ข้ามไปเนื้อหา

อิจิโย ฮิงูจิ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิจิโย ฮิงูจิ
ชื่อท้องถิ่น
樋口一葉
เกิดนัตสึโกะ ฮิงูจิ
02 พฤษภาคม พ.ศ. 1872
อูจิไซไวโจ เขตชิโยดะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
เสียชีวิต23 พฤศจิกายน พ.ศ. 1896 (24 ปี)
โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
ที่ฝังศพสุสานยานากะ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
นามปากกาอิจิโย ฮิงูจิ
อาชีพนักเขียน
สัญชาติญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
ช่วงเวลายุคเมจิ

อิจิโย ฮิงูจิ (ญี่ปุ่น: 樋口一葉โรมาจิHiguchi Ichiyō; 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 – 23 พฤศจิกายน 1896) ชื่อจริง นัตสึโกะ ฮิงูจิ (ญี่ปุ่น: 樋口夏子โรมาจิHiguchi Natsuko)[1] หรือ นัตสึ ฮิงูจิ (ญี่ปุ่น: 樋口奈津โรมาจิHiguchi Natsu)[2] เป็นอดีตนักเขียนชาวญี่ปุ่นจากยุคเมจิ และนักเขียนหญิงมืออาชีพคนแรกของวรรณกรรมสมัยใหม่ในประเทศญี่ปุ่น ฮิงูจิมีความเชี่ยวชาญด้านการประพันธ์เรื่องสั้นและบทกวี อีกทั้งยังเป็นนักจดบันทึกประจำวันรวมเรื่อง

ประวัติ

[แก้]

ชีวิตช่วงแรก

[แก้]

นัตสึโกะ ฮิงูจิ เกิดเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 1872 ในโตเกียว โดยเป็นลูกคนที่สี่และลูกสาวของที่สอง[3] ของโนริโยชิ ฮิงูจิ และอายาเมะ "ทากิ" ฟูรูยะ[4][5] ผู้ปกครองของเธอมาจากชนบทใกล้จังหวัดยามานาชิ[6] แต่บิดาของเธอพยายามจนได้รับสถานะซามูไรมาในปี 1867[7] อย่างไรก็ตามเขาก็ได้ครองตำแหน่งอยู่ไม่นานก่อนที่ชนชั้นซามูไรจะถูกโค่นล้มลงในการฟื้นฟูพระราชอำนาจสมัยเมจิ การที่ฮิงูจิเติบโตในครอบครัวซามูไรมาก่อนมีอิทธิพลต่อตัวตนของเธอ[8]

ในปี 1886 ฮิงูจิเริ่มศึกษาวากะ (กวีญี่ปุ่น) ที่โรงเรียนเอกชนฮางิโนยะ ดำเนินกิจการโดยอูตาโกะ นากาจิมะ[6][9] เธอได้รับบทเรียนกวีและการบรรยายเกี่ยวกับวรรณกรรมญี่ปุ่นเป็นประจำทุกสัปดาห์ นอกจากนี้ยังมีการประกวดแต่งกวีประจำเดือนที่ทั้งศิษย์เก่าและปัจจุบันสามารถเข้าร่วมการประกวดได้ บทกวีที่สอนในโรงเรียนนี้ส่วนมากเป็นกวีแบบอนุรักษ์นิยมของยุคเฮฮัง[9] ฮิงูจิรู้สึกด้อยกว่านักเรียนคนอื่น ๆ ที่ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวชนชั้นสูง[10]

แรงกดดันของฮิงูจิในการเป็นนักเขียนนั้นแจ่มแจ้งมากยิ่งขึ้นในปี 1891 เมื่อเธอเริ่มเขียนไดอารีอย่างจริงจัง ในสมุดของฮิงูจิมีความยาวประมาณ 100 หน้าที่ครอบคลุมชีวิต 5 ปีที่เหลือของเธอ บอกเล่าความรู้สึกของฐานะที่ด้อยกว่าในสังคม ความขลาดของเธอ และความยากจนของครอบครัวที่ค่อย ๆ เพิ่มมากขึ้น ไดอารีของฮิงูจิเปรียบได้เหมือนสถานที่ที่เธอสามารถยืนยันเจตจำนง ความรู้สึกนึกคิด และมุมมองของเธอที่มีต่อวรรณศิลป์ของผู้อื่นหรือของผู้อื่นที่มีต่อเธอได้[11]

