ข้ามไปเนื้อหา

อิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา
เจ้าหญิงแห่งไบรา
อินฟันตาเปโดร การ์โลสแห่งสเปนและโปรตุเกส
เคาน์เตสแห่งโมลินา
ประสูติ29 เมษายน พ.ศ. 2336
พระราชวังหลวงอาจูดา อาจูดา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
สิ้นพระชนม์17 มกราคม พ.ศ. 2417
(พระชนมายุ 80 พรรษา)
ตรีเยสเต
พระราชสวามีอินฟันตาเปโดร การ์โลสแห่งสเปนและโปรตุเกส
อินฟันเตการ์โลส เคานท์แห่งโมลินา
พระราชบุตรอินฟันเตเซบาสเตียวแห่งโปรตุเกสและสเปน
พระนามเต็ม
มารีอา ตึเรซา ฟรังซิซกา เดอ อัซซิส อันโตเนีย การ์ลอตา ฌูอานา โฌเซฟา ซาเวียร์ เดอ เปาลา มิกาเอลา อิซาเบล กองซากา
ราชวงศ์บรากังซา
บูร์บง
พระราชบิดาพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
พระราชมารดาเจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน

อิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา (มารีอา ตึเรซา ฟรังซิซกา เดอ อัซซิส อันโตเนีย การ์ลอตา ฌูอานา โฌเซฟา ซาเวียร์ เดอ เปาลา มิกาเอลา อิซาเบล กองซากา; 29 เมษายน พ.ศ. 2336 - 17 มกราคม พ.ศ. 2417) เป็นพระราชบุตรและพระราชธิดาพระองค์แรกในพระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสกับเจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน และพระนางทรงเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์โปรตุเกสโดยทรงเป็น "เจ้าหญิงแห่งไบรา" ในช่วงระหว่างปีพ.ศ. 2336 จนถึงพ.ศ. 2338 เมื่อเจ้าชายฟรังซิชกู อังตอนีอูแห่งไบรา พระอนุชาของพระนางประสูติ

ช่วงต้นพระชนม์ชีพ

[แก้]

อิงฟังตามารีอา ตึเรซามีพระนามเต็มว่า มารีอา ตึเรซา ฟรังซิซกา เดอ อัซซิส อันโตเนีย การ์ลอตา ฌูอานา โฌเซฟา ซาเวียร์ เดอ เปาลา มิกาเอลา อิซาเบล กองซากา พระนางประสูติในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2336 ณ พระราชวังหลวงอาจูดา อาจูดา ลิสบอน ประเทศโปรตุเกส เป็นพระราชบุตรพระองค์โตในองค์รัชทายาทแห่งราชบัลลังก์โปรตุเกส เจ้าหญิงทรงได้รับพระอิศริยยศ เจ้าหญิงแห่งไบรา (เป็นพระอิสริยยศที่จะมอบแก่พระราชโอรสซึ่งเป็นรัชทายาทในราชบัลลังก์) อิงฟังตามารีอา ตึเรซาเป็นพระราชธิดาพระองค์โตในพระเจ้าโจเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกสซึ่งขณะนั้นทรงเป็นองค์รัชทายาทในสมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส พระราชมารดาของเจ้าหญิงคือ เจ้าหญิงการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน ซึ่งเป็นพระราชธิดาในพระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน

อภิเษกสมรสและอิทธิพลทางการเมือง

[แก้]

เจ้าหญิงอภิเษกสมรสในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2353 ณ กรุงรีโอเดจาเนโร (ที่ซึ่งพระราชวงศ์โปรตุเกสได้เสด็จลี้ภัยอันเนื่องมาจากสงครามนโปเลียน) กับพระญาติของพระนางเอง อินฟันเตเปโดร การ์โลสแห่งสเปนและโปรตุเกส พระนางทรงต้องกลายเป็นม่ายอันเนื่องจากการสิ้นพระชนม์ของพระสวามีในวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2355 ด้วยพระชนมายุเพียง 26 พรรษา แต่ทั้งสองพระองค์ก็มีพระราชโอรสหนึ่งพระองค์คือ อินฟันเตเซบาสเตียวแห่งโปรตุเกสและสเปน

