อิทธิเดช แก้วหลวง
อิทธิเดช แก้วหลวง | |
---|---|
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย | |
ดำรงตำแหน่ง 6 มกราคม พ.ศ. 2544 – 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 | |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 |
พรรคการเมือง | เพื่อไทย |
อิทธิเดช แก้วหลวง (เกิด 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506) อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเชียงราย เขต 6 ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2544 ในสังกัดพรรคไทยรักไทย ปัจจุบันสังกัดพรรคเพื่อไทย
ประวัติ
[แก้]อิทธิเดช แก้วหลวง เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 เป็นบุตรของนายเอ็ม และนางทวีรัตน์ แก้วหลวง มีพี่น้อง 2 คน สำเร็จการศึกษานิติศาสตรบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์นมิชิแกน ประเทศสหรัฐอเมริกา สมรสกับนางจิตต์อนงค์ มีบุตร 2 คน
งานการเมือง
[แก้]ปี พ.ศ. 2544 ได้รับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในสังกัดพรรคไทยรักไทย และได้รับเลือกตั้งติดต่อกันมาอีก 3 ครั้ง
อนึ่ง นายอิทธิเดชเคยเป็นที่ปรึกษา รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2545, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2546, ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2547 และที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2548 รวมทั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการชายแดนไทย สภาผู้แทนราษฎร ระหว่าง พ.ศ. 2552 - 2554
เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดเชียงรายในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 สังกัดพรรคเพื่อไทย แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[1]
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อิทธิเดช แก้วหลวง ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2544 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคไทยรักไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคพลังประชาชน
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดเชียงราย สังกัดพรรคเพื่อไทย
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[2]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[3]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ พลวุฒิ สงสกุล (19 กันยายน 2561). "แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ เตรียมหย่อนบัตรปี 62 ส.ส. ลด 23 จังหวัด อีสานหด 10 ที่นั่ง". THE STANDARD. สืบค้นเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2562.
{{cite web}}
: ตรวจสอบค่าวันที่ใน:|accessdate=
(help) - ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2022-12-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายอิทธิเดช แก้วหลวง เก็บถาวร 2012-08-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอิทธิเดช แก้วหลวง[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายอิทธิเดช แก้วหลวง), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2506
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงราย
- นักการเมืองพรรคพลังธรรม
- นักการเมืองพรรคไทยรักไทย
- นักการเมืองพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- นิสิตเก่าคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.