ข้ามไปเนื้อหา

อิจิโงะ อิจิเอะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ป้ายไม้ที่เขียนคำว่า อิจิโงะ อิจิเอะ

อิจิโงะ อิจิเอะ (ญี่ปุ่น: โรมาจิIchi-go ichi-eทับศัพท์ออกเสียง: [it͡ɕi.ɡo it͡ɕi.e]; แปลว่า หนึ่งครั้ง หนึ่งการพบเจอ) เป็นวลีภาษาญี่ปุ่นสี่คำ (โยจิจุคุโงะ) ที่อธิบายถึงแนวคิดทางวัฒนธรรมในการให้คุณค่าแก่ธรรมชาติของช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ที่ไม่อาจกลับคืน วลีนี้อาจแปลในความหมายว่า "แค่ครั้งนี้ครั้งเดียว" หรือ "ครั้งหนึ่งในชีวิต" และมีไว้เตือนใจผู้คนให้รักในเหตุการณ์ใดหรือการพบปะใดก็ตามที่เกิดขึ้น เพราะมันจะไม่เกิดขึ้นซ้ำได้อีก แม้จะเป็นผู้คนกลุ่มเดิมมาพบกันในสถานที่ที่เดิมก็ตาม การพบปะกันในครั้งนั้น ๆ ก็ไม่อาจเกิดขึ้นซ้ำได้อีก ดังนั้น ทุกช่วงเวลาจึงเป็นประสบการณ์ที่ล้วนเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชีวิตเท่านั้น[1] แนวคิดนี้มักนำไปเกี่ยวเนื่องกับพิธีชาญี่ปุ่น โดยเฉพาะปรมาจารย์ชา เซ็ง โนะ ริคีว และ อีอิ นาโอซุเกะ

ประวัติศาสตร์

[แก้]

วลีนี้สามารถย้อนไปได้ถึงศตวรรษที่ 16 เป็นคำโดยปรมาจารย์ชา เซ็ง โนะ ริคีว: ญี่ปุ่น: 一期に一度โรมาจิichigo ni ichido (โอกาสเดียวในชีวิตเดียว)[2] ศิษย์ของริคีว ยามาโนะอูเอะ โซจิ เขียนคำสั่งใน ยามาโนะอูเอะ โซจิ คิ (Yamanoue Sōji Ki) ว่า จงให้ความเคารพเจ้าภาพ "ราวกับว่าเป็นการพบว่าที่จะเกิดขึ้นแค่ครั้งเดียวในชีวิตนี้" (ญี่ปุ่น: 一期に一度の会のようにโรมาจิichigo ni ichido no e no yō ni)[3] โดยคำว่า อิจิโงะ (一期) ในศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่นมีความหมายว่า "จากเกิดจนตาย" หรืออีกนัยหนึ่งคือในช่วงชีวิตของคนคนหนึ่ง

ต่อมาในกลางศตวรรษที่ 19 อีอิ นาโอซูเอะ ผู้ปกครองระดับสูงในรัฐโชกุลโทคุงาวะอรรถาธิบายถึงแนวคิดนี้ไว้ใน อาโนยุ อิชิเอ ชู (Chanoyu Ichie Shū) ว่า[1]

การจัดพิธีชาควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง อาจเรียกได้ว่าพิธีชานั้นเป็นการพบปะกันเพียงครั้งเดียว ("อิจิโงะ อิจิเอะ") แม้ว่าเจ้าภาพและแขกจะพบปะกันบ่อยครั้ง แต่การพบปะสังสรรค์กันในวันหนึ่ง ๆ จะไม่สามารถเกิดขึ้นซ้ำได้อีกแน่นอน เมื่อมองในมุมนี้ การพบปะกันในแต่ละครุ้งถือเป็นโอกาสที่เกิดขึ้นครั้งเดียวในชีวิต ดังนั้น เจ้าภาพจึงต้องเอาใจใส่ในทุกแง่มุมของการพบปะกันอย่างจริงใจและทุ่มเทอย่างเต็มที่เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีอะไรไม่ดีเกิดขึ้น ส่วนแขกจะต้องเข้าใจว่าการพบปะกันครั้งนี้จะไม่เกิดขึ้นอีก และต้องตระหนักดีว่าเจ้าภาพได้วางแผนไว้อย่างสมบูรณ์แบบ และต้องเข้าร่วมงานด้วยความจริงใจ นี่คือความหมายของคำว่า "อิจิโงะ อิจิเอะ"[3]

บทบรรยายดังกล่าวเป็นที่มาของ โยจิจุคุโงะ (วลีสี่คำ) อิจิโงะ อิจิเอะ (一期一会) ที่ใช้กันในปัจจุบัน

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม

[แก้]
  • วาทยกรชาวโรมาเนีย เซอร์จีว เซลีบีดาเช ยอมรับว่าความตั้งใจในทุก ๆ การแสดงดนตรีของเขาอย่างแน่วแน่นั้นมีอิทธิพลจากแนวคิดนี้
  • ภาพยนตร์ปี 1994 เรื่อง Forrest Gump ออกฉายในประเทศญี่ปุ่นโดยใช้วลีนี้ในชื่อภาพยนตร์ว่า ญี่ปุ่น: 『フォレスト・ガンプ/一期一会』 (Forrest Gump/Ichi-go Ichi-e) เพื่อสะท้อนถึงเรื่องราวในภาพยนตร์[4]
  • ฮิโระ นาคามูระ มีวลีนี้เป็นวลีโปรดในละครชุดบนเอ็นบีซี Heroes ในสหรัฐ[5]
  • นายกรัฐมนตรีอินเดีย นเรนทร โมที ใช้วลีนี้เพื่ออธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับญี่ปุ่นขณะเดินทางเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการในวันที่ 11 พฤศจิกายน 2016[6][7]
  • ภัตตาคารอาหารญี่ปุ่นระดับดาวมิชลินมีชื่อว่า Ichigo Ichie ตั้งอยู่ในคอร์ก ประเทศไอร์แลนด์
  • บริษัทอสังหาริมทรัพย์และพลังงานทดแทนในญี่ปุ่นใช้ชื่อ Ichigo Inc. โดยมีที่มาจากวลีนี้[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 Ii, Naosuke (1858). Chanoyu Ichie Shū [Collection on the Oneness of Chanoyu].
  2. Omotesenke (2005). "Chanoyu Glossary". Japanese Tea Culture. สืบค้นเมื่อ 2014-10-26.
  3. 3.0 3.1 Varley, H. Paul; Kumakura, Isao (1989). Tea in Japan: Essays on the History of Chanoyu. University of Hawaii Press. p. 187. ISBN 9780824817176.
  4. Abe, Namiko. "Movie Titles in Japanese(2)". About.com Japanese Language. {{cite web}}: |access-date= ต้องการ |url= (help); |archive-url= ต้องการ |url= (help); |url= ไม่มีหรือว่างเปล่า (help)
  5. Hiro's Blog เก็บถาวร 2007-02-08 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  6. "Media Statement by Prime Minister during his visit to Japan (November 11, 2016)". pib.nic.in. สืบค้นเมื่อ 11 November 2016.
  7. "Full Text of PM Narendra Modi's Statement During His Visit To Japan". NDTV.com. สืบค้นเมื่อ 11 November 2016.
  8. "Origin of Ichigo's Name". สืบค้นเมื่อ 2019-07-11.[ลิงก์เสีย]