พระนางทรงมีแนวคิดอนุรักษนิยมอย่างสุดโต่ง ทรงร่วมมือกับพระอนุชาคือ อิงฟังตึมิเกลแห่งโปรตุเกสโดยพยายามให้พระอนุชาได้ครองราชบัลลังก์โปรตุเกสและทำการถอดถอนสมเด็จพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 แห่งโปรตุเกส พระภาติยะซึ่งมีพระชนมายุ 9 พรรษาออกจากราชบัลลังก์ และถอดถอนอิงฟังตาอิซาเบล มาเรียแห่งโปรตุเกส พระขนิษฐาของพระนางเองออกจากตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในสงครามเสรีนิยม หรือ "สงครามกลางเมืองโปรตุเกส" ในช่วงปีพ.ศ. 2371 ถึงพ.ศ. 2377 อิงฟังตึมิเกลทรงครองราชย์เป็น พระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกสและพระนางทรงสนับสนุนให้พระเทวัน(น้องเขย)และมีศักดิ์เป็นพระปิตุลาของพระนางคือ อินฟันเตการ์โลส เคานต์แห่งโมลินาได้สืบราชบัลลังก์สเปน ในช่วงปีสุดท้ายแห่งรัชกาลของพระเจ้าเฟร์นันโดที่ 7 แห่งสเปน พ.ศ. 2376 อิงฟังตามารีอา ตึเรซาทรงประทับอยู่ที่มาดริดและทรงวางแผนสนับสนุนสิทธิการสืบราชสันตติวงศ์ของอินฟันเต เจ้าหญิงทรงมีส่วนร่วมในสงครามการ์ลิสต์ครั้งที่ 1 ในช่วงปีพ.ศ. 2376 ถึง พ.ศ. 2382 โดยสนับสนุนฝ่ายการ์ลิสต์, ศาสนาและนักปฏิกิริยา เพื่อทำการโค่นล้มสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลที่ 2 แห่งสเปนซึ่งมีพระชนมายุ 3 พรรษาออกจากราชบัลลังก์ ต่อมาอิงฟังตามารีอา ฟรังซิชกาแห่งบรากังซา พระขนิษฐาของพระนางซึ่งเป็นพระมเหสีในพระเจ้าคาร์ลอส สิ้นพระชนม์ในปีพ.ศ. 2377

อิงฟังตามารีอา ตึเรซาในบั้นปลายพระชนม์ชีพ

อินฟันเตการ์โลสทรงบุกสเปนและได้รับการสนับสนุนจากทั้งพวกปฏิกิริยาและพวกอนุรักษนิยมในประเทศ (ที่พวกอนุรักษนิยมหรือพวกนิยมสมบูรณาญาสิทธิราชย์อยู่ฝ่ายอินฟันเตการ์โลสนั้น เป็นเพราะทราบว่าต่อไปสมเด็จพระราชินีนาถจะทรงปฏิรูปบ้านเมืองให้เป็นไปในทางเสรีนิยม กลุ่มผู้สนับสนุนเจ้าชายเรียกว่า "พวกการ์ลิสต์") ส่วนพระราชชนนีของสมเด็จพระราชินีนาถอิซาเบลลา คือ มาเรีย-คริสตินาแห่งบูร์บง-ซิซิลีทั้งสอง ทรงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินจนกว่าพระราชธิดาจะทรงบรรลุนิติภาวะ