ความพยายามในการเป็นนักเขียน

[แก้]

ในปี 1889 สองปีให้หลังการเสียชีวิตของพี่ชายคนโต[12] บิดาของเธอเสียชีวิต[13] อันเป็นผลมาจากการลงทุนธุรกิจที่ล้มเหลวจากขาดแคลนเงินทุน[13] นอกจากนี้คู่หมั้นของเธอที่เป็นนักกฎหมายและว่าที่ผู้ว่าการ ซาบูโร ชิบูยะ ก็ได้บอกเลิกสัญญาหมั้น[12] ฮิงูจิได้ย้ายไปอยู่ที่ฮางิโนยะเพื่อฝึกงานตามคำแนะนำของครู แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือนฮิงูจิก็ย้ายออกมาอีกครั้งหลังเธอไม่พอใจในปริมาณงานบ้านที่เธอต้องทำ[14] ฮิงูยิย้ายไปที่ย่านฮงโงพร้อมด้วยมารดาและน้องสาวของเธอ ที่นั่นพวกเธอได้รายได้จากการทอผ้าและบริการซักผ้า[15][16] ฮิงูจิเห็นเพื่อนของเธอที่ประสบความสำเร็จ คาโฮะ มิยาเกะ ผู้แต่งนวนิยาย ยาบุโนะอูงูยซุ (ญี่ปุ่น: 藪の鶯โรมาจิYabu no Iguisuนกกระจ้อยญี่ปุ่นในหมู่ไม้) และมิยาเกะที่ได้รับความเคารพยิ่ง ฮิงูจิตัดสินใจที่จะเป็นนักเขียนนวนิยายเพื่อช่วยเหลือครอบครัวของเธอ[17][11]

ความพยายามของฮิงูจิขั้นต้นในการเขียนเรื่องแต่งคือการเขียนในรูปแบบของเรื่องสั้นก่อน ในปี 1891 ฮิงูจิพบกับที่ปรึกษาในอนาคตที่เธอคิดว่าน่าจะคอยให้ความช่วยเหลือเธอได้ โทซุย นาการาอิ ฮิงูจิตกหลุมรักเขาโดยที่ไม่รู้ว่าในอายุ 31 ปีของเขา นาการาอินั้นมีชื่อเสียงจากการชู้สาว อีกทั้งยังไม่รู้ตัวอีกว่าเขาได้เขียนวรรณกรรมชื่อดังที่มุ่งเน้นเพียงแต่ความสนุกเพลิดเพลินของสาธารณชนและไม่ได้หวังว่าวรรณกรรมของเขาจะเป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมที่มีความจริงจัง ที่ปรึกษาของเธอไม่ได้คืนความรักของเธอให้แก่เขา หากแต่ดูแลในฐานะน้องสาวเท่านั้น ความสัมพันธ์ที่ล้มเหลวนี้จะเป็นแก่นเรื่องที่เกิดขึ้นใหม่ในงานเขียนของฮิงูจิ[18]

