of the World Helm Field Guides – ISBN 0713669578
  3. จาก ITIS.gov (อังกฤษ)
  4. บุญส่ง เลขะกุล น.พ., Bird Guide of Thailand (2) (พ.ศ. 2517)
  5. สัตว์ป่าคุ้มครอง

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Ictinaetus malayensis ที่วิกิสปีชีส์