อาราโอะ
อาราโอะ 荒尾市 | |||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ศาลาว่าการนครอาราโอะ | |||||||||||||||
ที่ตั้งของอาราโอะ (เน้นสีชมพู) ในจังหวัดคูมาโมโตะ | |||||||||||||||
พิกัด: 32°59′00″N 130°26′07″E / 32.98333°N 130.43528°E | |||||||||||||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | ||||||||||||||
ภูมิภาค | คีวชู | ||||||||||||||
จังหวัด | คูมาโมโตะ | ||||||||||||||
บันทึกทางการครั้งแรก | ค.ศ. 796 | ||||||||||||||
จัดตั้งเทศบาลนคร | 1 เมษายน ค.ศ. 1942 | ||||||||||||||
การปกครอง | |||||||||||||||
• นายกเทศมนตรี | โทชิฮิโกะ อาซาดะ (浅田 敏彦) | ||||||||||||||
พื้นที่ | |||||||||||||||
• ทั้งหมด | 57.37 ตร.กม. (22.15 ตร.ไมล์) | ||||||||||||||
ประชากร (1 พฤษภาคม ค.ศ. 2023)[1] | |||||||||||||||
• ทั้งหมด | 49,035 คน | ||||||||||||||
• ความหนาแน่น | 855 คน/ตร.กม. (2,210 คน/ตร.ไมล์) | ||||||||||||||
เขตเวลา | UTC+09:00 (เวลามาตรฐานญี่ปุ่น) | ||||||||||||||
รหัสท้องถิ่น | 43204-1 | ||||||||||||||
ที่อยู่ศาลาว่าการ | 390 Kunai-Deme, Arao-shi, Kumamoto-ken 864-8686 | ||||||||||||||
เว็บไซต์ | www | ||||||||||||||
|
อาราโอะ (ญี่ปุ่น: 荒尾市; โรมาจิ: Arao-shi) เป็นนครที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดคูมาโมโตะ ประเทศญี่ปุ่น มีขนาดพื้นที่ทั้งสิ้น 57.37 ตารางกิโลเมตร มีจำนวนประชากร ณ วันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2023 ประมาณ 49,035 คน[1]
ภูมิศาสตร์
[แก้]อาราโอะตั้งอยู่ในตอนกลางของเกาะคีวชู ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจังหวัดคูมาโมโตะ อยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของนครคูมาโมโตะห่างไปประมาณ 40 กิโลเมตร และอยู่ทางทิศใต้ของนครฟูกูโอกะห่างไปประมาณ 70 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
[แก้]- ทิศเหนือ: นครโอมูตะ จังหวัดฟูกูโอกะ
- ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ: เมืองนังกัง อำเภอทามานะ จังหวัดคูมาโมโตะ
- ทิศตะวันออกเฉียงใต้: นครทามานะ จังหวัดคูมาโมโตะ
- ทิศใต้: เมืองนางาซุ อำเภอทามานะ จังหวัดคูมาโมโตะ
- ทิศตะวันตก: ทะเลอาริอาเกะ
ประวัติ
[แก้]เมื่อมีการประกาศใช้ระบบเทศบาล หมู่บ้านอาราโอะก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1889 ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองอาราโอะเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1919 และควบรวมหมู่บ้านข้างเคียงเพื่อจัดตั้งขึ้นเป็นนครอาราโอะ เมื่อวันที่ 1 เมษายน ค.ศ. 1942[2]
เศรษฐกิจ
[แก้]ครั้งหนึ่งอาราโอะเคยเป็นเมืองเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ แต่หลังจากนั้นประชากรได้ลดลงไปเป็นจำนวนมากเนื่องจากเหมืองได้ปิดตัวลง ทำให้ต้องพึ่งพาเศรษฐกิจจากการท่องเที่ยว เพื่อพยายามดึงดูดผู้คนให้กลับมาอยู่อาศัยที่เมืองแห่งนี้ที่ครั้งหนึ่งเคยมีประชากรหนาแน่น แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ได้แก่ สวนสนุกขนาดใหญ่สองแห่งคือ มิตสึอิกรีนแลนด์ (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นกรีนแลนด์) และอุลตราแมนแลนด์ (ปัจจุบันปิดตัวลงแล้ว)
ของดีเมืองนี้ ได้แก่ เครื่องถ้วยโชได ซึ่งเป็นรูปแบบศิลปะที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของอาราโอะ นอกจากนี้ยังมี สาลี่อาราโอะ ซึ่งเป็นผลไม้ที่ปลูกกันอย่างแพร่หลายในเมืองนี้ โดยมีลักษณะกลม สีน้ำตาล และมีขนาดประมาณลูกโบว์ลิ่ง
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 "統計調査課 - 熊本県ホームページ" [ฝ่ายสำรวจสถิติ - หน้าแรกจังหวัดคูมาโมโตะ] (ภาษาญี่ปุ่น). ประเทศญี่ปุ่น: จังหวัดคูมาโมโตะ. สืบค้นเมื่อ 2023-06-01.
- ↑ 「内務省告示第166号」『官報』1942年3月30日(国立国会図書館デジタルコレクション)"ประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับที่ 166" ราชกิจจานุเบกษา 30 มีนาคม ค.ศ. 1942 (คอลเลกชันดิจิทัลของหอสมุดรัฐสภาญี่ปุ่น)
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ อาราโอะ
- เว็บไซต์ทางการ (ในภาษาญี่ปุ่น)
- ดูข้อมูลทางภูมิศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับ อาราโอะ ที่โอเพินสตรีตแมป