อิกอมะฮ์
หน้าตา
อิกอมะฮ์ หรือ อิกอมัต (อาหรับ: إِقَامَة) เป็นการเรียกละหมาดครั้งที่สอง ซึ่งจะกล่าวก่อนละหมาดทันที[1] โดยทั่วไป เมื่อเทียบกับอะซานแล้ว อิกอมะฮ์มักอ่านเร็วและมีการซ้ำมากกว่า เพราะเป็นการกล่าวถึงคนที่อยู่ในมัสยิด มากกว่าเตือนคนที่อยู่ด้านนอกให้เข้ามัสยิด[2]
ข้อความ
[แก้]บทอ่าน | ภาษาอาหรับ ภาษาอาหรับคลาสสิก |
คำอ่าน | แปล | |
---|---|---|---|---|
แบบซุนนี | แบบชีอะฮ์ | |||
2x | 2x | ٱللَّٰهُ أَكْبَرُ | ʾAllāhu ʾakbaru | อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร [เหนือสิ่งอื่นใด] |
1x | 2x | أَشْهَدُ أَنْ لَا إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّٰهُ | ʾašhadu ʾan lā ʾilāha ʾillā -llāhu | ฉันขอปฏิญาณว่า ไม่มีพระเจ้าอื่นใด นอกจากอัลลอฮ์ |
1x | 2x | أَشْهَدُ أَنَّ مُحَمَّدًا رَسُولُ ٱللَّٰهِ | ʾašhadu ʾanna Muḥammadan rasūlu -llāhi | ฉันขอปฏิญาณว่า มุฮัมมัดเป็นเราะซูลของอัลลอฮ์ |
ไม่มี | 2x[a] | أَشْهَدُ أَنَّ عَلِيًّا وَلِيُّ ٱللَّٰهِ | ʾašhadu ʾanna ʿAlīyan walīyu -llāhi | ฉันขอปฏิญาณว่า อะลีเป็นวะลีของอัลลอฮ์ |
1x | 2x | حَيَّ عَلَىٰ ٱلصَّلَاةِ حَيَّ عَلَىٰ ٱلصَّلَوٰةِ |
ḥayya ʿalā ṣ-ṣalāhti | ท่านทั้งหลาย จงมาละหมาดเถิด |
1x | 2x | حَيَّ عَلَىٰ ٱلْفَلَاحِ حَيَّ عَلَىٰ ٱلْفَلَٰحِ |
ḥayya ʿalā l-falāḥi | ท่านทั้งหลาย จงมาสู่ชัยชนะเถิด |
ไม่มี | 2x | حَيَّ عَلَىٰ خَيْرِ ٱلْعَمَلِ | ḥayya ʿalā khayri l-ʿamali | ท่านทั้งหลาย จงมาสู่การงานที่ดีเถิด |
2x | 2x | قَدْ قَامَتِ ٱلصَّلَاةُ قَدْ قَامَتِ ٱلصَّلَوٰةُ |
qad qāmati ṣ-ṣalāhtu | การละหมาดกำลังจะเริ่ม |
2x | 2x | ٱللَّٰهُ أَكْبَرُ | ʾAllāhu ʾakbaru | อัลลอฮ์ผู้ทรงเกรียงไกร [เหนือสิ่งอื่นใด] |
1x | 1x | لَا إِلَٰهَ إِلَّا ٱللَّٰهُ | lā ʾilāha ʾillā -llāhu | ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮ์ |
- ↑ รายงานจากนักวิชาการชีอะฮ์สิบสองอิมามกลุ่มอุศูลี ประโยคนั้นไม่จำเป็นต้องกล่าวในอะซานกับอิกอมะฮ์ แต่แนะนำให้อ่าน (มุสตะฮับบ์) อย่างไรก็ตาม ชีอะฮ์สิบสองอิมามกลุ่มอิคบารี ถือว่าเป็นสิ่งที่จำเป็นในอะซานกับอิกอมะฮ์[3] ฟาฏิมียะฮ์, อิสมาอีลียะฮ์, อะละวีโบะฮ์ราส และดะวูดีโบะฮ์ราสเชื่อ รวมและอ่านเหมือนกัน โดยอ่านในอะซานสองครั้ง แต่ไม่อ่านในอิกอมะฮ์ พวกเขาได้เพิ่มคำว่า Muḥammadun wa ʿAlīyun khayru l-basar wa itaratu huma khayru l-itar (มุฮัมมัดและอะลีเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุดและลูกหลานของพวกท่านคือลูกหลานที่ดีที่สุด) สองครั้งหลังท่อนที่ 6 (Ḥayya ʿala-khayri l-ʿamal) ธรรมเนียมนี้ทำตามมาตั้งแต่ซุอัยบ์ อิบน์ มูซา (ค.ศ. 1132) ดาอิลมุฏลักคนแรก หลังจากอัฏฏ็อยยิบ อบูกอซิม อิหม่ามคนที่ 21 และอ้างว่าเป็นธรรมเนียมฟาฏิมียะฮ์ที่แท้จริง[4][5][6]
ตรงกันข้ามกับสำนักอื่นในศาสนาอิสลามทั้งหมด สำนักฮะนะฟีกับชีอะฮ์กล่าวอะซานและอิกอมะฮ์เหมือนกัน[1][7] อย่างไรก็ตาม สำนักของซุนนีสามารถอ่านได้ทั้งสองแบบ ตามหลักฐานจากฮะดีษ[1][2]
ดูเพิ่ม
[แก้]- ชะฮาดะฮ์
- ตะชะฮ์ฮุด
- เศาะละวาต
- สันติจงมีแด่ท่าน
- ซิกร์
- เตาฮีด
- บาเรจู - การเรียกให้มาขอพรของศาสนายูดาห์
- ระฆังโบสถ์
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Th.W., Juynboll. "Iḳāma" (ภาษาอังกฤษ).
{{cite journal}}
: Cite journal ต้องการ|journal=
(help) Encyclopaedia of Islam, 2nd Edition Online. Edited by P. Bearman, Th. Bianquis, C.E. Bosworth, E. van Donzel, W.P. Heinrichs - ↑ "How the iqaamah is done". Islam QA. Shaykh Muhammad Saalih al-Munajjid. สืบค้นเมื่อ 8 July 2015.
- ↑ "Akhbari". Akhbari. สืบค้นเมื่อ 2013-12-31.
- ↑ Islamic Laws : Rules of Namaz » Adhan and Iqamah เก็บถาวร กันยายน 14, 2008 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ Importance and Conditions of Prayers - Question #466 เก็บถาวร กรกฎาคม 8, 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- ↑ "Adhan Call to Prayer". duas.org. Retrieved on 25 August 2016.
- ↑ Howard, IKA, “The development of the “adhan” and “iqama” of the salat” in early Islam.” Journal of Semitic Studies (Manchester University Press) 26 (1981), p. 227.