การก่อการกบฏดูเหมือนจะถูกกำราบในปลายปีเดียวกันนั้นเอง โดยกองทัพ (พวกเสรีนิยม) ของสมเด็จพระราชินีมาเรีย-คริสตินาซึ่งเรียกว่า "กองกำลังกริสตีโนส" หรือ "กองกำลังอีซาเบลีโนส" สามารถขับไล่กองทัพการ์ลิสต์จากพื้นที่ส่วนใหญ่ของแคว้นบาสก์ได้ เจ้าชายคาร์ลอสจึงทรงแต่งตั้งพลเอกโตมัส เด ซูมาลาการ์เรกี นายทหารชาวบาสก์เป็นผู้บัญชาการทหารในพระองค์ ซูมาลาการ์เรกีรวบรวมและฟื้นฟูพวกการ์ลิสต์ขึ้นมาใหม่ และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2378 ได้ผลักดันให้กองกำลังกริสตีโนถอยร่นกลับไปยังแม่น้ำเอโบร และเปลี่ยนแปลงกองทัพที่กำลังเสียขวัญของพวกการ์ลิสต์ให้เป็นกองทัพที่แข็งแกร่งเหนือกว่ากองกำลังของรัฐบาลแม้มีกำลังทหารเพียง 3 หมื่นคน แต่การเสียชีวิตของซูมาลาการ์เรกีจากการรบในปี พ.ศ. 2378 ก็เปลี่ยนแปลงอนาคตของพวกการ์ลิสต์อีกครั้ง นอกจากนี้พวกกริสตีโนสยังได้นายพลผู้มีความสามารถ คือ บัลโดเมโร เอสปาร์เตโร เข้ามาบัญชาการ ชัยชนะของเขาในยุทธการที่เขตลูชานา (พ.ศ. 2379) เป็นจุดเปลี่ยนของสงคราม และในปี พ.ศ. 2382 การประชุมใหญ่แห่งเบร์การาก็ได้ประกาศยุติการก่อกบฏของพวกการ์ลิสต์ลง

การสืบราชบัลลังก์สเปน เนรเทศและสิ้นพระชนม์

[แก้]

ในวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2380 กลุ่มคอร์เตสแห่งสเปนได้ออกพระราชบัญญัติตัดพระนางออกจากสิทธิในราชบัลลังก์สเปน, สิทธิในราชบัลลังก์ซึ่งทรงได้มาจากทางพระราชมารดา อันเนื่องมาจากพระนางทรงก่อการกบฏร่วมกับอินฟันเตการ์โลส พระราชโอรสของพระนาง อินฟันเตเซบาสเตียวก็ทรงถูกตัดออกจากสิทธิในราชบัลลังก์สเปนด้วยเช่นกัน แต่หลังจากนั้นในพ.ศ. 2402 สิทธิของอินฟันเตเซบาสเตียวได้รับการฟื้นฟูในสเปน ยกเว้นแต่พระโอรสในอินฟันเตการ์โลสและพระเจ้ามิเกลแห่งโปรตุเกส พระอนุชาของเจ้าหญิงก็ถูกตัดสิทธิในกฎหมายเดียวกัน

ปีต่อมาพระนางทรงอภิเษกสมรสอีกครั้ง ในปีพ.ศ. 2381 กับพระเทวัน, พระมาตุลาและมิตรของพระนางอย่างยาวนาน อินฟันเตการ์โลส เคานต์แห่งโมลินา ผู้ซึ่งพระนางทรงเห็นว่าเป็นพระมหากษัตริย์แห่งสเปนที่มีอำนาจอันชอบธรรมกว่าพระราชินีนาถอิซาเบลลาที่ 2 และทรงเป็นม่ายจากการสิ้นพระชนม์ของอิงฟังตามารีอา ฟรังซิซกาแห่งโปรตุเกส พระขนิษฐาของพระนาง การอภิเษกสมรสครั้งที่สองนี้ทรงมิได้มีพระโอรสธิดาร่วมกัน แต่พระนางทรงเลี้ยงดูพระนัดดาทั้งสองพระองค์ซึ่งกลายเป็นพระโอรสเลี้ยง

ทั้งสองพระองค์ทรงถูกเนรเทศจำต้องเสด็จออกจากสเปนอันเนื่องมาจากการปฏิวัติที่ล้มเหลวและมิทรงได้กลับมาอีก อีกทั้งมิอาจกลับไปยังโปรตุเกสในรัชสมัยของพระราชินีนาถมาเรียที่ 2 พระราชนัดดาที่เจ้าหญิงทรงวางแผนโค่นราชบัลลังก์ได้ พระนางสิ้นพระชนม์ที่ตรีเยสเต ในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2417 สิริพระชนมายุ 80 พรรษา มีพระชนม์ชีพยืนยาวกว่าพระสวามีถึง 19 ปี

