อำเภอปากคาด
อำเภอปากคาด | |
---|---|
การถอดเสียงอักษรโรมัน | |
• อักษรโรมัน | Amphoe Pak Khat |
คำขวัญ: นครหิน ถิ่นเหนือสุดแดนอีสาน ตำนานถ้ำศรีธน คนปากยิ้ม ริมโขงสวย รวยไม้ผล | |
แผนที่จังหวัดบึงกาฬ เน้นอำเภอปากคาด | |
พิกัด: 18°17′54″N 103°18′24″E / 18.29833°N 103.30667°E | |
ประเทศ | ไทย |
จังหวัด | บึงกาฬ |
พื้นที่ | |
• ทั้งหมด | 218.10 ตร.กม. (84.21 ตร.ไมล์) |
ประชากร (2567) | |
• ทั้งหมด | 22,266 คน |
• ความหนาแน่น | 102.09 คน/ตร.กม. (264.4 คน/ตร.ไมล์) |
รหัสไปรษณีย์ | 38190 |
รหัสภูมิศาสตร์ | 3805 |
ที่ตั้งที่ว่าการ | ที่ว่าการอำเภอปากคาด หมู่ที่ 5 ถนนพิทักษ์ประชา ตำบลโนนศิลา อำเภอปากคาด จังหวัดบึงกาฬ 38190 |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย |
ปากคาด เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดบึงกาฬ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดหนองคาย ต่อมาได้แยกออกมาจัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬตามพระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554 อันมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 23 มีนาคม 2554 เป็นต้นไป[1]
ประวัติ
[แก้]หมู่บ้านปากคาด เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่มีประชากรประมาณ 25 หลังคาเรือน หมู่บ้านปากคาด สมัยนั้นอยู่ในเขตปกครองของตำบลโพนแพง อำเภอโพนพิสัย มีหมู่บ้าน วัด โรงเรียน มีโรงเรียนตั้งอยู่ในวัดสว่างอุทิศ หรือวัดท่าปากน้ำ ซึ่งตั้งอยู่บริเวณปากห้วยคาด จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้าน เพราะส่วนใหญ่จะนิยมจัดตั้งตามลักษณะภูมิประเทศ
สมัยนั้น การสัญจรทางบกยังเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ การเดินทางทางบกจึงลำบากมาก การเดินทางส่วนใหญ่จึงนิยมเดินทางทางน้ำ บ้านปากคาดเป็นเมืองท่าชุมทาง มีท่าเรือ จึงมีการติดต่อค้าขาย และเป็นจุดรวมสินค้าการเกษตร และของป่าต่างๆ เช่น สัตว์ป่า ข้าวเปลือก ชัน ปอ หวาย น้ำมันยาง เป็นต้น ชาวบ้านจะนำสินค้าโดยการ เดิน ขน แบก ถ้ามากหน่อยก็ใช้เกวียน สินค้าส่วนใหญ่จะมาจากดงศรีชมพู แถวบ้านนาขาม บ้านโคกกลาง สินค้าทุกอย่างจะถูกนำมารวมไว้ที่ท่าเรือปากคาด โดยวางเรียงเป็นแพยาวจากริมน้ำขึ้นมายังริมถนน บริเวณปากห้วยคาดในปัจจุบัน เพื่อรอพ่อค้า มารับซื้อใส่เรือกำปั่น เพื่อขนส่งสินค้าและผู้โดยสาร ไปยังจังหวัดต่อไป
- วันที่ 22 มกราคม 2506 ตั้งตำบลปากคาด แยกออกจากตำบลโพนแพง[2]
- วันที่ 5 มีนาคม 2511 จัดตั้งสุขาภิบาลปากคาด ในท้องที่หมู่ 1 บ้านปากคาด หมู่ 4 บ้านโนนชัยศรี และหมู่ 7 บ้านท่าสวรรค์ ตำบลปากคาด[3]
- วันที่ 19 มิถุนายน 2516 ตั้งตำบลหนองยอง แยกออกจากตำบลปากคาด[4]
- วันที่ 31 ตุลาคม 2521 ตั้งตำบลนากั้ง แยกออกจากตำบลปากคาด[5]
- วันที่ 21 พฤศจิกายน 2521 แยกพื้นที่ตำบลปากคาด ตำบลหนองยอง และตำบลนากั้ง จากอำเภอโพนพิสัย มาตั้งเป็น กิ่งอำเภอปากคาด[6] และให้ขึ้นการปกครองกับอำเภอโพนพิสัย
- วันที่ 25 พฤศจิกายน 2528 ตั้งตำบลโนนศิลา แยกออกจากตำบลปากคาด[7]
- วันที่ 20 มีนาคม 2529 ยกฐานะจากกิ่งอำเภอปากคาด อำเภอโพนพิสัย เป็น อำเภอปากคาด[8]
- วันที่ 10 ตุลาคม 2529 ตั้งตำบลสมสนุก แยกออกจากตำบลหนองยอง[9]
- วันที่ 29 กรกฎาคม 2534 ตั้งตำบลนาดง แยกออกจากตำบลโนนศิลา[10]
- วันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ยกฐานะจากสุขาภิบาลปากคาด เป็นเทศบาลตำบลปากคาด[11] ด้วยผลของกฎหมาย
- วันที่ 22 มีนาคม 2554 แยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอโซ่พิสัย อำเภอบุ่งคล้า อำเภอบึงโขงหลง อำเภอปากคาด อำเภอพรเจริญ และอำเภอศรีวิไล จังหวัดหนองคาย มาตั้งเป็น จังหวัดบึงกาฬ[1] และเปลี่ยนชื่ออำเภอบึงกาฬ เป็นอำเภอเมืองบึงกาฬ
ที่ตั้งและอาณาเขต
[แก้]อำเภอปากคาดมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียง ดังต่อไปนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ (ประเทศลาว)
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเมืองบึงกาฬและอำเภอโซ่พิสัย
- ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอโซ่พิสัย
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอรัตนวาปี (จังหวัดหนองคาย) และแขวงบอลิคำไซ (ประเทศลาว)
การแบ่งเขตการปกครอง
[แก้]การปกครองส่วนภูมิภาค
[แก้]อำเภอปากคาดแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 6 ตำบล 64 หมู่บ้าน ได้แก่
