อาร์โด
อาร์โด | |
---|---|
กษัตริย์แห่งชนวิซิกอท | |
ครองราชย์ | ค.ศ. 713/714 – 720/721 |
ก่อนหน้า | อาชิลาที่ 2 |
ถัดไป | ยุบเลิกตำแหน่ง |
สวรรคต | ค.ศ. 720/721 |
อาร์โด (กอทิก: Ardo หรือ อาร์โดนุส (Ardonus) อาจเป็นรูปสั้นของ อาร์ดาบัสตุส (Ardabastus); สวรรคต ค.ศ. 720/721) เป็นกษัตริย์แห่งชนวิซิกอทองค์สุดท้ายที่ได้รับการรับรอง ครองราชย์ใน ค.ศ. 713 หรือ 714 จนกระทั่งสวรรคตใน ค.ศ. 720 หรือ 721[1][2][3] ราชอาณาจักรวิซิกอทถูกลดอำนาจและพื้นที่ลงอย่างมากแล้วในขณะที่พระองค์สืบทอดราชบัลลังก์ต่อจากอาชิลาที่ 2 และอาณาจักรของพระองค์คงไม่สามารถขยายออกไปไกลกว่าเซปทิเมเนียและแคว้นกาตาลุญญาในปัจจุบัน เนื่องจากการพิชิตของชาวอาหรับเมื่อสามปีก่อน
อาร์โดได้รับการบันทึกในรายพระนามเชื้อพระวงศ์วิซิกอทเพียงแห่งเดียวว่าครองราชย์นานถึง 7 ปี[4][5] เมื่อ ค.ศ. 716 ชาวอาหรับข้ามเทือกเขาพิรินีและรุกรานอานาร์โบเนงซิส มณฑลสุดท้ายที่อยู่ภายใต้การปกครองของกอท[4] ในช่วงสามปีถัดมา อาร์โดอาจปกป้องอาณาจักรวิซิกอทที่เหลืออยู่ และพระองค์ "อาจลงในสนามรบเหมือนกับผู้ครองราช์ก่อนหน้าของพระองค์" หลังจากที่ชาวอาหรับยึดครองนาร์บอน และก่อนที่พวกเขาจะยึดครองอาณาจักรเก่าที่เหลืออยู่ทั้งหมด[4][6]
ถ้าอาร์โดได้รับการระบุเข้ากับอาร์โดบัสตุส ดังนั้นพระองค์รอดชีวิตจากการรุกรานและเจรจาสนธิสัญญา ซึ่งเขาเป็นตัวแทนชาวคริสต์ในฐานะเคานต์ของชาวคริสต์แห่งอัลอันดะลุส[7] ตำแหน่งนี้จะถูกส่งต่อไปยังบุคคลจำนวนหนึ่งจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 เป็นอย่างน้อย เคานต์คนอื่น ๆ ได้แก่: Rabî’ ibn Theodulph,[8]: 281–294 Abû Sa’îd al-Qûmis, (ลูกหลานอาร์ดาบัสตุส)[9] และ Mu’âwiya ibn Lubb[10]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Collins, Roger (1989). The Arab Conquest of Spain: 710 - 797 (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 45. ISBN 978-0-631-19405-7.
- ↑ Jones, Dan (2021). Powers and Thrones: A New History of the Middle Ages (ภาษาอังกฤษ). Bloomsbury Publishing. ISBN 978-1-78954-355-1.
- ↑ Collins, Roger (2004). Visigothic Spain 409 - 711 (ภาษาอังกฤษ). John Wiley & Sons. p. 140. ISBN 978-0-470-75456-6.
- ↑ 4.0 4.1 4.2 Collins, Visigothic Spain, 140.
- ↑ Thompson, 251, says he is otherwise unknown.
- ↑ Collins, The Arab Conquest of Spain, 45.
- ↑ Simonet, Francisco Javier. "Historia de los mozárabes de España (rééd.)." (1983). vol. 4, p. 197, p. 247.
- ↑ Vallvé, Joaquín. "The zalmedina of Córdoba." Al-Qantara 2.1 (1981), pp. 277-318.
- ↑ AL-QÛTIYYA, I. B. N. "Tarij iftitâh al-Andalus (Historia de la Conquista de España), texto árabe impreso por P. de Gayangos en la Colección de Crónicas Árabes de la Real Academia de la Historia, T. II (Madrid 1868)." Una edición posterior: Historia de la conquista de España de Abenalcotia el Cordobés, trad. castellana de J. Ribera, Madrid (1926). p. 31.
- ↑ Molénat, Jean Pierre. "Minorités in miroir. Mozarabes et mudéjars dans la Péninsule Ibérique médiévale." Ethnic-religious minorities in the Iberian Peninsula: Medieval and modern period . Edições Colibri, 2008.
บรรณานุกรม
[แก้]- Thompson, E. A. The Goths in Spain. Oxford: Clarendon Press, 1969.
- Collins, Roger. The Arab Conquest of Spain, 710–97. Blackwell Publishing, 1989.
- Collins, Roger. Visigothic Spain, 409–711. Blackwell Publishing, 2004.
- Història de Catalunya. Barcelona: El Periodico, 1992.