ในเดือนมีนาคม 1892 ฮิงูจิได้ออกวรรณกรรมเรื่องแรกชื่อ ยามิซากูระ (ญี่ปุ่น: 闇桜โรมาจิYamisakura; ซากูระยามค่ำคืน) ตีพิมพ์ในฉบับแรกของนิตยสารมูซาชิโนะ ภายใต้นามปากกา อิจิโย ฮิงูจิ[19] เรื่องราวจากยุคแรกนี้ (1892–1894) ได้รับอิทธิพลเป็นอย่างมากจากความยากจนในยุคเฮอัง[20] ฮิงูจิรู้สึกถูกบีบบังคับในการฝึกสอนการเขียนวรรณกรรมคลาสสิก เนื้อเรื่องนั้นไม่แข็งแรง มีการพัฒนาตัวละครเพียงเล็กน้อย และเต็มไปด้วยความรู้สึกอ่อนไหวที่มากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ฮิงูจิเขียนไปอย่างพร้อมกันในไดอารีของเธอ แต่หลังจากนั้นฮิงูจิก็พัฒนาความสามารถของเธออย่างรวดเร็ว ฮิงูจิเริ่มมีแก่นเรื่องที่เป็นเอกลักษณ์ของเธอ เช่น ความสัมพันธ์แบบสามเหลี่ยมความรักของหญิงสาวโดดเดี่ยวและสวยงามที่สูญเสียบิดามารดาของพวกเธอไป, ชายหนุ่มหล่อที่ทิ้งแฟนสาวของเขาไป (และยังคงอยู่ในเนื้อเรื่องโดยไม่โดดเด่น) และคนขอทานเข้าตาจนที่ตกหลุมรักผู้หญิง อีกหนึ่งแก่นเรื่องที่ฮิงูจิมักใช้คือความทะเยอทะยานและความโหดร้ายของชนชั้นกลางในยุคเมจิ[21]

วรรณกรรมเรื่องอูโมเรงิ (ญี่ปุ่น: うもれ木โรมาจิUmoregi) คือสัญญาณในการเป็นนักเขียนมืออาชีพของฮิงูจิ อูโมเรงิ ถูกตีพิมพ์ในวรสารที่มีชื่อเสียง มิยาโกะโนะฮานะ ในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 1892[22] เพียงแค่ 9 เดือนหลังจากเธอได้เริ่มเขียนอย่างจริงจัง ผลงานของฮิงูจิได้รับความสนใจและเธอเองก็ได้รับการยอมรับในฐานะนักเขียนหน้าใหม่[23]

บั้นปลายชีวิต

[แก้]
อนุสรณ์สถานของอิจิโย ฮิงูจิในบ้านเกิดของเธอที่วัดจิอุนจิ โคชู จังหวัดยามานาชิ
ฮิงูจิบนธนบัตร 5,000 เยน ประกาศใช้ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2004

ในปี 1893 ฮิงูจิ มารดา และน้องสาวของเธอย้ายออกมาจากบ้านชนชั้นกลาง และย้ายมาอยู่ในเมืองยากจนที่พวกเขาเปิดร้านเครื่องเขียนก่อนที่จะล้มไป ที่พักอาศัยใหม่ของพวกเขาใช้เวลาเดินทางด้วยการเดิน 5 นาทีจากโยชิวาระ ซึ่งเป็นย่านโคมแดงในโตเกียว ประสบการณ์ของฮิงูจิระหว่างการใช้ชีวิตอยู่ในละแวกนี้จะถูกนำไปใช้เขียนวรรณกรรมของเธอ[24] โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่อง ทาเกะคูราเบะ (ญี่ปุ่น: たけくらべโรมาจิTakekurabe)[25]

เรื่องราวชีวิตผู้ใหญ่ของฮิงูจิ (1894–1896) นั้นไม่ได้มีเพียงแค่ประสบการณ์ที่เธอได้พักอาศัยอยู่ใกล้ย่านโคมแดงและการตระหนักรู้ถึงสภาพอันเลวร้ายของผู้หญิงเท่านั้น[26] แต่โดยอิทธิพลจากเรื่องแต่งของอิฮาระ ไซกากุ นักเขียนในศตวรรษที่ 17 ที่ฮิงูจิได้ค้นพบ[24] วรรณกรรมของฮิงูจิในยุคนี้ เช่น โอสึโงโมริ (ญี่ปุ่น: 大つごもりโรมาจิŌtsugomori; วันสุดท้ายของปี), นิโงริเอะ (ญี่ปุ่น: にごりえโรมาจิNigorie), จูซังยะ (ญี่ปุ่น: 十三夜โรมาจิJūsanya; คืนที่สิบสาม), ทาเกะคูราเบะ และ วากาเระมิจิ (ญี่ปุ่น: わかれ道โรมาจิWakaremichi