ลำดับ | อักษรไทย | อักษรโรมัน | จำนวนหมู่บ้าน | จำนวนประชากร (ธันวาคม 2565)[12] |
---|---|---|---|---|
1. | ปากคาด | Pak Khat | 18
|
7,939
|
2. | หนองยอง | Nong Yong | 11
|
6,489
|
3. | นากั้ง | Na Kang | 7
|
4,168
|
4. | โนนศิลา | Non Sila | 12
|
6,396
|
5. | สมสนุก | Som Sanuk | 8
|
5,637
|
6. | นาดง | Na Dong | 8
|
4,132
|
การปกครองส่วนท้องถิ่น
[แก้]ท้องที่อำเภอปากคาดประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 7 แห่ง ได้แก่
- เทศบาลตำบลปากคาด ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลปากคาดและบางส่วนของตำบลโนนศิลา
- องค์การบริหารส่วนตำบลปากคาด ครอบคลุมพื้นที่ตำบลปากคาด (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลปากคาด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลหนองยอง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองยองทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนากั้ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนากั้งทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลโนนศิลา ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนศิลา (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลปากคาด)
- องค์การบริหารส่วนตำบลสมสนุก ครอบคลุมพื้นที่ตำบลสมสนุกทั้งตำบล
- องค์การบริหารส่วนตำบลนาดง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาดงทั้งตำบล
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "พระราชบัญญัติตั้งจังหวัดบึงกาฬ พ.ศ. 2554" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 128 (18 ก): 1. 2011-03-22. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2011-04-09. สืบค้นเมื่อ 2011-11-10.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอเมืองหนองคาย อำเภอศรีเชียงใหม่ และอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 80 (8 ง): 96–101. January 22, 1963.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งสุขาภิบาลปากคาด อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 85 (23 ง): 692–693. March 5, 1968.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่ อำเภอโพนพิสัยและอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 90 (70 ง): 1895–1899. June 16, 1973.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอบึงกาฬ และกิ่งอำเภอพรเจริญ จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (121 ง): 3733–3739. October 31, 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-03. สืบค้นเมื่อ 2021-07-04.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ตั้งเป็นกิ่งอำเภอปากคาด" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 95 (130 ง): 4081. November 21, 1978. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-04.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่กิ่งอำเภอปากคาด อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 102 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 4-6. November 25, 1985.
- ↑ "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอคลองลาน อำเภอสุคิริน อำเภอตะโหมด อำเภอห้วยทับทัน และอำเภอปากคาด พ.ศ. ๒๕๒๙" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (45 ง): (ฉบับพิเศษ) 4-6. March 20, 1986. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2012-02-24. สืบค้นเมื่อ 2021-07-04.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอโพนพิสัย อำเภอบึงกาฬ และกิ่งอำเภอปากคาด จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 103 (175 ง): (ฉบับพิเศษ) 137-146. October 10, 1986.
- ↑ "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอปากคาดและอำเภอโซ่พิสัย จังหวัดหนองคาย" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 108 (131 ง): (ฉบับพิเศษ) 137-142. July 29, 1991.
- ↑ "พระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะของสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (9 ก): 1–4. February 24, 1999. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2008-04-09. สืบค้นเมื่อ 2021-07-04.
- ↑ "ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร". stat.bora.dopa.go.th.