อิจิจูซันไซ
สำรับอาหารอิจิจูซันไซซึ่งประกอบด้วยข้าวหนึ่งชาม ซุปคาวหนึ่งถ้วย จานเนื้อหรือปลา และเครื่องเคียงหลายชนิดจากผัก | |
มื้อ | จานหลัก |
---|---|
ชาติที่มีอาหารประจำชาติที่เกี่ยวข้อง | ญี่ปุ่น |
อุณหภูมิเสิร์ฟ | ร้อนหรืออุณหภูมิห้อง |
ส่วนผสมหลัก | ข้าวพร้อมกับข้าวหลายชนิด |
อิจิจูซันไซ (ญี่ปุ่น: 一汁三菜; โรมาจิ: Ichijū-sansai) เป็นธรรมเนียมการจัดสำรับอาหารญี่ปุ่นซึ่งประกอบด้วยข้าวหนึ่งชาม ซุปหนึ่งถ้วย และกับข้าวสามอย่าง (จานหลักหนึ่งอย่างและเครื่องเคียงสองอย่าง)[1] อิจิจูซันไซเป็นองค์ประกอบสำคัญของไคเซกิซึ่งสะท้อนความงามแบบญี่ปุ่นและคุณค่าทางโภชนาการของอาหารญี่ปุ่น[2][3][1]
ประวัติศาสตร์
[แก้]ต้นกำเนิดของอิจิจูซันไซสามารถสืบย้อนไปได้ถึงยุคเฮอังและวิวัฒนาการผ่านยุคมูโรมาจิซึ่งในสมัยนั้นจะเป็นธรรมเนียมการจัดสำรับอาหารของซามูไร รูปแบบของอิจิจูซันไซเริ่มเป็นมาตรฐานเมื่อถึงยุคเอโดะ นอกจากรูปแบบ "อิจิจูซันไซ" หรือซุปหนึ่งอย่าง กับข้าวสามอย่างแล้วยังมีรูปแบบอื่น ๆ อีกเช่น "อิจิจูนิไซ" (ซุปหนึ่งอย่าง กับข้าวสองอย่าง) หรือ "นิจูโงไซ" (ซุปสองอย่าง กับข้าวห้าอย่าง) เป็นต้น[1]
แม้ว่าการจัดสำรับอิจิจูซันไซจะเริ่มเสื่อมความนิยมหลังยุคเมจิ แต่อิจิจูนิไซซึ่งเป็นรูปแบบที่ง่ายกว่านั้นก็ยังคงมีอิทธิพลต่อธรรมเนียมการจัดสำรับอาหารของญี่ปุ่นในปัจจุบัน ชาวญี่ปุ่นในปัจจุบันนิยมจัดสำรับรูปแบบนี้สำหรับโอกาสพิเศษ ซึ่งเป็นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับอาหารญี่ปุ่นแบบร่วมสมัยขึ้นมา[1]
องค์ประกอบของสำรับ
[แก้]สำรับอาหารอิจิจูซันไซหนึ่งสำรับจะประกอบด้วย[4]
- อาหารจานหลัก (ชูไซ) ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นจานเนื้อหรือปลา
- เครื่องเคียง (ฟูกูไซ) จะประกอบด้วยอาหารสองชนิดซึ่งทำจากผัก ซึ่งอาจจะเป็นสลัด ผักดอง หรือผักต้ม
- ข้าว อาหารหลักของชาวญี่ปุ่น
- ซุป โดยทั่วไปจะเป็นซุปมิโซะ
ในสังคมปัจจุบัน
[แก้]ในครัวเรือนญี่ปุ่นปัจจุบัน อิจิจูซันไซจะประกอบด้วยข้าว ซุป อาหารจานหลักหนึ่งอย่างและเครื่องเคียงสองอย่าง ซึ่งสะท้อนถึงคุณค่าทางโภชนาการและการจัดองค์ประกอบอย่างสวยงาม[5] การกำหนดปริมาณอาหารให้มีขนาดเหมาะสมยังช่วยให้ภาพลักษณ์ของสำรับที่จัดออกมาดูสมดุลกันด้วย ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่าการจัดสำรับอาหารแบบอิจิจูซันไซทำให้ผู้รับประทานมีสุขภาพดี แม้ว่าปริมาณไขมันและเกลือที่สูงอาจจะเป็นที่กังวลก็ตาม[6]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 石垣悟 (2020). "民俗行事の中の食". 東京家政学院大学紀要 (ภาษาJapanese). 60: 137–150.
{{cite journal}}
: CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์) - ↑ 日本の食事のよさって何かな? - 農林水産省
- ↑ 食育月間以外の月の取組 - 農林水産省
- ↑ 日本の伝統的食文化としての和食 เก็บถาวร 2018-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 農林水産省
- ↑ 日本の伝統的食文化としての和食 เก็บถาวร 2018-02-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน 農林水産省
- ↑ 三成由美,濱田綾子,北原詩子,入来寬,御手洗早也伽,大仁田あずさ,宮原葉子,徳井教孝 (2016). "長期食生活調査における食事パターンの構造とその栄養素等摂取状況". 中村学園大学薬膳科学研究所研究紀要 (ภาษาJapanese). 中村学園大学. 8: 43–66.
{{cite journal}}
: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์) CS1 maint: unrecognized language (ลิงก์)