ความโด่งดังของฮิงูจิจากวรรณกรรมที่ออกล่าสุดของเธอแพร่ไปยังผู้ที่ครองอำนาจในโตเกียวต่าง ๆ ฮิงูจิได้รับการยกย่องว่าเป็น "สตรีคนสุดท้ายของยุคเมจิเก่า"[27] ในบ้านอันเรียบง่ายของฮิงูจิ เธอได้รับการเยี่ยมเยียนโดยนักเขียน นักศึกษากวี ผู้ชื่นชอบในผลงาน นักวิจารณ์ และบรรณาธิการเพื่อขอให้เธอมาร่วมงานด้วย หลังจากฮิงูจิที่มักมีอาการปวดศีรษะอยู่บ่อยครั้ง จึงเลิกการเขียนไป ต่อมาบิดาและพี่ชายคนโตของฮิงูจิที่เป็นวัณโรคมาก่อนหน้าเธอ ก็ทำให้ได้รับเชื้อวัณโรคด้วย[28] ฮิงูจิเสียชีวิตในวันที่ 23 พฤศจิกายน 1896 ด้วยอายุ 24 ปี[29] ร่างของฮิงูจิถูกฝังไว้ที่สุสานสึกิจิฮงกังจิวาดาโบริในซูงินามิ โตเกียว

งานเขียนคัดสรร

[แก้]

ฮิงูจิได้เขียนผลงานเรื่องสั้นทั้งสิ้น 21 เรื่อง กวีเกือบ 4,000 บท รวมถึงเรียงความและไดอารีหลายเล่ม[30] ปีดังต่อไปนี้หมายถึงปีที่มีการตีพิมพ์ครั้งแรก[31]

เรื่องสั้น

[แก้]

การแปล

[แก้]

วรรณกรรมของฮิงูจิถูกแปลในหลายภาษา การแปลภาษาอังกฤษครั้งแรกย้อนกลับไปในช่วงปี 1903 (โอสึโงโมริ; ญี่ปุ่น: 大つごもりโรมาจิŌtsugomori; The Last Day of the Year โดยเทอิ ฟูจิโอะ)[1] ในปี 1981 โรเบิร์ต ลิญงส์ แดนลี่ ได้คัดเลือกวรรณกรรม 9 เรื่องของฮิงูจิและนำมาแปลใหม่อีกครั้

วรรณกรรมบางเรื่องยังถูกแปลจากภาษาญี่ปุ่นคลาสสิกที่ฮิงูจิใช้ในทุกเรื่องที่เธอเขียน[32] มาเป็นภาษาญี่ปุ่นสมัยปัจจุบัน เช่น การแปลของนิโงริเอะ (ญี่ปุ่น: にごりえโรมาจิNigorie) โดยฮิโรมิ อิโต[33][34] หรือทาเกะคูราเบะ โดยฟูมิโกะ เอ็นจิ[35]

มรดก

[แก้]

ภาพวาดของฮิงูจิถูกนำมาใช้บนธนบัตร 5,000 เยน ในปี 2004 ทำให้ฮิงูตจิเป็นสตรีคนที่สามที่ได้อยู่บนธนบัตรญี่ปุ่นตามหลังจักรพรรดินีจิงงู ในปี 1881 และ มูราซากิ ชิกิบุ ในปี 2000

วรรณกรรมของเธอเรื่องโอสึโงโมริ, นิโงริเอะ, จูซังยะ และทาเกะคูราเบะ มักถูกดัดแปลงไปเป็นภาพยนตร์และละครโทรทัศน์อยู่บ่อยครั้ง เช่น An Inlet of Muddy Water (1953, กำกับโดยทาดาชิ อิไม) และ ทาเกะคูราเบะ (1955, กำกับโดยเฮโนซูเกะ โกโช)

