ข้ามไปเนื้อหา

อาร์เอสเอส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อาร์เอสเอส
Feed Computer icon.
นามสกุลไฟล์
.rss, .xml
ประเภทสื่ออินเทอร์เน็ตapplication/rss+xml (การลงทะเบียนไม่สมบูรณ์)[1]
ผู้พัฒนาRSS Advisory Board
เปิดตัวครั้งแรกRSS 0.90 (Netscape), 15 มีนาคม 1999; 26 ปีก่อน (1999-03-15)
รุ่นล่าสุด
RSS 2.0 (รุ่น 2.0.11)
30 มีนาคม 2009; 16 ปีก่อน (2009-03-30)
รูปแบบWeb syndication
บรรจุสำหรับการอัปเดตขแงเว็บไซต์และข้อมูลอภิพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง (เว็บฟีด)
แยกสำหรับXML
รูปแบบไฟล์เปิดYes
เว็บไซต์rssboard.org/rss-specification

อาร์เอสเอส (อังกฤษ: RSS, ย่อจาก RDF Site Summary หรือ Really Simple Syndication)[2] คือหนึ่งในประเภทเว็บฟีด ซึ่งมีรูปแบบข้อมูลเอกซ์เอ็มแอล ซึ่งใช้สำหรับในการกระจายข้อมูลที่มีการเพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงบ่อยจากเว็บไซต์ (web syndication) และบล็อก ซึ่งอาร์เอสเอสสามารถย่อมาจากหลายรูปแบบด้วยกันคือ :

  • Really Simple Syndication (RSS 2.0)
  • Rich Site Summary (RSS 0.91)
  • RDF Site Summary (RSS 0.9 และ 1.0)

การใช้งาน

[แก้]

โปรแกรมอ่านฟีดหรือรวบรวมฟีด (feed readers or aggregators) นั้นใช้สำหรับในการตรวจสอบ รวบรวมและดึงข้อมูลจากฟีดต่างๆที่กำหนด โดยปกติบริการประเภทนี้ไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่ข้อมูลที่ได้อาจเป็นเพียงหัวข้อข่าว หรือรายละเอียดโดยย่อเท่านั้น ส่วนเนื้อหา หรือข้อความหลักของข่าว มักจะมีลิงก์เชื่อมโยงไปให้อีกทีหนึ่ง

อาร์เอสเอส ถูกใช้อย่างแพร่หลายในกลุ่มของคนที่ใช้บล็อก เพื่อแสดงหัวข้อหรือเรื่องราวล่าสุด รวมถึงข้อมูลมัลติมิเดียด้วย (ดู พอดคาสติ้ง บรอดแคทชิ่ง (broadcatching) และบล็อกเอ็มพีทรี (MP3 blogs)) ในกลางปี พ.ศ. 2543 การใช้งานอาร์เอสเอสก็แพร่หลายไปสู่สำนักข่าวต่างๆ ทั้ง รอยเตอร์ ซีเอ็นเอ็น และ บีบีซี

โปรแกรมรวมกลุ่มข่าวสารจะทำการตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ทั้งยังแสดงผลข้อมูลล่าสุดให้อัตโนมัติ ในตอนนี้ถือเป็นเรื่องปกติจะพบอาร์เอสเอสในเว็บไซต์ทั่วไป บางเว็บไซต์ยังสามารถเลือกรูปแบบของการรับข่าวสาร ระหว่างอาร์เอสเอสหรือ Atom ได้อีกด้วย

การรับข่าวสารผ่านทางเว็บไซต์ ปกติจะใช้คำว่า "ลงทะเบียนรับข่าวสาร" (Subscribe) หรือ เป็นรูปภาพ และในหลายเบราว์เซอร์ยังให้อาร์เอสเอสเป็นคั่นหน้า (bookmark) ได้เช่นกัน

หมายเหตุ

[แก้]
  • Powers, Shelley (2003). Practical RDF. O'Reilly.

อ้างอิง

[แก้]
  1. "The application/rss+xml Media Type". Network Working Group. May 22, 2006. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 14, 2022. สืบค้นเมื่อ August 16, 2007.
  2. Powers 2003, p. 10: "Another very common use of RDF/XML is in a version of RSS called RSS 1.0 or RDF/RSS. The meaning of the RSS abbreviation has changed over the years, but the basic premise behind it is to provide an XML-formatted feed consisting of an abstract of content and a link to a document containing the full content. When Netscape originally created the first implementation of an RSS specification, RSS stood for RDF Site Summary, and the plan was to use RDF/XML. When the company released, instead, a non-RDF XML version of the specification, RSS stood for Rich Site Summary. Recently, there has been increased activity with RSS, and two paths are emerging: one considers RSS to stand for Really Simple Syndication, a simple XML solution (promoted as RSS 2.0 by Dave Winer at Userland), and one returns RSS to its original roots of RDF Site Summary (RSS 1.0 by the RSS 1.0 Development group)."

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]