พระราชโอรส

[แก้]

อิงฟังตามารีอา ตึเรซามีพระราชโอรสจากการอภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าชายเปโดร คาร์ลอสแห่งสเปนและโปรตุเกสมีพระโอรสเพียง 1 พระองค์ ส่วนการอภิเษกสมรสครั้งที่สองกับอินฟันเตการ์โลส เคานต์แห่งโมลินามิได้มีพระราชบุตรร่วมกัน

พระนาม ประสูติ สิ้นพระชนม์ คู่สมรส และพระโอรส-ธิดา หมายเหตุ
อินฟันเตเซบาสเตียวแห่งสเปนและโปรตุเกส 18114 พฤศจิกายน
พ.ศ. 2354
187513 มกราคม
พ.ศ. 2418
อภิเษกสมรสครั้งที่ 1 วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2375 กับ
เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งบูร์บง-ทูซิชิลี
ไม่มีพระโอรสธิดา

อภิเษกสมรสครั้งที่ 2 วันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2403 กับ
เจ้าหญิงมาเรีย คริสตินาแห่งสเปน
มีพระโอรสธิดา 5 พระองค์ ได้แก่
เจ้าชายฟรานซิสโก ดยุคแห่งมาร์เซนา
เจ้าชายเปโดร เดอ อัลคันทารา ดยุคแห่งดูร์คัล
เจ้าชายลูอิซ ดยุคแห่งอันซอลา
เจ้าชายอัลฟองโซ
เจ้าชายกาเบรียล

พระราชตระกูล

[แก้]
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
16. พระเจ้าเปดรูที่ 2 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
8. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
17. เจ้าหญิงมาเรีย โซเฟียแห่งพาลาทิเนต-เนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
4. พระเจ้าเปดรูที่ 3 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
18. จักรพรรดิเลโอพ็อลท์ที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
 
 
 
 
 
 
 
9. อาร์ชดัสเชสมาเรีย อันนาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
19. เจ้าหญิงเอเลโอนอร์ แม็กดาเลนแห่งเนาบูร์ก
 
 
 
 
 
 
 
2. พระเจ้าฌูเอาที่ 6 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20. พระเจ้าฌูเอาที่ 5 แห่งโปรตุเกส(=8)
 
 
 
 
 
 
 
10. พระเจ้าฌูเซที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
21. อาร์ชดัสเชสมาเรีย อันนาแห่งออสเตรีย(=9)
 
 
 
 
 
 
 
5. สมเด็จพระราชินีนาถมารีอาที่ 1 แห่งโปรตุเกส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
22. พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
11. อินฟันตามาเรียนา บิกโตเรียแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
23. เอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ
 
 
 
 
 
 
 
1. อิงฟังตามารีอา ตึเรซาแห่งบรากังซา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
24. พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน(=22)
 
 
 
 
 
 
 
12. พระเจ้าการ์โลสที่ 3 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
25. เอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ(=23)
 
 
 
 
 
 
 
6. พระเจ้าการ์โลสที่ 4 แห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
26. สมเด็จพระเจ้าออกัสตัสที่ 3 แห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 
 
13. เจ้าหญิงมาเรีย อเมเลียแห่งแซ็กโซนี
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
27. อาร์ชดัสเชสมาเรีย โยเซฟาแห่งออสเตรีย
 
 
 
 
 
 
 
3. อินฟันตาการ์โลตา โฆอากินาแห่งสเปน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
28. พระเจ้าเฟลิเปที่ 5 แห่งสเปน(=22)
 
 
 
 
 
 
 
14. เจ้าชายฟิลิป ดยุคแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
29. เอลีซาเบตตา ฟาร์เนเซ(=23)
 
 
 
 
 
 
 
7. เจ้าหญิงมารีอา ลุยซาแห่งปาร์มา
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
30. พระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
15. เจ้าหญิงหลุยส์ เอลีซาแบ็ตแห่งฝรั่งเศส
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
31. เจ้าหญิงมารี เลสซ์ไซน์สกาแห่งโปแลนด์
 
 
 
 
 
 

ดูเพิ่ม

[แก้]