ภาพยนตร์ที่อิงจากชีวิตของฮิงูจิเรื่องฮิงูจิ อิจิโย ถูกฉายในปี 1939 นำแสดงโดย อิซูซุ ยามาดะ และกำกับโดยเคียวตาโร นามิกิ[36][37] ฮิงูจิยังเป็นตัวชูโรงในละครเวทีโดยฮิซาชิ อิโนอูเอะ เรื่องซุตซือคาตาโกริ ฮิงูจิ อิจิโย ที่ทำการแสดงครั้งแรกในปี 1984[38]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Danly 1981, p. 3.
  2. "Higuchi Ichiyō". Britannica.com. สืบค้นเมื่อ 14 October 2021.
  3. Danly 1981, p. 11.
  4. Danly 1981, p. 7.
  5. "樋口一葉 (Higuchi Ichiy)". Kotobank (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 17 October 2021.
  6. 6.0 6.1 Comité franco-japonais de Tokio (January 1936). France-Japon : Bulletin mensuel d'information (ภาษาฝรั่งเศส). p. 40.
  7. Danly 1981, p. 9.
  8. Ortabasi & Copeland 2006, p. 129.
  9. 9.0 9.1 Danly 1981, pp. 15–16.
  10. Danly 1981, pp. 16–18.
  11. 11.0 11.1 Tanaka 2000, p. 64.
  12. 12.0 12.1 Danly 1981, p. 21.
  13. 13.0 13.1 Danly 1981, pp. 22–24.
  14. Danly 1981, pp. 26–27.
  15. Danly 1981, pp. 27–28.
  16. Ortabasi & Copeland 2006, p. 130.
  17. Danly 1981, pp. 28–29.
  18. Danly 1980, p. 50.
  19. Danly 1981, p. 52.
  20. Danly 1981, p. 60.
  21. Danly 1981, p. 82.
  22. Danly 1981, p. 75.
  23. Tanaka 2000, p. 62.
  24. 24.0 24.1 Danly 1981, p. 109.
  25. Keene 1956, p. 70.
  26. Winston 2004, p. 6.
  27. Tanaka 2000, p. 63.
  28. Danly 1981, p. 161.
  29. Ortabasi & Copeland 2006, p. 131.
  30. Danly 1981, pp. vii–viii.
  31. Danly 1981, pp. 333–334.
  32. Van Compernolle, Timothy J. (1996). The Uses of Memory: The Critique of Modernity in the Fiction of Higuchi Ichiyō. Cambridge (MA) and London: Harvard University Press. p. 6. ISBN 978-0-674-02272-0.
  33. Kosaka, Kris (21 July 2018). "Fiercely intelligent and unstoppably prolific, Hiromi Ito is a modern literary provocateur". Japan Times. สืบค้นเมื่อ 22 June 2021.
  34. Itō, Hiromi (1996). にごり江 現代語訳 • 樋口一葉 (Nigorie: Modern language translation • Higuchi Ichiyō). Tokyo: Kawadeshobo Shinsha. ISBN 978-4-309-40732-6.
  35. Higuchi, Ichiyō; Ōgai, Mori (2009). たけくらべ・山椒大夫 (Nigorie, Sanshō Dayū). แปลโดย Enchi, Fumiko; Teiichi, Hirai. Tokyo: Kodansha. ISBN 978-4-06-282651-8.
  36. Galbraith IV, Stuart (2008). The Toho Studios Story: A History and Complete Filmography. Lanham, Toronto, Plymouth: Scarecrow Press. p. 30. ISBN 978-0-8108-6004-9.
  37. "樋口一葉 (Higuchi Ichiyō)". Kinenote (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 17 October 2021.
  38. "頭痛肩こり樋口一葉 (Zutsuu katakori Higuchi Ichiyō)". Kotobank (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 21 October 2021.
งานอ้างอิง

หนังสืออ่านเพิ่มเติม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]