ข้ามไปเนื้อหา

อาร์ม็อง ฌ็อง ดูว์ แปลซี เดอ รีเชอลีเยอ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พระอธิคุณเจ้าพระคาร์ดินัล
ดยุกแห่งรีเชอลีเยอ
มุขมนตรีแห่งรัฐฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง
12 สิงหาคม 1624 – 4 ธันวาคม 1642
กษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 13
ก่อนหน้ามาร์ควิสแห่งอ็องคร์
ว่าง (1617–1624)
ถัดไปพระคาร์ดินัลมาซาแร็ง
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการสงคราม
ดำรงตำแหน่ง
25 พฤศจิกายน 1616 – 24 เมษายน 1617
กษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 13
ก่อนหน้ากลูก ม็องโก
ถัดไปนีกอลา บรูแลร์ เดอ ซิลลีย์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
ดำรงตำแหน่ง
30 พฤศจิกายน 1616 – 24 เมษายน 1617
กษัตริย์พระเจ้าหลุยส์ที่ 13
ก่อนหน้ากลูก ม็องโก
ถัดไปมาร์ควิสแห่งซิลเลอรี
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
Armand Jean du Plessis

09 กันยายน ค.ศ. 1585(1585-09-09)
ปารีส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
เสียชีวิต4 ธันวาคม ค.ศ. 1642(1642-12-04) (57 ปี)
ปารีส ราชอาณาจักรฝรั่งเศส
เชื้อชาติฝรั่งเศส
ศาสนาโรมันคาทอลิก
วิชาชีพบาทหลวง, นักการเมือง
ลายมือชื่อ

อาร์ม็อง ฌ็อง ดูว์ แปลซี พระคาร์ดินัลดยุกแห่งรีเชอลีเยอ (ฝรั่งเศส: Armand Jean du Plessis de Richelieu, Cardinal-Duc de Richelieu) เป็นบาทหลวงและรัฐบุรุษชาวฝรั่งเศส ท่านยังได้รับฉายาว่า พระคุณเจ้าแดง (I'Éminence rouge) จากการที่ท่านสวมเสื้อคลุมสีแดงของพระคาร์ดินัล

ภูมิหลัง

[แก้]

อาร์ม็อง เดอ รีเชอลีเยอเกิดที่ปารีส เป็นบุตรชายคนที่สามของครอบครัวขุนนางที่มีฐานะไม่ร่ำรวย บิดาของเขาป่วยเสียชีวิตในช่วงสงครามศาสนาของฝรั่งเศสในปี 1590 ทำให้ครอบครัวตกอยู่ในภาวะขัดสน เมื่อมีอายุเก้าปี เด็กชายอาร์ม็องถูกส่งตัวเข้าวิทยาลัยนาวาร์ในปารีสเพื่อศึกษาปรัชญา ภาษาละติน ภาษากรีก ภาษาฮีบรู ไวยากรณ์ และศิลปกรรม หลังจากออกจากวิทยาลัย เขาได้สืบบรรดาศักดิ์ มาร์ควิสแห่งชีลู (Marquis de Chillou) ซึ่งเป็นยศขุนนางจากญาติห่างๆที่เขามีสิทธิ์สืบทอด จากนั้นจึงเข้ารับการฝึกเตรียมทหาร[1] ทำให้เขาได้เรียนคณิตศาสตร์ ขี่ม้า และมารยาทชั้นสูง ชีวิตส่วนตัวของเขาในช่วงนี้เหมือนกับเด็กเตรียมทหารทั่วไป[2]

พระเจ้าอ็องรีที่ 3 ทรงตอบแทนบิดาของอาร์ม็อง ผู้มีความดีความชอบในสงครามศาสนา โดยการประทานมุขมณฑณลูว์ซง (Luçon) ให้แก่ครอบครัวรีเชอลีเยอ ด้วยเหตุนี้ ครอบครัวรีเชอลีเยอจึงนำรายได้ของมุขมณฑณมาใช้จ่ายส่วนตัวเป็นจำนวนมาก สร้างความไม่พอใจต่อนักบวชบางส่วนที่ต้องการนำเงินไปใช้จ่ายเพื่อศาสนา มารดาของรีเชอลีเยอต้องการปกป้องแหล่งรายได้ดังกล่าวจึงเสนอให้อาลฟงส์ บุตรชายคนที่สอง เตรียมตัวเป็นมุขนายกแห่งลูซง แต่อาลฟงส์ไม่อยากเป็นมุขนายก และเลือกเป็นแค่นักบวชคณะคาร์ทูเซียน ด้วยเหตุนี้ อาร์ม็องผู้น้อง จึงต้องหันไปสู่การเป็นพระ เขาเริ่มเรียนเทววิทยาในปี 1605 และจบการศึกษาในปี 1607

มุขนายก

[แก้]

รีเชอลีเยอในวัยยี่สิบเอ็ดได้รับการเสนอชื่อโดยพระเจ้าอ็องรีที่ 4 ให้เป็นมุขนายกแห่งลูว์ซงในปลายปี 1606 เขาไปวาติกันและรับหนังสือแต่งตั้งในเดือนเมษายน 1607

ในปี 1614 พระคุณเจ้ารีเชอลีเยอได้เป็นสมาชิกสภาฐานันดร ผู้แทนฐานันดรที่หนึ่ง ส่งผลให้เขาเริ่มเข้าสู่แวดวงอำนาจการเมืองในปารีส ต่อมาเข้ารับราชการจนได้เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสงครามในปี 1616 และยังก้าวหน้าในสมณศักดิ์จนได้รับการสถาปนาเป็นพระคาร์ดินัลในปี 1622 และได้ดำรงตำแหน่งมุขมนตรีแห่งรัฐ (principal ministre d'État) ในรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์ที่ 13 แห่งฝรั่งเศส

พระคุณเจ้ารีเชอลีเยอมีนโยบายรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง ด้วยเหตุนี้ พระคุณเจ้าจึงพยายามรวมอำนาจเข้าสู่องค์กษัตริย์ (ซึ่งทรงตกอยู่ใต้อิทธิพลของท่าน) และพยายามจำกัดอำนาจของขุนนาง อีกด้านหนึ่ง พระคุณเจ้าก็นำฝรั่งเศสเข้าผูกมิตรกับประเทศที่นับถือโปรเตสแตนต์อย่างราชอาณาจักรอังกฤษและสาธารณรัฐดัตช์ เพื่อรักษาความเหนือกว่าของฝรั่งเศสในสงครามสามสิบปีระหว่างปี 1618–1648

ดยุกแห่งรีเชอลีเยอถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 1642 ในการนี้ พระคาร์ดินัลฌูล มาซาแร็ง เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งมุขมนตรีต่อจากเขา

อ้างอิง

[แก้]
  1. Wedgwood, p. 187.
  2. Treasure, Geoffrey Russell Richards (1972). Cardinal Richelieu and the Development of Absolutism (ภาษาอังกฤษ). St. Martin's Press. p. 10. ISBN 978-0-7136-1286-8.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]