ข้ามไปเนื้อหา

อาสนวิหารวุร์สเตอร์

พิกัด: 52°11′20″N 2°13′15″W / 52.18889°N 2.22083°W / 52.18889; -2.22083
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาสนวิหารวุร์สเตอร์
Cathedral Church of Christ and the Blessed Mary the Virgin, of Worcester
อาสนวิหารวุร์สเตอร์
อาสนวิหารวุร์สเตอร์ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร
อาสนวิหารวุร์สเตอร์
อาสนวิหารวุร์สเตอร์
ที่ตั้งในสหราชอาณาจักร
52°11′20″N 2°13′15″W / 52.18889°N 2.22083°W / 52.18889; -2.22083
ที่ตั้งวุร์สเตอร์ (วุร์สเตอร์เชอร์)
ประเทศสหราชอาณาจักร
นิกายคริสตจักรแห่งอังกฤษ
เว็บไซต์worcestercathedral.co.uk
ประวัติ
ชื่อเดิมWorcester Priory
สถาปัตยกรรม
สถานะการใช้งานเปิดใช้งาน
รูปแบบสถาปัตย์นอร์มัน, กอทิกแบบอังกฤษ
ปีสร้างค.ศ. 1084-1504
โครงสร้าง
อาคารยาว130 m (426.51 ft)
เนฟยาว53 m (173.88 ft)
อาคารกว้าง44 m (144.36 ft)
เนฟกว้าง9 m (29.53 ft)
เนฟสูง20 m (65.62 ft)
ความสูงหอคอย62 m (203.41 ft)
การปกครอง
มุขมณฑลวุร์สเตอร์ (ตั้งแต่ 670)
แขวงแคนเทอร์เบอรี
นักบวช
มุขนายกJohn Inge
เจ้าคณะPeter Atkinson
ผู้นำสวดMichael Brierley
Canon(s)Georgina Byrne
Stephen Edwards
ฆราวาส
นักออร์แกนSamuel Hudson (ผู้อำนวยการดนตรี)
Nicholas Freestone (รองผู้อำนวยการดนตรี)
Ed Jones (Sub Assistant Organist)

อาสนวิหารวุร์สเตอร์ (อังกฤษ: Worcester cathedral) เป็นอาสนวิหารนิกายอังกลิคันตั้งอยู่ที่เมืองวูสเตอร์ บนฝั่งแม่น้ำเซเวิร์น (Severn) ใน สหราชอาณาจักร ชื่อทางการของอาสนวิหารวูสเตอร์ คือ “The Cathedral Church of Christ and the Blessed Virgin Mary”

อาสนวิหารวุร์สเตอร์เดิมก่อตั้งเป็นสำนักสงฆ์เมื่อ ค.ศ. 680 โดยบาทหลวงโบเซล (Bishop Bosel) ทึ่ฝังศพใต้ดิน (crypt) ภายใต้อาสนวิหารสร้างมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 10 ในสมัยบาทหลวงนักบุญออสวอลด์ (St Oswald) มหาวืหารที่เห็นในปัจจุบันเป็นสิ่งก่อสร้างระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 12 ถึง คริสต์ศตวรรษที่ 13 แทนอาสนวิหารเดิม

ตามบันทึกของนักบุญบีดสำนักสงฆ์มีนักบวชทั้งชายและหญิงมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 และเปลี่ยนฐานะเป็นสำนักสงฆ์เบ็นเนดิคตินในครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 10 (ผู้บันทึกท่านหนึ่งกล่าวว่าราวระหว่างปี ค.ศ. 974 ถึง ค.ศ. 977 แต่น่าจะเป็นปี ค.ศ. 969) นักบวชเบ็นเนดิคตินถูกขับจากสำนักสงฆ์เมื่อวันที่ 18 มกราคม ค.ศ. 1540 และแทนที่ด้วยแคนนอน (canon)

สำนักสงฆ์มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักบุญแอ็บโบแห่งฟลูรี (Abbo of Fleury) เมื่อนักบุญออสวอลด์เป็นนักบวชในขณะเดียวกัน และเป็นผู้แนะนำกฎฟลูรีหรือกฎการปฏิบัติชีวิตของสำนักสงฆ์ที่วุร์สเตอร์[1][2]

อ้างอิง

[แก้]
  1. David Knowles (1971). Medieval Religious Houses: England & Wales. Longman. p. 81. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |coauthors= ถูกละเว้น แนะนำ (|author=) (help)
  2. Braunfels, Wolfgang (1972). Monasteries of Western Europe. Thames and Hudson. p. 154.

ดูเพิ่ม

[แก้]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]